นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เผย จ่ายเงินเยียวยาแล้ว 239 ราย รวมเป็นเงินกว่า 3 ล้านบาท ชี้ หากเข้าข่ายมีอาการไม่พึ่งประสงค์สามารถยื่นคำร้องได้ทันที
ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ 2564 ประเทศไทยจะมีการเริ่มระดมฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโรคโควิด-19 จึงมีความเป็นไปได้ว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนอาจได้รับผลกระทบหรือมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นหลังจากมีการฉีดวัคซีนไปแล้ว โดยทาง คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บอร์ดสปสช.) ได้มีการออกประกาศรับรองการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น โดยครอบคลุมทั้งผู้ใช้สิทธิบัตรทอง ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้เปิดเผยถึงเรื่องการจ่ายเงินเยี่ยวยาหากมีกรณีผู้ฉีดวัคซีนเกิดอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น ในขณะนี้มีการอนุมัติจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว 239 ราย รวมเป็นเงินจำนวนมากว่า 3 ล้านบาท (หลังจากกรณีพบผู้เสียชีวิตจากการฉีดวัคซีน 4 คน เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 64 ) โดยพบว่าอาการส่วนใหญ่ที่พบมักมีอาการชา คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ตลอดไปจนการเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล
อัตราเงินช่วยเหลือเบื้องต้น
1.บาดเจ็บ-ป่วยต่อเนื่อง จำนวนเงินไม่เกิน 1 แสนบาท
2.เสียอวัยวะ-พิการ จำนวนเงินไม่เกิน 2.4 แสนบาท
3.เสียชีวิต-ทุพพลภาพถาวร จำนวนเงินไม่เกิน 4 แสนบาท
ซึ่งจะมีการจ่ายเงินช่วยเหลือ ภายใน 5 วัน หลังจากมีมติ โดยสามารถยื่นเรื่องได้ 3 ช่องทางยื่นคำร้อง
1.โรงพยาบาลหรือสถานที่ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
2.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
3.สำนักงาน สปสช. ทั้ง 13 เขต ทั่วประเทศไทย
“ในกรณีที่มีอาการข้างเคียงชั่วคราว แต่ไม่แน่ใจว่า เข้าข่ายเจ็บป่วยต่อเนื่องหรือไม่ ก็ให้ยื่นเรื่องเข้ามาก่อนอย่างเพิ่งตัดสินใจเอง เพราะคำว่าต่อเนื่อง ส่วนใหญ่มักพบก็จะเป็นอาการชา บางคนชาเป็นเดือน ดังนั้นจึงไม่อยากตัดสินจากเวลาเพราะมีองค์ประกอบอื่นร่วมด้วย ซึ่งเรามีผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณาให้ ดังนั้น ถ้าสงสัยว่ามีอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด-19ก็ยื่นเรื่องเข้ามา”นายแพทย์ จเด็จ กล่าว