สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมีการแพร่กระจายทั่วประเทศ บุคลากรทางการแพทย์เข้ารักษาตัวหรือถูกกักตัวเป็นจำนวนมาก สมาพันธ์สภาวิชาชีพจึงร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขระดมกำลังในแต่ละวิชาชีพในการช่วยเหลือด้านต่างๆ
มียอดผู้ป่วยติดเชื้อที่กำลังเข้ารับการรักษาตัวในระลอกนี้กว่า 25,000 ราย และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก หากยังไม่สามารถช่วยกันควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อได้ จำนวนผู้ป่วยสะสมจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนเกินศักยภาพของระบบสาธารณสุขของชาติที่จะรับมือในการดูแลได้
นอกจากนั้นแล้วจากข้อมูลการแพร่กระจายของการติดเชื้อ ซึ่งมีบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลใกล้ชิดผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง มีการติดเชื้อ หรือสัมผัสผู้ติดเชื้อ ต้องรับการรักษาตัว หรือถูกกักตัวเป็นระยะเวลา 14 วัน เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีรายงานว่าพยาบาลที่ถูกกักตัวมีจำนวนเฉลี่ยโรงพยาบาลละ 20-30 คน เฉพาะในกรุงเทพมหานคร มีโรงพยาบาลที่ต้องกักตัวพยาบาล 17 แห่ง และโรงพยาบาลที่มีพยาบาลถูกกักตัวมากที่สุด มีจำนวนถึง 78 คน ทำให้โรงพยาบาลแต่ละแห่งขาดแคลนกำลังคนมากยิ่งขึ้น สัดส่วนในการดูแลผู้ป่วย จากเดิมพยาบาล 1 คนต่อผู้ป่วย 20 เตียง ต้องเพิ่มเป็นพยาบาล 1 ต่อผู้ป่วยในบางแห่งถึง 100 เตียง
สมาพันธ์สภาวิชาชีพแห่งประเทศไทย ทั้ง 11 สภาวิชาชีพ ประกอบด้วย แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา สภาวิศวกร สภาสถาปนิก สัตวแพทยสภา สภาเทคนิคการแพทย์สภากายภาพบำบัด และสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ตระหนักถึงภาวะวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นดังกล่าว จึงมีมติร่วมกันในการรวบรวม ผู้ประกอบวิชาชีพ ที่มีความรู้ และสามารถจัดสรรเวลาเพื่อมาเป็นอาสาสมัคร ร่วมปฏิบัติภารกิจที่จะสามารถปฏิบัติได้เพื่อช่วยแบ่งเบา การทำงานของกระทรวงสธารณสุขและหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ โดยมีหลักการร่วมกันว่า
1.การปฏิบัติภารกิจในสถานการณ์นี้ ไม่ถือว่าเป็นการก้าวล่วงการปฏิบัติของวิชาชีพที่มีกฎหมายก ากับอยู่
2.ต้องมีการเตรียมความรู้ และความพร้อมให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
ประเด็นที่บุคลากรของแต่ละสภาวิชาชีพ จะร่วมปฏิบัติได้มีดังนี้
1.การรับโทรศัพท์ ให้ข้อมูลและให้ค าปรึกษา– ปฏิบัติได้ทุกสาขาวิชาชีพ
2.การฉีด Vaccine–วิชาชีพแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ ปฏิบัติได้
3.การบริหารจัดการโรงพยาบาลสนาม/ UHOSNET/ Hospitel - ปฏิบัติได้ทุกสาขาวิชาชีพ
4.การให้บริการ การดูแลในหอผู้ป่วยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ผู้ป่วย COVID-19 - วิชาชีพการพยาบาล ปฏิบัติได้
5.การตรวจคัดกรอง และ swab เพื่อหาเชื้อ COVID-19 – ปฏิบัติได้ทุกสาขาวิชาชีพสุขภาพที่ได้รับการอบรม
6. การจัดเตรียมโรงพยาบาลสนาม ดัดแปลงอาคาร ห้องความดันลบ เครื่องช่วยหายใจ เครื่องมือและ
ปัญญาประดิษฐ์ –วิชาชีพวิศวกร สถาปนิก ปฏิบัติได้
ทั้งนี้แต่ละสภาวิชาชีพ ได้โพสต์แบบรับลงทะเบียนอาสาสมัครใน website ของแต่ละสภาวิชาชีพ ในหัวข้อ “สมาพันธ์สภาวิชาชีพรวมใจ สู้ภัยโควิด-19”
Cr. แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาทนายความ สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา สภาวิศวกร สภาสถาปนิก สัตวแพทยสภา สภาเทคนิคการแพทย์ สภากายภาพบบัด สภาวิชาชีพบัญชี