ใครที่เป็นหนี้กับแบงก์ไหนช่วงนี้อยู่ในช่วงของการพักชำระหนี้ 2 เดือน ลองติดต่อแบงก์กันดู แต่ก็ต้องมาลุ้นกันอีกว่าจะมียืดเวลาชำระหนี้ออกไปอีกหรือไม่ ถ้าไม่มีการต่อก็ต้องปรับโครงสร้างหนี้กันไป วันนี้พามาเรียนรู้ 8 วิธีปรับโครงสร้างหนี้
เรียนรู้การปรับโครงสร้างหนี้มีอะไรบ้าง?
ช่วงนี้ก็ต้องยอมรับว่าการเงินของหลายคนมีปัญหาเพราะถูกโควิด-19 เล่นงานอย่างหนัก แต่...แบงก์ต่าง ๆก็อยู่ในช่วงที่ให้ลูกหนี้เข้าไปพักชำระหนี้ 2 เดือน ใครเป็นลูกหนี้แบงก์ไหนก็ลองติดต่อเข้าไปขอพักชำระหนี้ดูเผื่อจะเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของท่านได้ในช่วงนี้ เรียกได้ว่าทำอะไรได้ก็ต้องทำไปก่อนให้ชีวิตของเราผ่านช่วงวิกฤตนี้ไปให้ได้
แต่...พอหลัง 2 เดือนจากนี้ไปถ้าหมดเวลาพักชำระหนี้แล้วก็ต้องมาลุ้นกันต่อไปว่าจะมีการต่อเวลาการพักชำระหนี้ออกไปหรือไม่ ? หากสถานการณ์โควิด-19 ยังไม่ได้ดีขึ้น แต่ถ้าหากไม่มีมาตรการมาช่วย ลูกหนี้ก็ควรเรียนรู้เทคนิคการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อช่วยเหลือตัวเองหลังจากนี้
ช่วงนี้เงินหายาก ใครจะพักชำระหนี้ให้ติดต่อแบงก์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• ส่องมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน ‘ทีเอ็มบีธนชาต’ มีอะไรบ้าง ?
• วันแรก ! เปิดพักชำระหนี้ 2 เดือน ใครมีสิทธิ แบงก์ไหนเข้าร่วมบ้าง ?
• "กรุงไทย" ขานรับธปท. พักชำระหนี้ 2 เดือน ช่วยเอสเอ็มอี-รายย่อย ปิดกิจการ
เปิด 8 วิธีที่ควรรู้
วันนี้ #สปริงนิวส์ ได้รวบรวมข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มาแนะนำว่าการปรับโครงสร้างหนี้ เทคนิคดี ๆ 8 เทคนิคปรับโครงสร้างหนี้ มีอะไรบ้าง ตามรายละเอียดดังนี้
1.ยืดหนี้ขยายระยะเวลาชำระ
2.ลดอัตราดอกเบี้ย
3.พักชำระเงินต้น ช่วยลดภาระการผ่อนชั่วคราว
4.เพิ่มเงินทุนหมุนเวียน
5.ยกหรือผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
6.เปลี่ยนประเภทหนี้
7.ปิดจบด้วยเงินก้อน
8.รีไฟแนนซ์
อย่างไรก็ตามการเรียนรู้ปรับโครงสร้างหนี้ที่ถูกวิธีจะทำให้ลูกหนี้ได้ประโยชน์สูงสุดในการปรับโครงสร้างหนี้ ดังนั้นจะต้องศึกษาแต่ละหัวข้อให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง หรือสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ธนาคารได้ เพราะเรื่องการเงินเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ในช่วงนี้ ซึ่งการวางแผนการเงินที่ดีจะทำให้ชีวิตเราอยู่รอดได้