SHORT CUT
บทบาท "กงยู" Squid Game ซีซี่น 2 ทำหน้าที่เป็นเซลล์แมนให้เกมมรณะ ชายผู้นี้เกลียดพวกคนไร้ค่าในสังคม มองว่าชีวิตเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับเกม !
หลังจากความสำเร็จอย่างถล่มทลายในซีซั่นแรก Squid Game กลับมาสู่จออีกครั้งในซีซั่น 2 พร้อมกับความคาดหวังมหาศาลจากผู้ชมทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ผลงานนี้กลับได้รับเสียงตอบรับที่หลากหลาย บ้างก็ชื่นชมถึงความกล้าหาญในการขยายเนื้อหาและสำรวจมิติใหม่ของเกม แต่ก็มีไม่น้อยที่รู้สึกว่าซีซั่นนี้ขาดเสน่ห์ดั้งเดิม ทั้งความดิบเถื่อนและความลึกซึ้งของตัวละครที่เคยเป็นหัวใจสำคัญดูเหมือนจะถูกลดทอนลง
ท่ามกลางกระแสวิจารณ์ทั้งในแง่บวกและลบ สิ่งหนึ่งที่ผู้ชมแทบทุกคนเห็นตรงกันคือ "กงยู"(Gong Yoo) ยังคงเป็นหนึ่งในจุดเด่นที่น่าจดจำที่สุด การกลับมาของเขาในบทบาทที่เล็กน้อยแต่ทรงพลัง สามารถปลุกความน่าสนใจในทุกฉากที่เขาปรากฏตัว
เสน่ห์อันน่าหลงใหลและความเยือกเย็นของกงยูยังคงสะกดผู้ชมไว้ได้เหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นแววตา ท่าทาง หรือแม้แต่การพูดจาที่น้อยแต่มาก เขากลายเป็นตัวแทนของความลึกลับ อำนาจ และความบ้างคลั่ง ที่ช่วยให้ Squid Game ซีซั่น 2 ยังคงถูกจำไปอีกนาน
กงยู ไม่ใช่ตัวละครหลัก หรือผู้ที่ต้องเข้าร่วมเล่นเกมเกมลุ้นตาย ใน Squid Game ซีซั่น 1 และ 2 เขาปรากฏตัวแค่ช่วงแรก ๆ เพื่อทำหน้าที่เหมือนเซลล์แมนที่ดึงคนเข้าไปเล่นเกมบนเกาะมรณะให้ได้ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของเขา คือเหล่าผู้คนที่ตกต่ำ สิ้นไร้หนทางที่พบได้ทั่วไปในสังคมเกาหลีใต้
หนึ่งในแง่มุมที่น่าขนลุกที่สุดของอดีตของ "เซลส์แมนกงยู" ใน Squid Game คือเขาเคยต้องฆ่าพ่อของตัวเองระหว่างเกมหนึ่ง หมายความว่าเขามีหน้าที่ต้องฆ่าผู้เล่นที่แพ้ในเกม ซึ่งเขาพบว่าเป็นพ่อที่น่าสมเพชของตัวเอง จุดนี้ทำให้เราทราบว่าก่อนเขามาเป็นเซลล์แมน ตัวละครนี้เคยเป็นเจ้าหน้าที่สวมหน้ากากใส่ชุดสีชมพูมาก่อน
อย่างไรก็ตาม เขาก็ไม่ได้ลังเลที่จะฆ่าพ่อของเขา หลังจากที่ยิงพ่อที่ศีรษะและไม่ได้รู้สึกผิดแต่อย่างใด เขาก็ได้ตระหนักว่าตนเองเกิดมาเพื่อทำงานนี้ เขาเกลียดพวกขี้แพ้ และพวกที่ล้มเหลวในชีวิต มองว่าคนที่ทุกข์ยากและสิ้นหวังเป็นเหมือน "ขยะ" ที่สมควรถูกกำจัดและไม่มีค่าคู่ควรต่อการมีชีวิตอยู่ ด้วยความคิดสุดโต่งนี้เองจึงทำให้ จากเจ้าหน้าที่สวมชุดสีชมพู ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเซลส์แมนที่คอยชวนคนจากโลกภายนอกมาเล่นเกม
ซีนที่ กงยู เสนอให้คนไร้บ้านต้องเลือก "ขนมปัง" หรือ "ลอตเตอรี่" แล้วพบว่า คนไร้บ้านส่วนใหญ่มักเลือกลอตเตอรี่ที่มีโอกาสถูกรางวัลเพียงน้อยนิด ก็ยิ่งตอกย้ำความเชื่อของเขาว่า ผู้คนชอบปล่อยชะตากรรมของตัวเองขึ้นอยู่กับโอกาสและการเสี่ยงโชคมากกว่า แทนที่จะเห็นคุณค่าของ ขนมปังที่อยู่ตรงหน้า
นี่คือเหตุผลว่าทำ กงยู ถึงไม่ลังเลที่จะเล่นเกม รัสเซียนรูเล็ต (Russian roulette) กับ ‘กีฮุน’ (รับบทโดย อีจองแจ) เพราะเขามองว่า กีฮุนก็แค่ไอขี้แพ้ที่โชคเข้าข้าง ไม่ได้เป็นผู้วิเศษแต่อย่างใด เขามีโอกาสที่จะยิงกีฮุนด้วยซ้ำในตอนสุดท้าย แต่เขาก็ยังคงเล่นเกมตามกติกาต่อจนตัวเองเสียชีวิต ซึ่งตอกย้ำว่าเขาก็เป็นคนที่ยอมให้เกมอยู่เหนือคุณค่าชีวิตของตัวเองเช่นกัน
ในท้ายที่สุด การเผชิญหน้าระหว่าง เซลส์แมน ที่เย็นชา และ "กีฮุน" ผู้รอดชีวิตจาก Squid Game แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนในวิธีที่ทั้งสองคนมองโลก เซลส์แมนกงยูเป็นตัวแทนของความเยือกเย็น ไร้หัวใจ และความเชื่อในโชคชะตา รวมถึงการกำจัด "ขยะ" ในสังคม ในขณะที่กีฮุนสะท้อนให้เห็นถึงความหวังและความเป็นมนุษย์ เขาอาจไม่ใช่คนสมบูรณ์แบบ และบางครั้งดูเหมือนจะไร้ความสามารถด้วยซ้ำ แต่สิ่งที่ทำให้กีฮุนแตกต่างคือความเชื่อมั่นในคุณค่าของชีวิตและความพยายามยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
.