ไฟจราจร ถูกติดตั้งเป็นครั้งแรกของโลกในวันที่ 9 ธ.ค. 1868 จากฝีมือการประดิษฐ์ของ "จอห์น พีค ไนท์" วิศวกร/ผู้อำนวยการสถารถไฟชาวอังกฤษ ประวัติความเป็นมาของไฟจราจรเป็นอย่างไร และตลอด 155 ปี มีไฟจราจรรูปแบบไหนบ้าง ติดตามได้ที่บทความนี้
ปัจจุบันนี้ เราทราบกันดีว่าไฟจราจรสำคัญแค่ไหนบนท้องถนน ถือเป็นกฎเหล็กที่ทุกคนต้องยึดถืออย่างเคร่งคัด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามนุษย์บางคน ขับขี่รถกันประหนึ่งว่าโลกนี้ไม่เคยมีไฟจราจรอยู่ จนบางครั้งนำไปสู่อุบัติเหตุ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ-เสียชีวิต
แต่เคยสงสัยไหมว่า ไฟจราจรครั้งแรกเกิดขึ้นด้วยไอเดียแบบไหน และใครเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้น?
ย้อนกลับไปในปี ท้องถนนของกรุงลอนดอนเต็มไปด้วยความอลหม่าน หันซ้ายเจอวัว หันขวาเจอรถม้า วิ่งสวนกันไปมาอย่างไรกฎระเบียบ การระแวกระวังภัยอันตรายจึงถือเป็น Hard Skill สำหรับมนุษย์ยุคนั้นเป็นอย่างมาก
มีบันทึกระบุไว้ว่า 2 ปีก่อนโลกจะมีสิ่งประดิษฐ์อย่างไฟจราจร มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนราว 1,102 ราย และได้รับบาดเจ็บอีกราว 1,334 ราย จนกระทั่งในปี 1868 วิศวกร/ผู้อำนวยการสถานีรถไฟนามว่า “จอห์น พีค ไนท์” ผุดไอเดียสร้างไฟจราจรขึ้น
เนื่องในวันที่ 9 ธ.ค. 2023 ซึ่งเป็นเป็นวันครบรอบ 155 ปี การจัดตั้งไฟจราจรขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกที่กรุงลอนดอน SPRiNG ชวนย้อนดูบริบทในยุคนั้น (วิคตอเรียน) ความเป็นมาของ จอห์น พีค ไนท์ ทำไมเขาถึงสร้างไฟจราจรขึ้น พร้อมทั้งพาสำรวจวิวัฒนาการของไฟจราจรตลอด 155 ปี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ติดตามได้ที่บทความนี้
จอห์น พีค ไนท์ เกิดวันที่ 13 ธันวาคม 1828 ที่เมือง Nottingham เมืองเล็ก ๆ ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของเกาะอังกฤษ หรือให้เข้าใจง่าย ๆ คือ เขามีชีวิตอยู่ในยุควิคตอเรียนพอดิบพอดี
จุดเริ่มต้นของอาชีพของไนท์เกิดขึ้นในปี 1839 ณ ตอนนั้นสถานีรถไฟสายหลักของเมือง Derby (Derby Railway Station) เปิดให้บริการเป็นครั้งแรก ไนท์ที่ตอนนั้นอายุราว 11 – 12 ปี ก็ได้ลาออกจากโรงเรียนเพื่อเข้าไปทำงานในห้องพัสดุของสถานีไฟ Derby
ด้วยความที่เป็นคนมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงาน ไนท์ถูกเลื่อนตำแหน่งขึ้นอย่างรวดเร็ว จากนั้นเมื่ออายุครบ 20 ปี ไนท์ย้ายไปทำงานให้กับบริษัทให้บริการรถไฟทางตะวันเฉียงใต้ของอังกฤษ (The South Eastern Railway หรือ SER) จนในที่สุดไนท์ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการ
ระหว่างนั้น ไนท์ก็ดูแลรับผิดชอบและบริหารกิจการรถไฟจนอายุได้ 40 ปี ไนท์ได้รับการตั้งแต่ให้เป็นผู้จัดการฝ่ายจราจรของเส้นทางไบรท์ตัน ช่วงนี้เอง ที่เริ่มบอกใบ้ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้
มีบันทึกที่ระบุว่า นิสัยส่วนตัวของไนท์เป็นคนที่ดูแลเอาใจใส่และเป็นห่วงสวัสดิภาพของผู้โดยสารเป็นอย่างมาก ในช่วงกลางดึก ซึ่งไร้แสงไฟ มีเพียงแสงจันทร์ ไนท์ได้กำชับพนักงานให้จัดหาแสงไฟที่พอจะหาได้อาทิ ตะเกียง หรืออะไรก็ตามที่พอจะให้แสงสว่างกับผู้โดยสารได้ นอกจากความปลอดภัยบนรางแล้ว ไนท์ยังให้ความสนใจความปลอดภัยบนท้องถนนด้วย จึงเกิดสิ่งประดิษฐ์ที่เปลี่ยนโลกไปตลอดกาล
ก่อนจะพูดถึงไฟจราจร ขอปูพื้นการจราจรบนท้องถนนในยุคนั้นกันเสียก่อนเพื่อผู้อ่านจะได้นึกภาพตามได้ ในปี 1866 มีการจดบันทึกไว้ว่า ถนนในลอนดอนพลุกพล่านไปด้วยผู้คนและรถม้า อลหม่านกันอยู่บนถนนที่ไร้ระเบียบ วุ่นวายและอันตรายจนถึงขั้นที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,102 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกประมาณ 1,334 ราย เหตุเพราะถูกรถม้าชน
ไนท์ผู้ซึ่งเล็งเห็นปัญหาในส่วนนี้ จึงได้เสนอสร้างระบบสัญญาณไฟบนท้องถนน เพื่อใช้ควบคุมการเดินทางของคน จักรยาน หรือรถม้า เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนลง ไฟจราจรจากมันสมองของไนท์ เป็นต้นแบบไอเดียให้กับไฟจราจรในยุคปัจจุบัน
ไฟจราจรดังกล่าวจะถูกควบคุมโดยตำรวจจราจรเพียงหนึ่งนาย มีความสูง 22 ฟุต และมีแขนสองข้างเพื่อยื่นขึ้นลงเพื่อบอกสัญญาณให้กับคนบนท้องถนนได้รู้ว่า ตอนนี้คือหยุดตอนนี้คือไปได้ คำถามคือ แบบไหนคือไปได้แบบคือต้องหยุด
หากดูจากภาพจะเห็นว่า เมื่อแขนทั้งสองข้างตั้งในแนวระนาบพื้นดิน สัญลักษณ์นี้หมายถึงให้หยุดรถ และเมื่อแขนถูกเอาลงก็แปลว่าไปได้ และในตอนกลางคืน ไนท์ก็กลับไปนำไอเดียสมัยยังเป็นผู้อำนวยการสถานีมาปรับใช้ คือให้เติมไฟเข้าไปด้วย เพื่อให้ง่ายต่อการมองเห็น ไฟจราจรโดยไนท์มีแค่ 2 สีเท่านั้นคือ สีเขียวและสีแดง สีเขียวคือไปได้ สีแดงคือหยุด
จนเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 1868 หรือวันนี้เมื่อ 155 ปีที่แล้ว ไฟจราจรก็ถูกติดตั้งเป็นครั้งแรกในลอนดอน ใกล้กับพระราชวังเวสต์มินเตอร์ อันเป็นที่ประชุมของรัฐสภาอังกฤษนั่นเอง
โดยเป้าหมายของการติดตั้งครั้งนี้คือ ไนท์ต้องการจัดระเบียบการจราจรบนท้องถนนของบริเวณดังกล่าว เพื่อลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยจนเกินไป เพราะต่างคนต่างไป มั่วซั่วกันอยู่บนถนน
ทว่า ใช้ไปได้ไม่กี่สัปดาห์จำต้องพับโครงการนี้ไป เพราะไฟจราจรของไนท์ใช้แก๊สในให้กำเนิดแสงไฟ จนเกิดเหตุการณ์แก๊สระเบิด จนทำให้ตำรวจจราจรได้รับบาดเจ็บ เป็นอันต้องพับโปรเจกต์ไป แต่เมื่อผ่านเวลาไป ไฟจราจรของไนท์ก็ได้รับเครดิตว่าเป็นไฟจราจรแรกของโลก
แม้ในปัจจุบันเราจะคุ้นเคยหรือติดภาพว่า ไฟจราจรคือมีไว้เพื่อควบคุมการจราจรบนท้องถนน ซึ่งก็คือ บรรดารถทั้งหลายแหล่ที่เราเห็นกันในทุกวันนี้ แต่ในปี 1866 ที่ไนท์ประดิษฐ์ไฟจราจรขึ้น โลกยังไม่เกิดสิ่งประดิษฐ์อย่างรถขึ้น
รถคันแรกที่ผู้คนให้การยอมรับกันว่าเป็นรถคันแรกของโลกคือ Benz Patent Motor Car รถสามล้อที่ผลิตโดย Carl Benz ในปี 1886 ซึ่งก็คือ อีก 12 ปีถัดมาหลังจากที่ไนท์ผลิตไฟจราจรนั่นเอง
ไหน ๆ ก็ได้โอกาสเขียนถึงไฟจราจรแล้ว Spring ขอพานั่ง Time Machine ย้อนกาลไปดูวิวัฒนาการของไฟจราจรกันสักเล็กน้อย ว่าตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เราพัฒนากันมาไกลแค่ไหน
ปี 1912 เกิด "ไฟจราจรแบบไฟฟ้า" เป็นครั้งแรกจากฝีมือการประดิษฐ์ของ Lester Wire
ปี 1923 "ไฟจราจรแบบ 3 สี" ขึ้นเป็นครั้งแรกจากฝีมือการประดิษฐ์ของ William Potts โดยสีที่เพิ่มมาคือ สีเหลือง
ปี 1923 เกิดสัญญาณจราจรแบบใหม่ "Stop and Go" ฝีมือการประดิษฐ์ของ Garrett Morgan
ปี 1950s ไฟจราจรได้รับความนิยมไปทั่วโลก และได้รับการพัฒนาให้ทันสมัยขึ้น ทั้งดีไซน์และฟังก์ชั่นการใช้งาน มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยกำหนดเวลา-ให้สัญญาณตามสีต่าง ๆ แต่อาจจะใช้ได้แค่การคาดคะเนด้วยสายตาคร่าว ๆ เท่านั้น
นักวิชาการตัดไฟจราจรไว้ที่ทศวรรษ 1950s เท่านั้น เพราะหลังจากนี้เทคโนโลยีไม่ได้แปลกและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ หมายความว่า ไฟจราจรถูกปฏิวัติต่อกันมา นับเฉพาะครั้งที่สำคัญ มีทั้งหมดราว ๆ 5 ครั้งเท่านั้น
เกร็ดเล็กน้อย: ในปี 2545 ในรัฐบาลของสมัคร สุนทรเวช มีการนำไฟจราจรแบบนับเวลาถอยหลังเข้ามาใช้เป็นครั้งแรก ควบคุมเวลาการปล่อยสัญญาณด้วยระบบคอมพิวเตอร์
ที่มา: LYT
เนื้อหาที่น่าสนใจ