SHORT CUT
15 ก.พ. วันแห่งความโสด คุณเป็นคนโสดประเภทไหน ? โสดแบบสุขใจไร้กังวล’ โสดมั่นใจในตัวเอง โสดผู้ทุกข์เงียบ เข้าใจและยอมรับตัวเองในแบบที่เป็น !
สำหรับบางคน การใช้ชีวิตโสดคือการได้สัมผัสอิสระเต็มที่ สามารถทำตามใจตัวเองโดยไม่ต้องขอความเห็นหรือปรับตัวตามใคร พวกเขาเพลิดเพลินกับชีวิตที่ไม่มีข้อผูกมัดใด ๆ แต่สำหรับบางคน ความโสดกลับเป็นเรื่องที่น่าผิดหวัง เป็นเครื่องเตือนถึงความล้มเหลวในชีวิตส่วนตัว และพวกเขามองว่าความโสดคืออุปสรรคสำคัญที่ขวางทางสู่ความสำเร็จในชีวิต
ความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงในมุมมองต่อการเป็นโสดนี้ สะท้อนความจริงสำคัญว่า ‘การรู้ว่าคนคนหนึ่งเป็นโสด’ ไม่ได้การันตีทุกข์หรือสุขในชีวิตได้เสมอไป แต่มีความขัดแย้งภายในจิตใจตัวเองอยู่เนืองๆ !
เว็บไซต์ Psychology Today ได้นำเสนอการวิจัยที่สอบถามชาวโสดกว่า 500 คน จนสามารถแบ่งลักษณะคนโสดออกเป็น 6 ประเภทดังนี้
กลุ่มคนโสดประเภทนี้คิดเป็น 19.2% ของผู้ที่เข้าร่วมการศึกษา พวกเขามีสุขภาพที่ดี ระดับความเครียดต่ำ และมีความภาคภูมิใจในตนเองสูง อีกทั้งยังรู้สึกพึงพอใจอย่างมากกับมิตรภาพและความสัมพันธ์ในครอบครัว
ประมาณ 24.7% ของคนโสดอยู่ในกลุ่มนี้ แม้จะมีคุณลักษณะส่วนบุคคลที่แข็งแกร่ง ความภาคภูมิใจในตนเองสูง แต่ยังประสบปัญหาในเรื่องมิตรภาพ โดยรู้สึกว่าความสัมพันธ์กับเพื่อนขาดความสนิทสนม และยังตามหาจุดที่เหมาะสมในความสัมพันธ์
ประมาณ 27.6% ของคนโสดอยู่ในกลุ่มนี้ ในด้านสังคม พวกเขามีความสัมพันธ์ที่ดีทั้งกับเพื่อนและครอบครัว แต่ภายในใจ พวกเขากำลังเผชิญกับความยากลำบาก โดยมี ความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ ระดับความเครียดสูง มีความพึงพอใจในชีวิตโสดระดับปานกลาง
มีคนเพียงไม่ถึง 3% ที่อยู่ในกลุ่มนี้ ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ มีความภาคภูมิใจในตนเองสูง ระดับความเครียดต่ำ และสุขภาพดี ทว่ายังมีปัญหาความสัมพันธ์ แต่มองว่าไม่ได้เกิดจากตัวเอง เป็นเพราะคนอื่นต่างหาก
16.9% ของคนโสดอยู่ในกลุ่มนี้ โดยพวกเขารายงานว่ามี มิตรภาพที่ไม่ดี ความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ย่ำแย่ และความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ มีประสบการณ์ที่ย่ำแย่ในความสัมพันธ์ส่วนตัว จึงประเมินตนเองในเชิงลบ
8.7% ของคนโสดอยู่ในกลุ่มนี้ มีประสบการณ์ด้านมิตรภาพที่ค่อนข้างดี ปัญหาส่วนตัวและความยากลำบากในความสัมพันธ์ทางสังคม จึงมีทั้งพอใจและไม่พอใจในชีวิตตัวเองสลับๆ กันไป
จะเห็นได้ว่า ความโสดไม่ได้ถูกนิยามด้วยความเศร้าเพียงด้านเดียว แต่คนโสดมีหลากหลายความรู้สึกผสมกันไป
เช่นเดียวกับการมีคู่ ที่ไม่ได้รับประกันความสุขหรือความสมบูรณ์แบบเสมอไป ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะไหน คุณค่าของชีวิตไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานะ แต่คือการเข้าใจและยอมรับตัวเองในแบบที่เป็น
ที่มา : psychologytoday
ข่าวที่เกี่ยวข้อง