เผยข้อมูลล่าสุดจากงานแถลงข่าวในประเด็น "ยารักษาโควิด 19 / อัปเดตการฉีดวัคซีนโควิด 19" จากเฟซบุ๊กของกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 20 สิงหาคม 2564 โดยในด้านยานั้น เน้นที่ Favipiravir เพราะมีคำถามจากประชาชนมากมายเกี่ยวกับประสิทธิผลของยา
เพื่อตอบประเด็นที่คนไทยสงสัยเกี่ยวกับ Favipiravir ยาต้านไวรัสที่นำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19, การฉีดวัคซีนโควิด 19 แต่ละชนิดให้ประชากรชาวไทย รวมถึงข้อถกเถียงเกี่ยวกับประสิทธิผลของวัคซีนโควิดที่มีการปรับสูตรตามสถานการณ์ กระทรวงสาธารณสุข จึงออกมาให้ข้อมูล โดยถ่ายทอดสดการแถลงข่าวผ่านทางเฟซบุ๊ก และมีแพทย์จาก 4 คณะทำงาน มาร่วมให้ข้อมูล ดังนี้
เปิดประเด็นที่ 'กลไกการออกฤทธิ์' ของ Favipiravir
เนื่องจากเป็นยาต้านไวรัสที่ออกฤทธิ์ยังยั้งจำนวน RNA ทำให้กำจัดไวรัสออกจากร่างกายได้ ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นยารักษาไข้หวัดใหญ่และโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ในการระบาดระลอกแรกปี 2563 ทั้งยังมีการรักษาด้วยยา Favipiravir ในประเทศต่างๆ เช่น
นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาจากหลายสถาบันของไทยในการระบาดระลอกแรกปี 2563 จำนวน 424 คน พบว่า หากได้รับยา Favipiravir ภายใน 4 วันตั้งแต่เริ่มมีอาการ จะลดความรุนแรงได้ร้อยละ 28.8% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลังมีอาการ 4 วัน
อนึ่ง จากการศึกษาผู้ป่วยกลุ่มเล็กๆ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่ากลุ่มที่มีอาการปอดบวมรุนแรงอาการจะดีขึ้นเฉลี่ยภายใน 14 วัน ส่วนกลุ่มที่ปอดบวมไม่รุนแรงจะดีขึ้นใน 9 วัน
สรุปข้อมูลจากการทบทวนประสิทธิผลของยา Favipiravir ในการรักษาโควิด โดย นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์
"เราพยายามทำ Big Data เรื่องการใช้ยา Favipiravir ในขณะที่เจอสายพันธุ์เดลตา แม้แต่คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ยังเปิดระบบลงทะเบียนรับยาผ่านไลน์ เพื่อให้ยาให้เร็วที่สุด”
นพ.สมศักดิ์กล่าว จากนั้นบอกถึงการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับยาในวิกฤตโควิดที่ได้ข้อมูลจากหลายภาคส่วน
คณะกรรมการกำกับดูแลรักษาโควิด 19 มีหลายคณะ จึงเกิดหลากความเห็น
เนื่องจากมีหลายคณะทำงาน งานวิจัย บทวิเคราะห์ หรือความเห็นจึงต่างกันไปตามปัจจัยและองค์ประกอบตั้งต้น อย่างไรก็ตาม สรุปได้ว่ามีผู้เชี่ยวชาญจากส่วนงานหลักเข้ามาร่วมกำกับดูแลการใช้ยา ดังนี้
การระดมฉีดวัคซีนโควิด 19 และผลการฉีดสะสม นำเสนอโดย นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร
นับตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. - 19 ส.ค. 64 ไทยระดมฉีดวัคซีนไปแล้ว 25.8 ล้านโดส สำหรับการนับแยกตามชนิดของวัคซีนและกลุ่มเป้าหมาย ดูได้จากตารางด้านล่างนี้
ต่อด้วยการสรุปผลภูมิคุ้มกันเบื้องต้น 2 โครงการ โดย SICRES
ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ จาก ศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (SICRES) กล่าวถึงการทำวิจัยเกี่ยวกับวัคซีนโควิด 2 โครงการ
อธิบายให้เข้าใจง่ายคือ โครงการฉีดไขว้ กับ โครงการฉีดกระตุ้นเข็มที่ 3 โดยพบว่า
1. ฉีดไขว้ SV & AZ
2. ฉีด SV 2 เข็ม มากระตุ้นเข็มที่ 3 ด้วย AZ
กล่าวโดยสรุป ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนจะตกลงตามกาลเวลา ทำให้ประสิทธิภาพอาจจะอยู่ไม่นาน และการฉีดวัคซีนสลับหรือฉีดกระตุ้น จำเป็นเมื่อมีเชื้อกลายพันธุ์เดลตา
ปิดท้ายด้วยการสรุปประสิทธิผลการใช้วัคซีนโควิดเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดย นพ.บัลลังก์ อุปพงษ์
จากการระดมฉีดวัคซีนโควิดและการตรวจภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนต่างชนิด ทั้ง AZ : AstraZeneca / SV : Sinovac / Sinopharm ในภาพรวมพบว่า