svasdssvasds

แจก4 วิธีหาจุดตรงกลางในออฟฟิศ ระหว่าง “Gen Z กับ วัยเก๋า”

แจก4 วิธีหาจุดตรงกลางในออฟฟิศ ระหว่าง “Gen Z กับ วัยเก๋า”

Gen Z ขาดวินัยจริง หรือแค่วัฒนธรรมต่างกัน? เมื่อวัยเก๋ากับเด็กใหม่ต้องทำงานร่วมกัน แล้วอะไรคือทางออก? คำตอบอยู่ใน 4 วิธีเปลี่ยนความต่างให้กลายเป็นพลังในออฟฟิศ

เรามักเห็นข่าวคร่าวว่าบริษัทปฏิเสธรับ Gen Z เข้ามาเป็นพนักงาน ด้วยเกรงว่ากังวลเรื่องความไม่เป็นมืออาชีพ ขาดทักษะการสื่อสาร ใช้อารมณ์เหนือเหตุผล ฯลฯ แต่มีอีกกระแสที่บอกว่า ไม่ได้ ออฟฟิศเราต้องเปิดรับพนักงานรุ่นใหม่ เพื่อเพิ่มดีกรีความหลากหลายทางความคิด ซึ่งอาจเกิดไอเดียใหม่ ๆ นวัตกรรมใหม่ ๆ

“พี่นั่งรอตั้งนาน ทำไมมาสายไป 5 นาที”

“บูมเมอร์ก็แบบนี้แหละ เข้าใจเขาหน่อย”

นั่นแหละ สารพัดคำปรามาส สารพัดคำพูดเชิงลบ ที่สาดเทใส่กันระหว่างพนักงาน Gen Z และบรรดารุ่นเก๋าที่ทำงานมานาน ผู้ที่ยังยึดติดกับระเบียบวัฒนธรรมเก่า กอดจูบเก้าอี้อันหวงแหนไม่ยอมไปไหน เมื่อโลกสองใบที่แตกต่างกัน โคจรมาบรรจบกันย่อมเกิดปัญหา ข้อพิพาท พาลให้ออฟฟิศมีบรรยากาศที่ไม่น่าทำงานเอาเสียเลย

แจก4 วิธีหาจุดตรงกลางในออฟฟิศ ระหว่าง “Gen Z กับ วัยเก๋า”

คำถามคือ Gen Z ก็เป็นเด็กรุ่นใหม่ไฟแรง มีคลังความรู้ของโลกยุคใหม่ เข้าใจภาษาและวัฒนธรรมแบบใหม่ ขณะเดียวกัน คนรุ่นเก่าก็พรั่งพร้อมด้วยประสบการณ์ และสารพัดวิธีการแก้ไขปัญหาที่ผ่านการเครี่ยวกรำมาหลายสิบปี แต่ถ้ามัวแดกดัน และไม่ลงรอยกันอยู่แบบนี้ บรรยากาศที่ไม่ดีในออฟฟิศ จะพาลไปส่งผลให้งานไม่ดีตามไปด้วย

แจก4 วิธีหาจุดตรงกลางในออฟฟิศ ระหว่าง “Gen Z กับ วัยเก๋า”

ดังนั้น ถ้าทั้งสองมีเจตนาดี พร้อมจะเปลี่ยนแปลงเพื่อผลประโยชน์ของออฟฟิศ แล้วจุดกึ่งกลางระหว่าง Gen Z และบรรดาวัยเก๋าทั้งหลาย มันอยู่ตรงไหน SPRiNG มี 4 ทริคมาแชร์กัน

แต่ก่อนอื่น เรามาลงรายละเอียดกันหน่อย สารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่าง Gen Z กับรุ่นเก๋า อันสร้างความไม่ลงรอยกัน ถ้ากางออกมาดู จริง ๆ แล้วมันมีอะไรบ้าง แล้ว มนุษย์ Gen Z เท่านั้นหรือที่เป็นต้นตอปัญหา ?

  • Gen Z ไม่ได้รับความไว้วางใจ - การสำรวจของ Gallup ในปี 2022 พบว่าพนักงาน Gen-Z ร้อยละ 54 ไม่ค่อยมีส่วนร่วมในชิ้นงาน และนี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนมองว่า Gen-Z ทำงานได้ยาก ออฟฟิศจึงไม่ไว้วางใจ
  • Gen Z ขาดสกิลการสื่อสาร (แบบเก่า) เพราะเติบโตมาในยุคออนไลน์ ใช้อิโมจิแสดงอารมณ์มากกว่าการคุยกันซึ่งหน้า (ซึ่งยังสำคัญมาก) แบบสำรวจจาก Intelligent เผยว่า นายจ้าง 39% ไล่พนัก Gen-Z ออกเพราะสอบตกในข้อนี้
  • Gen Z ไม่ยอมรับวัฒนธรรมแบบเก่า มาตรฐานวัดความขยันขันแข็งของพนักงานที่ล้าหลัง อาทิ มานั่งจ้องว่าพนักงานคนนี้มาหรือยัง นั่งจ้องเข็มนาฬิกาชนิดตาไม่กระพริบ ขาดความยืดหยุ่น กฎระเบียบรัดตัวจนเกินไป
  • Gen Z ไม่ใช่มนุษย์บ้าทำงาน (เกินขอบเขตความจำเป็น) กล่าวคือ เมื่อนอกเวลางานคือนอกเวลางาน ได้โปรดให้ความสำคัญกับเวลาของกันและกัน จำพวกโทรมาสั่งงานนอกเวลางาน ถือเป็นอะไรที่ไม่มืออาชีพ เสียสุขภาพ แถมดูล้าหลัง จัดการ work flow ได้ไม่ดี

ด้านบนนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ทีนี้มาดูกันดีกว่าว่าเราจะแก้ปัญหาที่ว่ามานี้ได้อย่างไร บทความจาก Forbes แนะนำ 4 วิธีหาจุดตรงกลาง (Bridging The Gap) ซึ่งได้รับการพิสูจย์ยืนยันมาแล้วจากออฟฟิศในระดับ Global ว่าลองปรับใช้แล้วเวิร์ก !

  1. เพิ่มพูลทักษะการสื่อสาร - การพูดดูจะเป็นเรื่องพรสวรรค์อยู่ในที แต่จริง ๆ เราสามารถฝึกสกิลการพูดให้ดีขึ้นได้ และไม่ใช่แค่การพูด การจังหวะพูด การส่งอีเมล การโทรหาปรึกษา ฯลฯ เหล่านี้ถ้าเราทำได้ดี ทำได้เหมาะสมจนเชี่ยวชาญ เราจะดูโดดเด่นขึ้นมาทันที แต่อย่าดีแต่พูดล่ะ งานต้องดีตอบตัวมันเองด้วย !
  2. ปรับตัวอยู่เสมอ (stay adaptable) - เพราะมีปัญหา เราจึงมาทำงานแก้ปัญหา ดังนั้น มีเรื่องมากมายที่คาดเดาไม่ได้อยู่เสมอ พนักงานประสบความสำเร็จในการทำงาน มักมีทักษะในการปรับตัว มองหาความท้าทาย พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากทุกคน ไม่ปิดกั้น ฟังแต่เสียงตัวเองในถ้ำ
  3. บาลานซ์ออนไลน์และออฟไลน์ - หมายความว่าการพูดคุยทางอีเมล ส่งอิโมจิน่ารัก ๆ แสดงความเป็นห่วงเป็นใยต่อคนอื่น ๆ ในโลกออนไลน์นั้นสำคัญ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการพูดคุยกันต่อหน้าก็สำคัญเหมือนกัน แถมป้องกันการรับสารผิด ๆ ดังที่เกิดเป็นประจำในโลกออนไลน์
  4. แสดงจุดยืนในการทำงานของเรา - actions speak louder than words สำนวนฝั่งว่าไว้อย่างนี้ หมายความว่าเราต้องทำตามสัญญา สร้างความน่าเชื่อถือในทุกมิติ ตกลงหรือคุยอะไรไว้ต้องทำให้ได้เช่นนั้น ถ้าไม่ได้เป็นเพราะอะไร ก็กลับไปคุยกันเพื่อแก้ปัญหา

ลองดู แค่ 4 วิธีนี้ พนักงานไม่ว่าวัยใด จะมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากขึ้น เห็นใจ เกรงใจ และให้เกียรติคนอื่น ๆ ทรีตกันและกันเป็นพนักงานคนหนึ่ง ตัดเรื่องส่วนตัวออกไปให้ได้มากที่สุด เพราะสุดท้าย พนักงานก็แค่มนุษย์ที่มาแก้ปัญหาในชายคาเดียวกันเท่านั้นเอง !

 

ที่มา: Forbes

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related