อีกขั้นของการพัฒนายา โดย ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท เมดิกา อินโนวา จำกัด พัฒนาและคิดค้นสูตร ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ โดยจะผลิตในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ (Hospital preparation) และแจกจ่ายให้ใช้ก่อนสัปดาห์ละ 100 ราย
ปกติแล้ว การบริโภคยาฟาวิพิราเวียร์เพื่อต้านไวรัสที่รับรู้กันนั้นเป็นยาชนิดเม็ด แต่เนื่องจากเด็กและผู้ป่วยที่มีความลำบากในการกลืนยาเม็ด จึงนำมาสู่การค้นคว้าวิจัยและผลิต ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ จนประสบความสำเร็จ ภายใต้การดำเนินงานและขับเคลื่อนของ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ ตำรับแรกของประเทศ
เป็นเรื่องน่ายินดีเมื่อ ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก (3 ส.ค. 64) เกี่ยวกับการความก้าวหน้าและผลิตยาอีกรูปแบบหนึ่งเพื่อต้านไวรัสได้สำเร็จ
ปกติตัวยาฟาวิพิราเวียร์ใช้สำหรับรักษาไข้หวัดใหญ่ แต่มีรายงานเบื้องต้นว่า ช่วยลดอาการป่วยรุนแรงของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ได้ยาในระยะเริ่มต้นมีอาการ การร่วมพัฒนาและคิดค้นสูตรตำรับยาน้ำเชื่อมให้รับประทานง่าย ปราศจากน้ำตาล สำหรับผลิตในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ (Hospital preparation) โดยเฉพาะ
3 ความร่วมมือเพื่อการผลิตตำรับยาน้ำเชื่อม
ด้วยความมุ่งหวังที่จะช่วยเหลือประเทศไทยให้สามารถผลิตยาเพียงพอต่อความต้องการในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ปัจจุบันยังไม่สามารถควบคุมได้ กอปรกับพบการติดเชื้อในเด็กเพิ่มมากขึ้น จึงเกิดความร่วมมือพัฒนายาระหว่าง
ในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตำรับยาน้ำเชื่อมปราศจากน้ำตาลฟาวิพิราเวียร์ มีการคัดเลือกและควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบตัวยาสำคัญ ตลอดจนมีการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ยาตามมาตรฐานสากล ด้วยวิธีการที่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง และการศึกษาความคงสภาพเพื่อยืนยันคุณภาพตลอดช่วงอายุการใช้งาน
การพัฒนาตำรับยาดังกล่าวนี้ ยังสนองพระนโยบายศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ที่ทรงมีความห่วงใยและตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนของผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด 19 ในการเข้าถึงยาฟาวิพิราเวียร์ได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วอีกด้วย
คุณลักษณะและวิธีใช้ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์
ในด้านคุณลักษณะและวิธีใช้ยาน้ำเชื่อมต้านเชื้อไวรัสที่ผลิตโดยโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ มีดังนี้
ขนาดและวิธีการใช้ยาในเด็ก
ขนาดและวิธีการใช้ยาในผู้ใหญ่
ในกรณีที่ผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีน้ำหนักตัวมากกว่า 90 กิโลกรัม หรือ BMI มากกว่า 35 กก./ตรม.
สำหรับแพทย์ที่มีความประสงค์จะใช้ยานี้ในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกลุ่มผู้ป่วยเด็กและผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป ต้องมีผลตรวจ RT- PCR ยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 หรือตามแพทย์เห็นสมควรจากประวัติการสัมผัสและผลตรวจ Antigen Rapid Test เป็นบวก
ขอรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ได้ไหม?
ได้ แต่ต้องดำเนินการตามแนวทางขอรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ ตำรับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ดังนี้
ในกรณีที่แพทย์ประสงค์ใช้ในผู้ติดเชื้อโควิด 19
สำหรับกลุ่มผู้ป่วยเด็ก ผู้สูงวัยที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่ให้อาหารทางสายที่มีผลการตรวจ RT-PCR ยืนยันการติดเชื้อโควิด 19 ที่อยู่ในระบบการดูแลของโรงพยาบาลหรือเข้าสู่ระบบการดูแลที่บ้าน (Home Isolation) โดยมีแพทย์ติดตามหรือเป็นผู้ป่วยติดเชื้อที่แพทย์เห็นสมควรจากประวัติสัมผัสและผลตรวจ Rapid Antigen Test เป็นบวก ทางโรงพยาบาลหรือแพทย์สามารถส่งข้อมูลของผู้ป่วยเพื่อขอรับยาได้ทางเว็บไซต์ favipiravir.cra.ac.th หรือโทรแจ้ง 06 4586 2470 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ข้อควรรู้ : ยานี้ต้องใช้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น โดยในระยะแรก โรงพยาบาลจุฬาภรณ์สามารถผลิตยาน้ำเชื่อมได้ไม่เกิน 100 รายต่อสัปดาห์ ส่วนการติดต่อขอรับยา ทำได้ตั้งแต่วันศุกรที่ 6 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป
ในตอนท้าย ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ ระบุว่า การผลิตยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์เพื่อแจกจ่ายนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ ในพระอุปถัมภ์ฯ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้มากขึ้นตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นของอาการอย่างรวดเร็ว และสามารถช่วยลดอาการป่วยรุนแรงของโรคติดเชื้อโควิด 19
ดังนั้น หากมีผู้ประสงค์จะร่วมสมทบทุนเพื่อต้านภัยโควิดกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ สามารถบริจาคได้ที่ บัญชีธนาคารทหารไทย ชื่อบัญชี มูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ ในพระอุปถัมภ์ฯ เลขที่บัญชี 236-1-00491-0
ที่มา : เฟซบุ๊ก ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ (3 ส.ค. 64)