svasdssvasds

Breaking News : "ไฟเซอร์" เซ็นสัญญาขายวัคซีนโควิดให้ สธ.แล้ว 20 ล้านโดส

Breaking News : "ไฟเซอร์" เซ็นสัญญาขายวัคซีนโควิดให้ สธ.แล้ว 20 ล้านโดส

Breaking News : "ไฟเซอร์และไบออนเทค" ออกจดหมาย ลงนามเซ็นสัญญาซื้อขาย กับกระทรววงสาธารณสุขแล้วจำนวน 20 ล้านโดส ระบุ จะจัดส่งวัคซีนโควิด-19 ให้กับประเทศไทยในช่วงไตรมาส 4 ของปี 64

วันที่ 20 ก.ค. เวลา 10.00 น. มีจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์จาก "ไฟเซอร์และไบออนเทค" ระบุว่า จะจัดส่งวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับประเทศไทย โดยเนื้อหาของข่าวระบุว่า 

บริษัททั้งสองจะจัดส่งวัคซีนจำนวน 20 ล้านโดสให้กับประเทศไทยสำหรับใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนแบบมีเงื่อนไขจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ข้อตกลงนี้เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นระดับโลกของไฟเซอร์และไบออนเทค เพื่อการรับมือของการระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2

ณ ประเทศไทยและกรุงไมนส์ ประเทศเยอรมนี - วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2564 - วันนี้ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และ ไบออนเทค ได้ประกาศลงนามสัญญาร่วมกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในการจัดส่งวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จำนวน 20 ล้านโดสสำหรับปี พ.ศ. 2564 ให้กับประเทศไทยโดยมีแผนกำหนดการส่งมอบในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้

อย่างไรก็ตาม รายละเอียดเกี่ยวกับมูลค่าการซื้อขายไม่อาจเปิดเผยได้ แต่มีข้อกำหนดเป็นไปตามช่วงเวลาในการส่งมอบและจำนวนโดสที่สั่ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ แจงจัดหาวัคซีนไฟเซอร์ ร่วมกับกรมควบคุมโรคเท่านั้น

การันตีคุณภาพ! จีนเตรียมอนุมัติวัคซีนไฟเซอร์ เป็นวัคซีนต่างชาติตัวแรก

มาเลเซีย จ่อหยุดใช้วัคซีนซิโนแวคทันทีที่ของหมด หันมาใช้ไฟเซอร์

“เรามีความยินดีที่ได้เซ็นสัญญาที่มีความสำคัญนี้กับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งแสดงถึงความมุ่งมั่นที่มีร่วมกันในความพยายามที่จะลดการติดเชื้อในประเทศ สัญญานี้เป็นการเน้นยํ้าถึงความมุ่งมั่นของไฟเซอร์ในการจัดหาวัคซีนที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 นี้และยังเป็นการเพิ่มการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของคนทั่วโลก” เด็บบราห์ ไซเฟิร์ท ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไฟเซอร์ ประเทศไทยและอินโดไชน่ากล่าว

“ในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตสุขภาพโลกในครั้งนี้ ไฟเซอร์ได้ดำเนินพันธกิจตามเป้าประสงค์ขององค์กรในการนำยานวัตกรรมที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้ป่วยซึ่งในการดำเนินการนั้นเป็นไปอย่างเร่งด่วนมากยิ่งขึ้น”

“ผมขอขอบคุณรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยสำหรับความไว้วางใจในความสามารถของการพัฒนาวัคซีน ที่พวกเราเชื่อว่ามีศักยภาพที่จะช่วยในการรับมือกับโรคระบาดของโลกในครั้งนี้ เป้าหมายของเราก็ยังคงเป็นการส่งมอบวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพให้แก่ผู้คนมากมายทั่วโลกโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะ ทำได้” ชอง มาเร็ท หัวหน้าฝ่ายธุรกิจและฝ่ายพาณิชย์ บริษัท ไบออนเทค กล่าว

ไฟเซอร์และไบออนเทคตั้งเป้าการผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้ได้ราว 3 พันล้านโดสทั่วโลกภายในปี พ.ศ. 2564 1 โดยได้ทำการปรับปรุงพัฒนากระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ในการผลิตอย่างต่อเนื่องและขยายกำลังการผลิตที่มีอยู่ขณะนี้ รวมถึงการเพิ่มผู้ผลิตและคู่สัญญารายใหม่ในอนาคต

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของไฟเซอร์-ไบออนเทคได้รับการพัฒนาโดยบริษัทไฟเซอร์และไบออนเทคโดยเป็นเทคโนโลยี mRNAที่ไบออนเทคเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และเป็นผู้ได้รับอนุญาตทางการตลาดในสหภาพยุโรปและยังเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินหรือเทียบเท่าในประเทศสหรัฐอเมริกา(ร่วมกับไฟเซอร์)

ประเทศแคนาดาและประเทศอื่น ๆ ทั้งนี้ เป็นไปตามแผนที่ได้กำหนดไว้ก่อนหน้าในการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสำหรับการเป็นผู้รับอนุญาตทางการตลาดเต็มรูปแบบในประเทศเหล่านั้น
ข้อมูลด้านการศึกษาทางคลินิก

การทำการทดลองทางคลินิก เฟสที่ 3 ของ BNT162b2 ซึ่งเป็นเทคโนโลยี mRNAที่ไบออนเทคเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เริ่มต้นขึ้นในปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 และเสร็จสิ้นการเก็บข้อมูลประสิทธิภาพเบื้องต้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2564

โดยมีอาสาสมัครจำนวน 46,331 คนเข้าร่วมการทดลอง และสามารถเข้าไปดูข้อมูลการจำแนกผู้เข้าร่วมการทดลองทางคลินิกที่มีความหลากหลายจากศูนย์ทดลอง 153 2 แห่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศเยอรมนี ตุรกี แอฟริกาใต้ บราซิลและอาร์เจนติน่า ได้ที่ https://www.pfizer.com/science/coronavirus/vaccine โดยผู้เข้าร่วมการทดลองทุกคนจะได้รับการเฝ้าติดตามอย่างต่อเนื่องเพื่อประเมินความยาวนานของการป้องกันและความปลอดภัยเป็นเวลาต่อไปสองปีหลังจากที่ได้รับวัคซีนเข็มที่สอง 2

related