กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนเม.ย.2564 อยู่ที่ 100.48 เพิ่มขึ้น 3.41% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ CPI เฉลี่ย 4 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-เม.ย.) เพิ่มขึ้น 0.43% แบบนี้มีผลทำให้ของแพง ซ้ำโควิด 19 แน่นอน
ช่วงนี้นอกจากโควิด 19 ที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด ทั้งในเรื่องของผลกระทบต่อชีวิตผู้คน และกระทบเศรษฐกิจ ปากท้อง เรื่องของแพง ก็ต้องจับตามองเช่นกัน เพราะเศรษฐกิจกำลังปั่นป่วน ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ ได้เผยเลขเงินเฟ้อไทยเดือนเมษายน กลับมาบวก 3.4% ขยายตัวสูงสุดในรอบ 8 ปี4 เดือน ตามราคาพลังงาน จับตาโควิดระลอกใหม่ และการออกมาตรการลดค่าครองชีพเพิ่มเติม ฉุดเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคม
โดยเรื่องนี้ถูกเปิดเผยจาก นายวิชานัน นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เงินเฟ้อเดือนเมษายน 2564 กลับมาขยายตัวได้อีกครั้งในรอบ 14 เดือน และ ขยายตัวสูงสุดในรอบ 8 ปี4 เดือน เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่าง ค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น หลังจากสิ้นสุดมาตรการลดค่าครองชีพของรัฐบาล รวมทั้งปัจจัยราคาน้ำมันตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น และปัจจัยจากราคาอาหารสด เช่น เนื้อสุกร และผักสดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งก็จะเห็นว่าของแพงขึ้น หลายอย่าง
ทั้งนี้ต้องจับตาต่อเนื่องว่าของแพงจะกระทบประชาชนในช่วงโควิด 19 มากน้อยเพียงใด และหน่วยงานที่เกี่ยวของต้องแก้ไขเร่งด่วน เพราะมีคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนพฤษภาคม 2564 มีแนวโน้มขยายตัวสูงต่อเนื่องจากเดือนเมษายน (หากไม่มีมาตรการลด ค่าครองชีพอื่นเพิ่มเติมจากรัฐ) โดยมีปัจจัยสำคัญจากราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูง และฐานราคาพลังงานที่ยังต่ำมากในปีก่อน ขณะที่สินค้าและบริการอื่น ๆ ยังเคลื่อนไหวตามผลผลิตและความต้องการ โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่า งๆ ของรัฐที่คาดว่าจะออกมาอย่างต่อเนื่อง น่าจะช่วยเพิ่มอุปสงค์ในประเทศ ชดเชยอุปสงค์ที่ลดลงจากการท่องเที่ยวได้
จับเงินเฟ้อทำของแพงซ้ำเติมโควิด