svasdssvasds

มาเลเซีย จ่อหยุดใช้วัคซีนซิโนแวคทันทีที่ของหมด หันมาใช้ไฟเซอร์

มาเลเซีย จ่อหยุดใช้วัคซีนซิโนแวคทันทีที่ของหมด หันมาใช้ไฟเซอร์

มาเลเซีย ปรับแผน รับมือกับการระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลต้าที่กำลังเล่นงานอย่างหนัก และมาเลเซียก็ต้องเจอกับปัญหาเรื่องการบริหารจัดการของสาธารณสุข โดยมาเลเซียจะหันมาพึ่งวัคซีน mRNA อย่างวัคซีนไฟเซอร์แล้ว และจะยุติการใช้วัคซีนซิโนแวคทันทีที่ของที่มีอยู่ใช้หมด

มาเลเซียจะหยุดใช้ซิโนแวค

นายอัดฮาม บาบา รมว.สาธารณสุขของมาเลเซีย แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เมื่อวันที่ 15 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยย้ำชัดว่า มาเลเซีย จะเดินแผน ยุติการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ของวัคซีนซิโนแวค จากจีน ทันที ที่วัคซีนที่สั่งซื้อไว้แล้วนั้นหมดลง

โดยรัฐบาลมาเลเซียจะหันไปใช้วัคซีน ที่ใช้เทคโนโลยี mRNA ของบริษัทไฟเซอร์/ไบโอเอนเทค  หรือวัคซีนไฟเซอร์เพิ่มมากขึ้น เพื่อสกัดการระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลต้าที่ลุกลามอย่างหนักในมาเลเซียให้ได้

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่า โควิดมาเลเซีย จะหยุดใช้วัคซีนซิโนแวคในการฉีดให้กับ ประชาชนทันที ...เพราะว่า ตามแผนงานของสาธารณสุขมาเลเซียนั้น จะต้องฉีดวัคซีนซิโนแวค ที่มีสำรองใช้อยู่ในประเทศจำนวน 12 ล้านโดสให้หมดก่อน ซึ่งมากพอที่จะครอบคลุมประชากรในประเทศ 18.75% นั่นเอง malaysia
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประชาชนไม่ไหว ยกธงขาว
 ทั้งนี้ ประเทศ มาเลเซียประกาศคำสั่งล็อกดาวน์อย่างเต็มกำลังเพื่อสู้กับโควิด-19 มาตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 ด้วยความหวังใจจะให้จำนวนผู้ติดเชื้อลดลง

.
อย่างไรก็ตาม ยอดผู้ติดเชื้อใหม่หลังล็อกดาวน์กลับพุ่งขึ้นสูงต่อเนื่อง และที่มากไปกว่านั้นมาเลเซียยังประสบกับภาวะการตรวจหาเชื้อไม่ทั่วถึง ส่งผลต่อตัวเลขที่ปรากฎอาจน้อยกว่าความเป็นจริงได้ ส่วนประชาชนกระทบหนัก จึงพร้อมใจกันยกธงขาว หวังช่วยเหลือกันเองให้อยู่รอด

ขณะนี้ประชาชนมาเลเซีย กำลังเดือดร้อนจากการถูกล็อกดาวน์โควิด มีหลายส่วนที่กำลังขาดแคลนอาหารและสิ่งของเครื่องใช้ ปรากฏการรายงานข่าวถึงครอบครัวหนึ่งที่ต้องรับอาหารเพียงวันละหนึ่งมื้อเพื่อพยุงให้ครอบครัวอยู่รอด จึงเกิดการเคลื่อนไหวในกลุ่มผู้ใช้เฟซบุ๊กร่วมกันติด #benderaputih แปลว่า ธงขาว เพื่อให้แต่ละฝ่ายแจ้งได้ว่ามีที่ใดบ้างที่กำลังต้องการความช่วยเหลือ

.

สำหรับสถานการณ์ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในมาเลเซียยิ่งน่าวิตกเพิ่มขึ้น โดยทางการมาเลเซีย รายงายว่า เมื่อวันที่ 15 ก.ค.ว่ากระทรวงสาธารณสุขของมาเลเซียรายงานสถิติผู้ป่วยโรคโควิด-19 สะสมเพิ่มเป็นอย่างน้อย 880,772 คน เพิ่มขึ้น 13,215 คน เป็นสถิติรายวันสูงสุดครั้งใหม่ ซึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดในวงกว้างของเชื้อ โควิดสายพันธุ์เดลต้า และอีกหลายสายพันธุ์

malaysia

ความเห็นสธ.มาเลเซีย สอดคล้องงานวิจัย

ประเด็นการหยุดใช้ซิโนแวคของมาเลเซียนั้น ถือว่าสอดคล้องกับหลายๆงานวิจัย โดยก่อนหน้านี้ เพิ่งมี ผลการวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสารด้านการแพทย์ระดับโลก 'The New England Journal of Medicine' ระบุว่า วัคซีนโควิดป้องกันโควิด "โคโรนาแวค" หรือวัคซีนซิโนแวค ของบริษัทซิโนแวค ไบโอเทค จากจีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโควิด-19 ได้น้อยกว่าวัคซีนชนิด mRNA ของไฟเซอร์ หรือวัคซีนไฟเซอร์หลายเท่า โดยวิจัยนี้ได้มาจากการเปรียบเทียบวัคซีนทั้ง 2 ชนิดที่มีการใช้ในประเทศชิลี

.

จากข้อมูลในงานวิจัยของวารสารนิวอิงแลนด์ แม้จะพบว่าคุณภาพโดยรวมของวัคซีนซิโนแวค "ด้อย" กว่าวัคซีนชนิด mRNA ในทุกด้าน แต่จากการวิจัยในชิลีพอจะชี้ถึงคุณสมบัติบางประการของซิโนแวคได้ดังนี้ - กันป่วยหนัก-กันตาย แต่อาจไม่ระงับแพร่เชื้อ

ฉีดซิโนแวคภูมิขึ้นช้า แถมตกเร็ว

ด้าน ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้เขียนข้อความผ่าน Facebook ส่วนตัว ระบุข้อความตอนหนึ่งว่า  "วัคซีนเชื้อตายชิโนแวค ชิโนโนฟาร์ม จะเห็นภูมิขึ้นเริ่มตั้งแต่ 14 วันหลัง "เข็มที่สอง” และชัดเจนคือ 28 วันหลังเข็มที่สอง แต่ภูมิจะตกลงเร็วในเดือนที่สองหลังเข็มสอง
    การฉีดที่เรียกว่า prime หรือ การนำต้องเป็นด้วยวัคซีนที่เห็นผลหรือได้ผลแล้ว ตั้งแต่เข็มแรก  และต่อด้วย boost คือ การกระตุ้นต่อด้วย วัคซีนที่ฉีดเข็มเดียวก็ได้ผลแล้ว ทั้ง 2 เข็ม จึงจะเปล่งประสิทธิภาพ เสมือนว่า 1 + 1 ได้ 4 ที่เราต้องการ

  

 จะเห็นได้ว่า โควิดมาเลเซีย มีการปรับแผน รับมือกับการระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลต้าที่กำลังเล่นงานประชาชนอย่างหนัก และมาเลเซียก็ต้องเจอกับปัญหาเรื่องการบริหารจัดการของสาธารณสุข

แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาเลเซียก็มีแนวความคิด นำสิ่งที่ดีที่สุด อาวุธที่ดีที่สุดในการรับมือกับวิกฤตโควิดครั้งนี้ นั่นคือ วัคซีนคุณภาพดี ที่กันความรุนแรงของโรค แถมกันการระบาดได้ดีกว่าวัคซีนอื่นๆ และเป็นที่ประจักษ์ว่าสามารถรับมือสายพันธุ์เดลต้าได้ อย่างวัคซีนไฟเซอร์ ซึ่งผลิตแบบเทคโนโลยี mRNA

related