มาตรการช่วยเหลือโควิด 19 ออกมามากมาย ล่าสุดมีมาตรการ สินเชื่อสู้ภัยโควิด-มาตรพักหนี้ วันนี้าพามาส่องดูว่ามีสถาบันการเงินไหนเข้าร่วมบ้าง ? เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการติดต่อได้ง่าย
ช่วงนี้ก็จะเห็นมีมาตรการต่าง ๆ ออกมามากมายจากรัฐช่วยเหลือโควิด 19 ทั้งช่วยเหลือบุคคลที่ได้รับผลกระทบ เรื่องปากท้อง หนี้สิน หรือแม้กระทั่งผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจ ก็เริ่มทยอย ๆ ออกมาตรการมาเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อสู้ภัยโควิด มาตรการพักหนี้ ซึ่งก็มีรายละเอียดต่าง ๆ มากมายออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายคนอาจมีความสับสนในข้อมูลข่าวสารไปบ้าง
แต่ ....เพื่อให้เข้าใจง่าย และเพื่อเป็นข้อมูลให้ท่านในการไปติดต่อกับสถาบันการเงิน เรื่องสินเชื่อสู้ภัยโควิด มาตรพักหนี้ #SPRING สรุปให้ง่าย ๆ ว่า มีแบงก์ไหนยังไงบ้าง สามารถดูในกราฟฟิกได้
ส่องดูแบงก์ไหนมีมาตรการช่วยโควิดอะไรบ้าง
โดยเรื่องของการช่วยเหลือสินเชื่อสู้ภัยโควิด มาตรการพักหนี้ ได้ออกมาจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อเร็วๆ นี้ มีมติเห็นชอบออกมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยมีรายละเอียดเชิงลึก คือ มี2 มาตรการข้างต้นอีกครั้ง พร้อมแจ้งรายชื่อสถาบันการเงินที่ร่วมมาตรการ ดังนี้ มาตรการพักหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFls) สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่1.สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ทำหน้าที่เป็นธนาคารที่ให้บริการทางการเงินทั้งด้านเงินฝากและให้สินเชื่อ ปัจจุบัน มี 4 แห่ง คือ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
2.สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ทำธุรกิจตามขอบเขตที่กำหนด เช่น ให้สินเชื่อหรือรับประกันสินเชื่อให้แก่ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม แต่ไม่รับเงินฝากจากประชาชนทั่วไป ซึ่งปัจจุบันมี 4 แห่ง คือ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ใครเข้าข่ายที่จะขอสินเชื่อสู้ภัยโควิด พักหนี้ โดยมาตรการพักหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFls) เป็นการขยายระยะเวลาพักชำระหนี้ให้แก่ลูกค้ารายย่อยออกไปจนถึง 31 ธันวาคม 2564 ตามความสมัครใจของลูกหนี้
สินเชื่อสู้ภัยโควิด ใครกระทบก็ลองไปขอได้
ต่อมา คือ มาตรการสินเชื่อสู้ภัยโควิดให้บริการ 2 สถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำหรับสินเชื่อสู้ภัยโควิด เป็นสินเชื่อเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราว กลุ่มเป้าหมายผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงาน/ลูกจ้าง หน่วยงานเอกชนที่มีเงินเดือนประจำ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น ผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้า แม่ค้า หาบแร่แผงลอย และเกษตรกรรายย่อยหรือลูกจ้างภาคการเกษตรที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินฉุกเฉิน
อย่างไรก็ตามสินเชื่อสู้ภัยโควิด จะมีวงเงินสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท (แห่งละ 10,000 ล้านบาท) คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ ไม่เกินร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี (ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก) ระยะเวลาดำเนินงานถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 รัฐบาลชดเชยหนี้ NPLs 100 % สำหรับ NPLs ที่ไม่เกิน 50 % ของสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด 20,000 ล้านบาท หรือรวมไม่เกิน 10,000 ล้านบาท