”สำหรับข้าพเจ้า มนุษย์ผู้สูงส่งจำเป็นต้องรักในโชคชะตา (Amor Fati) ของตัวเอง เขาจะไม่เรียกร้องสิ่งใดที่แตกต่างออกไป ไม่ว่าในอดีต อนาคต หรือชั่วนิรันด์ และไม่ใช่แค่ยอมรับกับมัน แต่เขาจะไม่ปกปิดซ่อนเร้นหรือเพียงเผชิญหน้า แต่เขาจะต้องหลงรักมัน”
ใกล้จะสิ้นปีแบบนี้ เชื่อว่าหลายคนคงเริ่มรีวิวปีนี้ของตัวเองกันบ้างแล้ว และเมื่อได้เพ่งมองกลับไป ทุกคนคงจะผ่านปัญหามาไม่มากก็น้อย และหลายปัญหาก็หนักเสียใจชวนให้เราท้อใจกับชีวิต
แต่ในมุมของ ฟรีดริช นีตซ์เช นักปรัชญาเยอรมันผู้โด่งดัง เขาชวนให้เรายอมรับทุกปัญหาที่ถาโถมเข้ามาในชีวิต โอบกอบทุกโชคชะตาทั้งที่เราเลือกและไม่ได้เลือกด้วยแนวคิด ‘ความรักในโชคชะตา (Amor Fati)’ เพราะทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราล้วนมีความหมายในตัวมันเอง และการที่เรายืนขึ้น เพื่อแบกมันไว้บนบ่าอย่างกล้าหาญ คือความเป็นมนุษย์ที่สูงส่งและแท้จริง
SPRiNG ชวนรู้จักแนวคิด Amor Fati กันสักหน่อยว่าแนวคิดนี้เป็นอย่างไร มีที่มาจากไหน และสามารถปรับใช้กับชีวิตเราในตอนนี้ (ไม่ต้องรอถึงปีหน้า) ได้อย่างไรบ้าง
‘Amor Fati’ เป็นประโยคละตินแปลตรงตัวได้ว่า ‘ความรักในโชคชะตา’ แนวคิดนี้ถูกพูดถึงในหนังสือ Ecce Homo ซึ่ง นีตซ์เช เขียนเอาไว้ว่า
”สำหรับข้าพเจ้า มนุษย์ผู้สูงส่งจำเป็นต้องรักในโชคชะตา (Amor Fati) ของตัวเอง เขาจะไม่เรียกร้องสิ่งใดที่แตกต่างออกไป ไม่ว่าในอดีต อนาคต หรือชั่วนิรันด์ และไม่ใช่แค่ยอมรับกับมัน แต่เขาจะไม่ปกปิดซ่อนเร้นหรือเพียงเผชิญหน้า แต่เขาจะต้องหลงรักมัน”
เขาจะไม่เรียกร้องสิ่งใดที่แตกต่างออกไป ไม่ว่าในอดีต อนาคต หรือชั่วนิรันด์ และไม่ใช่แค่ยอมรับกับมัน แต่เขาจะไม่ปกปิดซ่อนเร้นหรือเพียงเผชิญหน้า แต่เขาจะต้องหลงรักมัน
ความหมายที่ซ่อนอยู่ระหว่างบรรทัดของนีตซ์เชคือ ความไม่สมบูรณ์แบบ ความทุกข์ ผิดพลาด ล้มเหลว เป็นสัจจะของชีวิตมนุษย์ทุกคน คนที่ไม่เคยผิดพลาดคือคนที่ไม่เคยทำอะไรเลย ทุกคนจึงควรยอมรับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าควบคุมได้หรือไม่ได้ และไม่ทดท้อเมื่อโลกไม่เป็นแบบที่เราต้องการ
Amor Fati ชวนให้เรามองปัญหาเป็นโอกาส ตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราเรียนรู้อะไรจากสิ่งนี้ได้บ้าง? ประสบการณ์นี้กำลังสอนอะไรเราอยู่? การเปลี่ยนมุมมองต่อสิ่งที่เข้ามา ช่วยลดความรู้สึกด้านลบในตัวเรา และทำให้เรามองปัญหาในมุมใหม่ขึ้น
แต่ Amor Fati ไม่ใช่การยอมรับความล้มเหลวทั้งที่ไม่ทำอะไรเลย แนวคิดนี้กับ Stoicism มีความคล้ายคลึงกันมากที่ชวนให้เราโฟกัสเฉพาะสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ แต่แตกต่างกันตรงที่ไม่ว่าผลที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร Amor Fati บอกว่าสิ่งเหล่านั้นล้วนมีความหมาย และเราควรโอบกอดมันเป็นส่วนหนึ่งของเรา
“ผมอยากเรียนรู้มากขึ้นและมากขึ้นอีก ในการที่จะมองเห็นสิ่งสวยงามในสารัตถะ เพื่อที่ตัวผมเองจะได้เป็นผู้สร้างความงดงามขึ้นบาง ผมไม่อยากขัดแย้งกับความอัปลักษณ์ ไม่ต้องการแก้ตัว และไม่ต้องการกล่าวหาคนที่แก้ตัว การเมินเฉยเป็นทางเดียวที่เหลือเอง และในที่ปลายททาง ผมหวังว่าจะกลายเป็นคนที่พร้อมรับทุกสิ่งสิ่ง” นิตซ์เช่เขียนไว้ใน The Gay Science
ถ้าใครอยากพัฒนาแนวคิด Amor Fati มาปรับใช้กับตัวเอง วันนี้เรามีเทคนิคมาแนะนำ 4 ข้อ
เทคนิคแรก ฝึกเปลี่ยนวิธีคิด เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเจอปัญหา ขอให้ลองจดลงในโทรศัพท์หรือสมุดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคืออะไร และพยายามหาข้อดีอย่างน้อยสามข้อจากเหตุการณ์ที่เราพบ และแทนที่จะตัดสิน เทคนิคนี้จะฝึกให้เรามองความท้าทายเป็นโอกาส และมองทุกปัญหาในฐานะชิ้นส่วนของชีวิตเรา
หรือบางทีเราอาจลองปรับมุมมอง ถอยมามองในฐานะบุคคลที่ 3 บ้าง เพราะงานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร Frontiers in Psychology บอกว่า การฝึกมองในฐานะบุคคลที่ 3 ช่วยลดอารมณ์ด้านลบที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราได้
เทคนิคสอง เดิน ลองหาเวลาว่างๆ ให้ตัวเองเดินเล่นดูสักหน่อย แล้วระหว่างนั้นให้ลองนึกสิ่งที่เรารู้สึกขอบคุณในวันนั้น ไม่ว่ามันจะเป็นเหตุการณ์ที่ดีต่อตัวเราหรือเราทำดีต่อคนอื่นก็ตามที
เทคนิคสาม หมั่นเช็กอินความรู้สึก ให้เวลาตัวเองสักนิดในวันนึง เพื่อหยุดและมอบเข้าไปในความรู้สึกของตัว ถ้ามันเป็นความรู้สึกที่แย่ให้ลองยอมรับ และถามตัวเองว่าทำไม่ถึงเกิดอารมณ์เช่นนั้น
เทคนิคสี่ สมุดบันทึกโชคชะตา ลองหาบันทึกสักเล่มเพื่ออุทิศให้กับแนวคิดนี้ เมื่อไหร่ก็ตามที่ชีวิตไม่เป็นไปตามแผน ให้ลองจดวิธีที่เราใช้รับมือกับปัญหานั้นลงไป แล้วเมื่อผ่านไปสักระยะนึง ลองกลับมาอ่านดู คุณอาจจะเปลี่ยนไปมากกว่าที่คุณคิดก็ได้ .
เพราะชีวิตคือความเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอน และปัญหาคือสภาวะปกติของชีวิตเราทุกคน การฝึกตัวเองให้รับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ให้ดีขึ้น เช่น แนวคิดแบบ Amor Fati อาจเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เราอยู่ในโลกที่วุ่นวายใบนี้ได้ดีขึ้น