“หมอวิชัย” ร้อง ป.ป.ช. ตรวจสอบการทำงานของ ก.ล.ต. หลังเรื่องเงียบหายซึ่งเคยได้ร้องเรียนอดีตผู้บริหารที่โกงเงิน IFEC และขอให้ดำเนินคดีกับผู้ถือหุ้นที่“ไซฟ่อนเงิน”
นายวิชัย ถาวรวัฒนยงค์ ผู้ถือหุ้นใหญ่และอดีตประธานกรรมการบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC นำหลักฐานยื่นร้องเรียนต่อ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อขอให้ตรวจสอบการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หลังไม่แจ้งความคืบหน้าการดำเนินการต่อข้อร้องเรียนให้ตรวจสอบอดีตผู้บริหาร IFEC ซึ่งบริษัทตรวจสอบพบการกระทำความผิดว่า “ไซ่ฟ่อนเงิน”จำนวนมากออกจาก IFEC จนเป็นเหตุให้ IFEC ขาดทุนและมีหนี้สินมากมาย และส่งผลให้ ผู้ถือหุ้นเสียหาย
“การที่ก.ล.ต.รับเรื่องร้องเรียนเรื่องการทุจริตทั้ง 2เรื่องไว้แล้วนานเกือบปี แต่ไม่มีความคืบหน้าการดำเนินการตรวจสอบและหรือแจ้งผลการดำเนินการ ตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ทำให้กระผม บริษัท ผู้ถือหุ้น ตลอดจนเศรษฐกิจของประเทศชาติได้รับความเสียหาย” นายวิชัยกล่าว
ประกอบกับ ก.ล.ต. มีหนังสือ และ คำสั่งต่างๆ มากมาย โดยใช้อำนาจ และ บังคับใช้กฎหมาย ต่อ บริษัท และ คณะกรรมการ อย่างมากมาย เกินจำเป็น และ หรือ เกินกว่าอำนาจหน้าที่ รวมถึง วินิจฉัยข้อกฎหมายและออกคำสั่งขัดต่อกฏหมายหรือคำวินิจฉัย กฤษฎีกา จนเป็นเหตุให้ IFEC ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติ หลังกล่าวโทษนายวิชัย ต่อตำรวจปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ปอศ.) เป็นเหตุให้ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่กรรมการ และพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท ตั้งแต่ 5 กันยายน 2560
โดย ก.ล.ต.ส่งหนังสือแจ้ง IFEC ว่า การเรียกประชุมโดยผู้เรียกไม่ใช่ประธานกรรมการขัดต่อกฎหมาย ( โดยมิได้นำเรื่องเสนอกฤษฎีกา ตีความ โดยเร็ว แต่ต่อมาเมื่อผ่านมา กว่า 8 เดือน กลต. จึงเพิ่งจะเสนอ กฤษฎีกา วินิจฉัยกรณีดังกล่าว ที่ กลต. ได้วินิจฉัยไว้ขัดกัน ) ขณะที่ มีการเสนอข่าวว่าสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้วินิจฉัยข้อกฎหมายมาตรา 81 และมาตรา 83 แห่ง พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด ตามคำร้องขอของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ไว้ว่า
“ถึงแม้มาตรา 81 จะบัญญัติให้ประธานกรรมการเป็นผู้เรียกประชุมคณะกรรมการ แต่มิได้หมายความว่าในกรณีที่ไม่มีประธานกรรมการ หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือประธานกรรมการไม่ปฏิบัติหน้าที่ กรรมการคนอื่นๆจะไม่สามารถเรียกประชุมคณะกรรมการได้ โดยเห็นว่าหากยังคงมีกรรมการเหลืออยู่ครบองค์ประชุม กรรมการที่เหลือสามารถจัดประชุมฯได้ เพื่อให้การบริหารการบริหารจัดการงานต่างๆของบริษัทสามารถดำเนินการต่อไปได้”
ดังนั้น หากคำวินิจฉัยของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นจริงดังที่ปรากฏเป็นข่าว คำวินิจฉัยนี้แสดงให้เห็นว่า ก.ล.ต. วินิจฉัยข้อกฎหมายและออกคำสั่งในเรื่องการประชุมคณะกรรมการ IFEC ผิดพลาดคลาดเคลื่อนอย่างชัดเจน เป็นเหตุให้เกิดข้อขัดข้องในการบริหารงานของ IFEC ทำให้บริษัท เจ้าหนี้ และผู้ถือหุ้นกว่า 30,000 ราย ได้รับความเสียหาย
นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยังได้มีหนังสือถึงคณะกรรมการบริษัททุกท่าน แจ้งให้ลาออกจากการตำแหน่ง โดยหากไม่ลาออก จะพิจารณากล่าวโทษ ตามความผิดอาญา มาตรา 89/7 เป็นผลให้กรรมการบริษัทจำเป็นต้องลาออกจากตำแหน่งถึง 3 คน
“ จากเหตุผลทั้ง 4 ข้อ ตน ได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่ ของ กลต. จึงยื่นเรื่องร้องเรียน ต่อ ปปช.เพื่อขอให้ตรวจสอบหาข้อเท็จจริง และขอให้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ”