svasdssvasds

"Perfectionist" ดีเท่าไหร่ก็ไม่พอ มนุษย์ที่เสพติดความสมบูรณ์แบบ "เกินไป"

"Perfectionist" ดีเท่าไหร่ก็ไม่พอ มนุษย์ที่เสพติดความสมบูรณ์แบบ "เกินไป"

"Perfect is the enemy of the good : ความสมบูรณ์เป็นศัตรูของสิ่งที่ดี” จริงๆแล้วทุกคนก็น่าจะอยากให้สิ่งที่เราทำอยู่ออกมาดีที่สุด แต่บางครั้งกลับส่งผลเสียอย่างมาก เพราะการเป็น "Perfectionist" ก็เป็นการกดดันตัวเอง และอาจจะกำลังทำลายทุกอย่าง...

Perfectionist ดีเท่าไหร่ก็ไม่พอ

ในที่ทำงานมักจะมีคนอยู่ประเภทนึงที่เวลาใครๆนึกถึงเขา ก็จะถึงความเป๊ะ ความเจ้าระเบียบ ห้ามมีข้อผิดพลาดแม้แต่นิดเดียว และไม่ว่าจะเป็นงานเล็กงานน้อย หรือยิ่งเป็นงานใหญ่ พวกเขาก็จะพยายามทำทุกทางเพื่อให้งานนั้นๆสมบูรณ์แบบมากที่สุด ถึงแม้ว่าบางทีนิสัยเหล่านี้ก็อาจจะทำให้คนรอบข้างเกิดความรำคาญไปบ้าง

คนประเภทนี้หรือที่เรียกว่า "Perfectionist" ถ้าดูที่ความตั้งใจ หรือผลลัพธ์ปลายทางอาจจะดูดี เพราะคนประเภทนี้ต้องการให้งาน หรือเรื่องที่ทำออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด แต่ทำไมคนรอบข้างถึงรำคาญ แล้วถ้าเราเป็นคนประเภทนี้ ควรจะปรับตัวอย่างไรให้ความเพอร์เฟคของเราส่งผลดีต่องานและเพื่อนร่วมงานมากที่สุด

Perfectionist เมื่อความสมบูรณ์แบบจะทำให้เราไม่สมบูรณ์เสียเอง

Perfectionist หรือ บุคคลที่หลงใหลในความสมบูรณ์แบบ ทุกสิ่งที่เขาทำ หรือทุกอย่างที่เขาเจอจะต้องไม่มีตำหนิ ไม่มีคำติจากบุคคลอื่น ไม่ควรเกิดข้อผิดพลาดและไม่มีความล้มเหลว ดังนั้น การใช้ชีวิตของพวกเขาเหล่านี้จะมีแต่ความระมัดระวังกับทุก ๆ สิ่ง ทุก ๆ อย่าง เพื่อให้งานหรืออะไรก็ตามที่เขาทำมันเกิดความสมบูรณ์แบบมากที่สุด

Perfectionist ชีวิตที่เสพติดความสมบูรณ์แบบ แต่...ดีเท่าไหร่ก็ไม่พอ

ข้อดี – ข้อเสีย ของ Perfectionist

ข้อดีของ Perfectionist คือ มีความละเอียดรอบคอบมากกว่าใคร เนื่องจากต้องการให้งานออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด ตามนิสัยส่วนตัวนั่นเอง วางใจได้เลยว่าจะไม่มีพวกงานที่ทำแบบลวก ๆ ผ่าน ๆ หลุดออกมาจากพวกเขาแน่นอน

นอกจากนี้เพอร์เฟกต์ชั่นนิสต์ยังทำทุกอย่างอย่างมีเป้าหมาย ทำให้มีเปอร์เซ็นต์ประสบความสำเร็จสูง ถ้าในองค์กรคุณมีคนแบบนี้บอกเลยว่าเขาเหมาะกับงานที่ต้องใช้ความแม่น ความเป๊ะสูงสุด ๆ จะเห็นได้ว่าหัวหน้างานส่วนใหญ่ก็มักเป็น Perfectionist

ข้อเสียของ Perfectionist อย่างแรกเลย คนที่หมกมุ่นกับความสมบูรณ์แบบมากๆ พอเจอกับความผิดพลาดมักจะทำใจไม่ได้ ปล่อยวางยาก ทำให้ต้องใช้ชีวิตภายใต้แรงกดดันตัวเองตลอดเวลา กลายเป็นความเครียดสะสม และส่งความน่าอึดอัดให้คนรอบตัวด้วย ทำให้ทำงานกับผู้อื่นได้ยากขึ้น ไม่มีความสุข รู้สึกกดดันตลอดเวลา

และอาจทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า Perfectly Hidden Depression (PHD) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการโรคซึมเศร้าที่มาจากการเสพติดความสมบูรณ์แบบ นอกจากนี้ยังเป็นคนที่สุดโต่งในทางความคิด สรุปเร็วเกินไป ไม่ยืดหยุ่น และไม่เปิดใจ ยึดแต่ตัวเองเป็นบรรทัดฐาน

"ชีวิตที่รายล้อมไปด้วยความสำเร็จที่น่ายกย่อง ความเข้มแข็งที่เฉิดฉายในสายตาของคนภายนอก แต่กลับรู้สึกว่างเปล่า อ้างว้าง อยู่ภายใน" 

ดร. Margaret R Rutherford จิตแพทย์ผู้ศึกษาเรื่องนี้นิยามว่าเป็นอาการของกลุ่มคนซึมเศร้าที่มาจากการเสพติดความสมบูรณ์แบบ

Perfectionist ชีวิตสุดสตรอง เพอร์เฟกต์ และโดดเดี่ยว

เมื่อรู้ว่าตัวเองเป็น Perfectionist เสพติดความสมบูรณ์แบบ

คำแนะนำสำหรับ Perfectionist ที่อยากจะปรับตัวให้ความเพอร์เฟกต์ของเราส่งผลดีต่องานมากที่สุด

1. Practice self-awareness : เข้าใจตัวเอง

การมีความตระหนักถึงการเป็น Perfectionist และการเข้าใจพฤติกรรมของเราในการทำงานเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญ โดยการสังเกตตนเองในสิ่งที่ทำเป็นประจำจะช่วยให้เราทำเลือกทำในสิ่งที่ดีที่สุด รู้ว่าเมื่อไหร่ควรทำแค่ไหน

2. Realize no one's perfect : คิดเสมอว่าไม่มีใครที่จะ perfect ไปหมดทุกอย่าง

สำหรับคนที่ต้องการให้ทุกสิ่งทุกอย่างสมบูรณ์มากที่สุด มันยากที่จะยอมรับว่าตนเองจะไม่ได้เป็นคนสมบูรณ์แบบ หรือมีความกลัวที่จะล้มเหลว อาจจะลองค่อย ๆ เปลี่ยนความคิด ลองล้มเหลวหรือผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย สักครั้งสองครั้งบ้าง

3. Don't compare yourself to others : อย่าเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น

การเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นจะทำให้เรารู้สึกผิดหวัง คนเรามีความถนัดแตกต่างกันในการทำสิ่งต่าง ๆ ดังนั้นไม่ควรทำให้ความสำเร็จของเราขึ้นอยู่กับความคาดหวังของผู้อื่น

4. Set realistic goals and reward yourself as you meet them : กำหนดเป้าหมายและให้รางวัลตัวเอง

การกำหนดเป้าหมายที่เป็นไปได้และให้รางวัลเมื่อทำได้ตามเป้านั้น สามารถช่วยให้เรารับรู้ว่าเราทำงานได้ดีและได้ผลลัพธ์ที่ดี เพราะว่าเมื่อเราทำตามเป้าหมายได้แล้ว เราก็จะไม่เสียใจเรื่องผลลัพธ์ เพราะไม่ว่าระหว่างทางจะมีผิดพลาดไปบ้างแต่โฟกัสที่เป้าหมายให้สำเร็จก็พอแล้ว

5. Consider whether it's worth the stress : คิดก่อนว่าที่ทำอยู่มันคุ้มค่าที่จะเครียดไหม

พิจารณาว่างานที่กำลังทำมีความสำคัญเพียงใด ถ้ามันไม่ใช่เรื่องสำคัญมาก ความเครียดที่เกิดขึ้นจากความต้องการให้มันเพอร์เฟกต์อาจไม่คุ้มค่าก็ได้

Perfectionist  อย่าเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น กำหนดเป้าหมายและให้รางวัลตัวเอง

6. Build trust and learn to delegate : ไว้ใจที่จะมอบหมายงาน

การให้ความไว้วางใจและให้งานให้ผู้อื่นทำจะช่วยเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของเรา โดยเฉพาะผู้บริหารที่ต้องการทำทุกอย่างด้วยตนเอง สิ่งนี้สำคัญมากสำหรับผู้จัดการที่มีหน้าที่มากมาย และต้องมอบหมายงานให้ผู้อื่นเพื่อให้ทำงานได้ครบถ้วน

7. Understand the downside of perfectionism : เข้าใจในด้านลบของการเป็น perfectionist

ถ้าคุณพยายามที่จะเรียนรู้แลละเข้าใจผลกระทบด้านลบของการเป็น Perfectionist นั้น จะช่วยให้คุณเข้าใจความรู้สึกของคนรอบข้าง และเข้าใจตัวเองมากขึ้น

8. Understand that "perfect" is in the eye of the beholder : สมบูรณ์แบบขึ้นอยู่กับใครจะมอง

เมื่อคุณเป็น Perfectionist ความเป็น "คนสมบูรณ์แบบ" ของคุณมักจะเป็นสิ่งที่น่าพอใจมาก แต่ในบางทีบางครั้ง บางคนอาจจะไม่พึงพอใจแม้งานของคุณจะดีเพียงใด นั่นไม่เป็นไร ถ้าเราคิดว่าดีแล้วทำเต็มที่แล้ว รับฟังคนอื่นแล้วมาปรับนิดหน่อย แทนที่จะมาจมอยู่กับคำว่างานของเราไม่สมบูรณ์ ไม่เพอร์เฟกต์

9. Seek counseling : มองหาตัวช่วยอื่นๆ

การพยายามเปลี่ยนแปลงจากการเป็น Perfectionist ไม่ง่ายสำหรับหลายคน การใช้บริการที่เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา หรือการปรึกษาสามารถช่วยคุณพูดคุยเกี่ยวกับปัญหานี้และหาวิธีการเผชิญกับผลที่เกิดขึ้นจาก Perfectionism ได้

10. Life and work are about progress, not perfection : ชีวิตคือการพัฒนา ไม่ใช่ความสมบูรณ์

การเป็น Perfectionist ในระดับที่น้อยนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่แย่ ถ้ามันสร้างมาตรฐานที่สูง ทำให้เชื่อมั่น และช่วยปรับปรุงทักษะและความรู้โดยไม่กีดกันในการก้าวหน้าหรือรู้ว่า "พอดี" คืออะไร การเป็น Perfectionist ก็ยังมีประโยชน์ แต่จะเป็นปัญหาเสมอเมื่อเรามีความคิดว่า "ไม่เคยดีพอ”

"Perfectionist" มนุษย์เข้มแข็งที่เสพติดความสมบูรณ์แบบ "เกินไป" จนอ้างว้าง

"Perfect is the enemy of the good" “ความสมบูรณ์เป็นศัตรูของสิ่งที่ดี” (นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส:วอลแตร)

ความจริงคือ "ไม่มีใครที่เป็นคนที่สมบูรณ์ที่สุดหรอก และบางทีการพยายามที่จะเป็นคนสมบูรณ์เป็นการพยายามที่ไม่เป็นประโยชน์อะไรเลย และยังเสี่ยงต่อความสำเร็จในทำงานอีก"

ความพยายามที่จะทำให้ทุกอย่างเป็นไปตามมาตรฐานสูงเกินไป อาจมีผลกระทบทางลบต่อการทำงานของเรา รวมทั้งยังส่งผลแย่ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานอีกด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น การมีความพยายามที่จะสมบูรณ์แบบมากเกินไปก็อาจส่งผลต่อสุขภาพทั้งกายและจิตใจอีกด้วยนะ การปรับตัวให้ความเพอร์เฟคของเรามันพอดีจะช่วยให้การทำงานของเราราบรื่น ส่งผลดีต่อทั้งตัวเราและเพื่อนร่วมงานอีกด้วย

บทความ Work Life Balance อื่นที่น่าสนใจ

อ้างอิง

related