svasdssvasds

ปี 2564 (2021) ร้อนระอุ คาดภาวะโลกร้อนจะอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปี 2564 (2021) ร้อนระอุ คาดภาวะโลกร้อนจะอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปี 2564 (2021) ร้อนระอุ เขตบริติชโคลัมเบียของแคนาดา อุณภูมิสูงเฉียด 50 องศาเซลเซียส จากภาวะโดมความร้อน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 719 ราย นักวิชาการ ชี้ ภาวะโลกร้อนจะรุนแรงขึ้น อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เดือนมิถุนายนเป็นเดือนที่ร้อนเป็นพิเศษสำหรับหลายประเทศในซีกโลกเหนือ ทำให้ในเขตบริติชโคลัมเบียของแคนาดามีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 719 ราย สืบเนื่องจากอุณหภูมิที่สูงเฉียด 50 องศาเซลเซียส เป็นผลพวงมาจาก "โดมความร้อน" ซึ่งเป็นระบบสภาพอากาศที่ดักจับอากาศร้อน ซึ่งไหลลงมาทางชายฝั่งตะวันตก ในแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา

เมืองลิตตัน ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ห่างจากแวนคูเวอร์ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 275 กม. มีอุณหภูมิ 49.6 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งสร้างสถิติสูงสุดในประเทศแคนาดาที่เคยบันทึกไว้ และทำให้เกิดไฟป่ากว่า 176 ทั่วเขตบริติชโคลัมเบีย

ทางตอนใต้ของชายแดนรัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา อย่างเมืองพอร์ตแลนด์แตะระดับความร้อนที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์  46.6 องศาเซลเซียส ทำลายสถิติสูงสุดก่อนหน้านี้ที่ 41.6 เซลเซียส ในปี 1965

ปี 2564 (2021) ร้อนระอุ คาดภาวะโลกร้อนจะอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

คูเวต – สถานที่ที่ร้อนแรงที่สุดในโลกในปี 2021
เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ที่ผ่านมา เมืองนูไวซีบของคูเวต ได้บันทึกอุณหภูมิที่สูงที่สุดในโลกจนถึงปีนี้ที่ 53.2 องศาเซลเซียส และอย่างอิรัก ประเทศเพื่อนบ้านก็มีอุณหภูมิสูงถึง 51.6 องศาเซลเซียส ในวันที่ 1 ก.ค. และเมืองโอมิดิเยห์ ของอิหร่าน ก็ตามติดมาด้วยอุณหภูมิสูงสุด 51 องศาเซลเซียส รวมไปถึงอีกหลายประเทศในตะวันออกกลาง อาทิ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมาน และซาอุดีอาระเบีย บันทึกอุณหภูมิที่สูงกว่า 50 องศาเซลเซียส

California’s Death Valley

อุณหภูมิที่ร้อนที่สุดที่เคยบันทึกไว้
อุณหภูมิสูงสุดที่ลงทะเบียนอย่างเป็นทางการคือ 56.7 องศาเซลเซียส ซึ่งถูกบันทึกในหุบเขามรณะของแคลิฟอร์เนีย (California’s Death Valley) ในปี 1913 อุณหภูมิที่ร้อนที่สุดในแอฟริกาเท่าที่ทราบคือ 55 องศาเซลเซียส ในเมืองเคลบิลีของประเทศตูนิเซีย เมื่อปี 1931 สำหรับเอเชียมีอิหร่านที่ถือว่ามีอุณหภูมิร้อนที่สุดอยู่ที่ 54 องศาเซลเซียส ซึ่งบันทึกในปี 2017

โลกกำลังร้อนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
รายงานที่ตีพิมพ์โดยสถาบันก็อดดาร์ดเพื่อการศึกษาอวกาศ (Goddard Institute for Space Studies: GISS) ของ NASA พบว่าอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยทั่วโลกของโลกในปี 2020 เท่ากันกับในปี 2016 ซึ่งเป็นปีที่ร้อนที่สุด

Gavin Schmidt ผู้อำนวยการ GISS กล่าวว่า "เจ็ดปีที่ผ่านมา เป็นเจ็ดปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งบ่งบอกถึงแนวโน้มที่ร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่องจนน่าตกใจ สิ่งสำคัญคือแนวโน้มในระยะยาว ด้วยแนวโน้มเหล่านี้ และเมื่อผลกระทบของมนุษย์ต่อสภาพอากาศเพิ่มขึ้น เราคาดว่าสถิติจะยังคงถูกทำลายต่อไป"

related