ศบค.เผย มีแผนจัดซื้อวัคซีนซิโนแวค รวมแล้วสูงถึง 47.5 ล้านโดส ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ทำไมรัฐบาลยังเลือกที่จะสั่งซื้อวัคซีนซิโนแวคในจำนวนที่สูงอยู่ ซึ่งถ้าเป็นแผนระยะยาว สามารถสั่งซื้อวัคซีนยี่ห้ออื่นที่ราคาใกล้เคียง หรือถูกกว่าได้เป็นอย่างมาก ?
ศบค. ได้เผยแพร่แผนการจัดซื้อวัคซีนโควิด-19 ของไทย ภายในปี 2564 - 2565 จำนวน 150 ล้านโดส โดยในจำนวนนี้ เป็นวัคซีนซิโนแวค 47.5 ล้านโดส โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. เสนอเพิ่มกรอบการจัดหาวัคซีนจาก 100 ล้านโดส ภายในปี 2564 เป็น 150 ล้านโดล ภายในปี 2565
2. ขณะนี้ ไทยมีการดำเนินการเจรจาจองวัคซีนแล้ว 105.5 ล้านโดส ได้แก่
- แอสตร้าเซนเนก้า 61 ล้านโดส
- ซิโนแวค 19.5 ล้านโดส
- ไฟเซอร์ 20 ล้านโดส
- จอห์นสัน แอนด์จอห์นสัน 5 ล้านโดส
3. โดยไทยเตรียมงบประมาณจัดหา จัดซื้อวัคซีนเพิ่มเติมให้ครบ 150 ล้านโดส ดังนี้
- ซิโนแวค 28 ล้านโดส
- วัคซีนอื่นๆ 22 ล้านโดส
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"หมอยง" เผยผลศึกษาภูมิต้านทาน หลังฉีดวัคซีน "แอสตร้าเซนเนก้า-ซิโนแวค"
วิโรจน์ ชี้ 120 วัน เปิดประเทศได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับจำนวนการฉีดวัคซีนโควิด
นายกฯ ประกาศ เปิดประเทศภายใน 120 วัน พร้อมลงภูเก็ต เปิดรับนักท่องเที่ยว
จากข้อมูลดังกล่าวเท่ากับว่า ไทยได้จัดซื้อและมีแผนจัดซื้อวัคซีนซิโนแวค ถึง 47.5 ล้านโดส
และจากข้อมูลข้างต้น หากการจัดซื้อวัคซีนซิโนแวคที่ผ่านมา เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือระยะสั้น เนื่องจากวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งมีการทำสัญญาสั่งซื้อเมื่อปลายปีที่แล้ว จะสามารถจัดส่งให้ไทยได้ช่วงกลางปี 2564
และต่อมาเมื่อไทยเปลี่ยนนโยบาย จากวัคซีนยี่ห้อเดียว เป็นหลายยี่ห้อ เมื่อช่วงเมษายน 2564 หลังจากการระบาดระลอก 3 แต่ก็ติดปัญหาตรงที่ว่า หากสั่งวัคซีนยี่ห้ออื่นๆ ก็จะได้รับวัคซีนช่วงปลายปี 2564 จึงมีความจำเป็นต้องสั่งซื้อวัคซีนซิโนแวคเข้ามาเพิ่มก่อน
แต่เมื่อเป็นแผนระยะยาวในการจัดซื้อวัคซีนรวม 150 ล้านโดส ก็ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ทำไมไทยยังเลือกที่จะสั่งซื้อวัคซีนซิโนแวคในจำนวนที่สูงอยู่ ทั้งๆ ที่สามารถสั่งซื้อวัคซีนที่ได้รับการยอมรับในประสิทธิภาพที่เหนือกว่า ที่ราคาใกล้เคียงกัน หรือถูกกว่าเป็นอย่างมากได้ ?
ที่มา ศูนย์ข้อมูล COVID-19
ภาพโดย Klaus Hausmann จาก Pixabay