svasdssvasds

หน้าร้อนนี้ใช้ "เครื่องปรับอากาศ" ยังไง? ให้ ค่าไฟแพง น้อยสุด

หน้าร้อนนี้ใช้ "เครื่องปรับอากาศ" ยังไง? ให้ ค่าไฟแพง น้อยสุด

การใช้เครื่องปรับอากาศช่วงหน้าร้อน กินไฟมากขึ้นหรอ? ทำไมค่าไฟแพงขึ้น? ถูกโกงหรือเปล่า? ทั้งที่เปิดเวลาเดิม วันนี้โอ๋มีที่มาที่ไปมาอธิบายให้ฟัง รวมทั้งมีคำแนะนำดีๆจาก การไฟฟ้านครหลวง ที่จะมาช่วยลดค่าไฟให้แพงน้อยสุดเมื่อเปิดแอร์ เดี๋ยวโอ๋สรุปให้

       อธิบายให้ง่ายๆว่าค่าไฟแพงขึ้นช่วงหน้าร้อนมีสาเหตุมาจาก 2 ปัจจัยด้วยกัน

1.สภาพอากาศ

       สภาพอากาศเกี่ยวข้องกับค่าไฟแพงด้วยหรอ? เปิดแอร์อยู่ที่ 25 องศา เท่าเดิมเป๊ะเลยนะ เย็นก็ไม่เย็น แถมค่าไฟยังขึ้นอีก

        อธิบายง่ายๆว่าตามฤดูอื่น หากอุณหภูมิภายนอก 30 องศา เปิดแอร์ในห้อง 25 องศา ต่างกันเพียง 5 องศาเท่านั้น แอร์ทำงานไม่หนักในการปรับอุณหภูมิห้องให้เย็นลง แต่หากเป็นฤดูร้อนอุณหภูมินอกห้องอาจสูงถึง 40  องศา เปิดแอร์ในห้อง 25 องศา ต่างกันถึง 15 องศา!! แอร์ในห้องต้องทำงานหนักกว่าเดิมมาก แม้เปิดอุณหภูมิเท่าเดิม เวลาเท่าเดิม การกินไฟมากขึ้น ใช้ไฟเยอะยิ่งแพง

2.อัตราค่าไฟฟ้าประเทศไทย

       เนื่องจากอัตราค่าไฟฟ้าประเทศไทยเป็นแบบก้าวหน้าคล้ายๆกับฐานภาษีคือ ยิ่งใช้ไฟเยอะค่าไฟฟ้าต่อหน่วยยิ่งแพง ยกตัวอย่างเช่น

• 150 หน่วยแรก หน่วยละ 3.2484 บาท  

• 151 - 400       หน่วยละ 4.2218 บาท  

• 401  ขึ้นไป      หน่วยละ 4.4217 บาท 

      ซึ่งเป็นนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของรัฐ ด้วยสมมติฐานว่าคนที่มีรายได้สูงมักใช้ไฟเยอะตาม (ลองนับในบ้านมีGadgetกี่อย่างกันล่ะ)  ทำให้อาจพูดได้ว่าค่าไฟฟ้าผันแปรตามรายได้ของเราด้วย

      สุดท้ายนี้โอ๋มีทริคแนะนำใช้ เครื่องปรับอากาศ ยังไงให้ ค่าไฟแพงน้อยที่สุด จากการไฟฟ้านครหลวง MEA แบบง่ายๆมาฝาก

1. เปิดแอร์ 26 องศา และเปิดพัดลมช่วยเพิ่มความเย็นได้

2. ล้างแอร์ปีละ 2 ครั้งอย่างน้อย ต้นปี และ ปลายปี

3. ไม่รีดผ้าในห้องแอร์ เพราะแอร์จะทำงานหนักมากขึ้น

4. ช่วงเปิดแอร์ ควรเปิดพัดลมแอร์สูงสุด เพื่อให้เย็นเร็วขึ้น เมื่อความเย็นคงที่ให้หรี่ลงปกติ

5. ตั้งเวลาปิดแอร์ให้เร็วขึ้น 1 ชม.

6. เลือก BTU แอร์ให้เหมาะสมกับขนาดห้อง

โดยอาจใช้สูตรนี้

       ขนาดห้อง(กว้างXยาว)Xค่าตัวแปร = BTU ที่เหมาะสม

ค่าตัวแปร ? (เอาไว้ใช้ในการคำนวณเราจะรู้ได้ไง?)

• ห้องที่โดนแดดน้อย หรือ ใช้แอร์ช่วงกลางคืน (ห้องนอน) = 700-800

• ห้องที่โดนแดดปานกลาง-มาก (ห้องนั่งเล่น) = 800-900

• ห้องที่โดนแดดมาก เปิดแอร์ช่วงกลางวัน อยู่ชั้นบนสุด = 900-1000

       เอาเลขนี้ไปคำนวณก็จะได้ออกมาเป็น ค่า BTU ที่เหมาะสมกับขนาดของห้องเราแล้วค่ะ

       เลือก BTU แอร์ ให้เหมาะสมกับขนาดของห้องเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆเลยนะคะ ห้องกว้างใช้ BTU น้อย แอร์ทำงานหนัก ห้องเล็กใช้ BTU ใหญ่ สิ้นเปลือง เลือกแบบพอดีๆดีกว่าค่ะ รู้ทริคดีๆแบบนี้แล้วก็หวังว่าจะช่วยแก้ปัญหา ค่าไฟแพง ช่วงหน้าร้อนนี้ให้หลายๆคนได้ไม่มากก็น้อยนะคะ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก การไฟฟ้านครหลวง(MEA)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

MEA เตือนระวังผู้แอบอ้าง เป็นตัวแทนบริการล้างเครื่องปรับอากาศ เก็บค่าไฟ แจ้งตัดไฟฟ้า เปลี่ยนมิเตอร์ และตรวจซ่อมให้บริการด้านไฟฟ้า

Home Sweet Home เรื่องน่ารู้ไฟฟ้าคู่บ้าน โดย การไฟฟ้านครหลวง MEA

การไฟฟ้านครหลวง แนะนำใช้บริการออนไลน์ MEA Smart Life ทุกสิ่งอย่างจัดการได้ด้วยปลายนิ้ว

การไฟฟ้านครหลวง เฉลย เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า 1 ชั่วโมง เป็นเงินเท่าไรกันแน่?

related