svasdssvasds

เปิดสิ่งที่ควรรู้ ก่อนจะนำ ‘ของมีค่า’ เข้าโรงรับจำนำ ยามวิกฤตโควิด-19

เปิดสิ่งที่ควรรู้ ก่อนจะนำ ‘ของมีค่า’ เข้าโรงรับจำนำ ยามวิกฤตโควิด-19

นาทีนี้ใครหมุนเงินไม่ทันช่วงที่โควิด-19 กำลังระบาดอย่างหนัก ก็ต้องทำทุกวิถีทาง หนึ่งในทางออก คือ การนำของมีค่าเข้าไปจำนำที่โรงรับจำนำ ส่วนใครที่ยังไม่เคยก็ต้องศึกษาสิ่งที่ควรรู้ให้ดีก่อนเข้าโรงรับจำนำ ติดตามบทความนี้

โรงรับจำนำที่พึ่งยามยากของคนหมุนเงินไม่ทัน

เศรษฐกิจไม่ดีแบบนี้คนชักหน้าไม่ถึงหลังกันมาก ๆ หาเงินได้น้อยลง แต่รายจ่าย หนี้สินเท่าเดิม ไหนจะต้องกินต้องใช้รายวันอีก คิดแล้วปวดหัวจริง ๆ จะไปกู้ยืมที่ไหนก็ดูจะยากลำบากไปหมด หลายคนใช้วิธีนำของมีค่า ทรัพย์สินที่ตัวเองเก็บสะสมมานานหลายปีออกไปจำนำที่โรงรับจำนำ พอได้เงินมาประทังชีวิตให้ไปต่อได้ในช่วงนี้

ซึ่งใครที่ไม่มีประสบการณ์นำของมีค่าเข้าโรงรับจำนำ ก็ต้องศึกษารายละเอียดให้ดี ๆ เพื่อที่จะได้รับรู้เงื่อนไขต่าง ๆ ของโรงรับจำนำ และจะได้ทราบรายละเอียดต่าง ๆ ด้วย วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพามารู้จักโรงรับจำนำ ในแง่มุมต่าง ๆ รวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ ที่จะต้องรู้ มาเริ่มกันที่ โรงรับจำนำมี 2 ประเภท คือ รงรับจำนำสถานธนานุบาลซึ่งเป็นโรงรับจำนำของรัฐ ต่อมา คือ โรงรับจำนำเอกชน ซึ่งเงื่อนไขต่าง ๆ ก็จะแตกต่างกันออกไป

โควิดทำคนเอาของมีค่าไปจำนำมากขึ้น โควิด-19 ทำคนเอาของมีค่าไปจำนำมากขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ช่วงวิกฤตคนมักเอาอะไรเข้าโรงรับจำนำ? จะให้ดีควรบริหารเงินดีๆช่วงโควิด  

• โควิด-19ทำคนกระเป๋าแฟบโรงรับจำนำคือที่พึ่งยามยากของคนในยุคนี้ !

• เคาะ! ให้โรงรับจำนำรัฐ กู้เงิน 500 ล้านบาท รับสภาพคล่อง คาดคนแห่จำนำมากขึ้น

พาดูรายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ 

เปิดสิ่งที่ควรรู้ ก่อนจะนำ ‘ของมีค่า’ เข้าโรงรับจำนำ ยามวิกฤตโควิด-19

นอกจากนี้จะพามาส่องเงื่อนไขของสำนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพ ฯ สำหรับใครที่จะเอาของมีค่าไปจำนำ ดูรายละเอียดดังนี้

-ใครจำนำได้บ้าง

คำตอบ คือ คนอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป มีบัตรประชาชน ไม่เป็นภิกษุ สามเณร

-ของมีค่าอะไรจำนำได้บ้าง

คำตอบ คือ ทรัพย์ประเภทสังหาริมทรัพย์ คือ เป็นทรัพย์สินที่เคลื่อนย้ายได้ และไม่ต้องมีทะเบียน เช่น

 ทอง เพชร นาก เงิน นาฬิกา แว่นตา เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือช่าง ของใช้เบ็ดเตล็ด

-การคิดดอกเบี้ยเป็นอย่างไร

คำตอบ คือ จำนำภายในระยะเวลา 15 วัน จะคิดดอกเบี้ยครึ่งเดือน ถ้าเกิน 15 วัน จะคิดดอกเบี้ย 1 เดือน (นับตั้งแต่วันที่ที่จำนำเป็นวันที่ 1) ซึ่งผู้ที่มาส่งดอกเบี้ยหรือไถ่ถอนคืนต้องมาให้ตรงตามวันที่แจ้ง ในตั๋วจำนำ ในกรณีที่มาภายหลังวันที่กำหนดในตั๋วจำนำอาจเสียดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นไปอีก

-หากผ่อนเพิ่มตั๋วต้องทำไง

คำตอบ คือ ทั้งนี้สามารถผ่อน-เพิ่มเงินต้นได้ โดยต้องจ่ายดอกเบี้ยตั้งแต่วันจำนำจนถึงวันที่มาขอทำการผ่อน-เพิ่ม (ผ่อน หรือ เพิ่ม + ดอกเบี้ย)

-อายุตั๋วรับจำนำ เป็นอย่างไร

คำตอบ ตั๋วรับจำนำมีอายุ 4 เดือน 30 วัน กรณีตั๋วรับจำนำครบตรงกับวันหยุดทำการถ้าตั๋วรับจำนำครบกำหนดวันที่ที่จะส่งดอกเบี้ย หรือ ไถ่ถอน ตรงกับวันเสาร์ - อาทิตย์ หรือ วันหยุดนักขัตฤกษ์ ให้มาในวันที่ที่เปิดทำการวันแรกโดยไม่คิดดอกเบี้ยเพิ่ม ทั้งนี้ผู้จำนำทรัพย์โปรดไถ่ถอนหรือส่งดอกเบี้ยภายใน 4 เดือน 30 วัน นับจากวันรับจำนำหากเลยกำหนด ทรัพย์นั้นจะหลุดเป็นสิทธิ์ของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร

-จำนำได้ที่ไหน

คำตอบ คือ ถ้าชอบของรัฐก็ไปสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครทั้ง 21 สาขาเปิดทำการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00 - 16.00 น.โดยไม่หยุดพักกลางวัน

 

 

related