ใครที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์เพื่อสกัดการแพร่เชื้อโควิด-19 กิจการที่ต้องเป็น นายจ้าง ลูกจ้าง ที่ได้รับผลกระทบ สามารถไปยื่นพักชำระหนี้ 2 เดือน วันนี้วันแรก ใครมีสิทธิ แบงก์ไหนเข้าร่วมบ้าง ? เช็กกันที่นี่
ตามนโยบายที่ได้ประกาศให้มีการล็อกดาวน์ในหลายพื้นที่เพื่อสกัดการแพร่กระจายของโควิด-19 จึงทำให้ภาคธุรกิจ ประชาชน ได้รับความเดือนร้อน จนทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จับมือกับสมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ ออกมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบเพื่อช่วยพยุงสภาพคล่องให้กับลูกหนี้ที่อยู่ในพื้นที่ล็อกดาวน์ วันนี้19 ก.ค. 2564 เป็นวันแรกใครสามารถใช้สิทธิได้ แล้ว
แบงก์ไหนเข้าร่วมบ้าง เช็กได้ที่นี่!
ส่วนใครบ้างที่สามารถเข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ได้ ? สามารถดูรายละเอียดดังนี้
1.กลุ่มลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ นายจ้างและลูกจ้างที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ต้องปิดกิจการจากคำสั่งทางการ ทั้งที่อยู่ในพื้นที่และนอกพื้นที่ควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19
2. กลุ่มลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยอ้อม คือ ลูกหนี้ที่ยังเปิดกิจการได้ แต่รายได้ลดลงจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐ ซึ่งเงื่อนไขนี้ สถาบันทางการเงินพิจารณาช่วยเหลือตามความจำเป็นให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของลูกหนี้อีกครั้ง
วันนี้วันแรกที่แบงก์เปิดพักชำระหนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• "กรุงไทย" ขานรับธปท. พักชำระหนี้ 2 เดือน ช่วยเอสเอ็มอี-รายย่อย ปิดกิจการ
• คลัง แจงเหตุไม่เยียวยาร้านอาหาร มีสินเชื่อ-พักชำระหนี้อยู่แล้ว
• รวมมาตรการพักชำระหนี้โควิด บ้าน รถ สินเชื่อ รวมทุกธนาคาร
แล้วต้องการพักชำระหนี้อย่างไร เริ่มเมื่อไหร่ ?
ทั้งนี้ลูกหนี้สามารถติดต่อกับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้เพื่อแสดงความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ โดยหากมีหลักฐานที่ชัดเจนถึงผลกระทบที่ได้รับจากมาตรการรัฐ จะทำให้พิจารณาความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น หรือโทรสอบถาม 1213 โดยลูกหนี้สามารถแสดงความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือได้ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. 2564 เป็นต้นไป
แล้วแบงก์ไหนเข้าร่วมบ้าง?
บ้างคนอาจไม่รู้ว่าแบงก์ที่ตัวเองเป็นลูกหนี้เข้าร่วมหรือไม่ วันนี้ # สปริงนิวส์ ได้รวบรวมมาให้แล้วว่ามีแบงก์ไหนที่เข้าร่วมบ้าง ตามรายละเอียดดังนี้ หรือสามารถดูได้ตามกราฟฟิก
-ธนาคารออมสิน
-ธนาคารกรุงไทย
-ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
-ธนาคารเพื่อการเกษตฯ (ธ.ก.ส. )
-ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า ฯ (ธสน.)
-ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางฯ (ธพว.)
-ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(ธอท.)
-บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
-ธนาคารไทยพาณิชย์
-ธนาคารกรุงเทพ
-ธนาคารกสิกรไทย
-ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
-ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์