บุกหลังเวทีแง้ม 5 ไฮไลต์ที่คุณอาจไม่เคยรู้ในคอนเสิร์ต “เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์” ซูเปอร์สตาร์อันดับหนึ่งตลอดกาลของไทย รู้ไว้ก่อนเริ่มเปิดฟลอร์ใน Netflix ตั้งแต่วันนี้
"คอนเสิร์ต เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์” เป็นตำนานของความอลังการที่กล่าวขานมาทุกยุคทุกสมัย ในฐานะสุดยอดความบันเทิงที่ดูได้ทั้งครอบครัว และยังเป็นเสมือนบันทึกประวัติศาสตร์ที่ถ่ายทอดภาพจำแห่งยุคสมัย กระแสฮิตมาแรงในช่วงเวลานั้นๆ หรือแม้แต่การรวมตัวศิลปินระดับซูเปอร์สตาร์ที่หาดูไม่ได้ที่ไหน ล่าสุด Netflix และ GMM Grammy กำลังทยอยยกขบวนทั้ง 32 คอนเสิร์ต ตลอด 36 ปี ของเบิร์ด-ธงไชย มาให้รับชมกันได้แบบครบจบในที่เดียว
ใครที่ตื่นเต้นกับคอลเลกชันละลานตาจนยังเลือกปักหมุดไม่ได้ว่าจะเริ่มจากคอนเสิร์ตไหนก่อนดี วันนี้เรามี 5 แง่มุมไฮไลต์เด็ดๆ ที่คุณอาจยังไม่เคยรู้มาฝากกัน ลองนั่งไทม์แมชชีนย้อนเวลาไปดูกันเลย!
ย้อนกลับไปในยุคก่อน Y2K สมัยที่วิดีโอยังใช้อัตราส่วน 4:3 คอนเสิร์ตของเบิร์ด-ธงไชย นับว่าเป็นความทันสมัยที่รวมเอาเทคโนโลยีล้ำๆ มาไว้ในที่เดียว ในคอนเสิร์ต แบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ #1-5/1986-1991 : Highlight Collection มีทั้งการใช้ Laser Animation สร้างความตื่นตาตื่นใจให้ผู้ชม รวมไปถึงการออกแบบโปรดักชั่นสุดอลังการ เช่นการเนรมิตให้ฝนตกบนเวที การใช้แสง Blacklight ในเพลง “พักตรงนี้ Original” การยกน้ำพุมาไว้บนเวที และการใช้ดาบเลเซอร์ในการแสดง ที่นับว่าสร้างมาตรฐานใหม่ๆ ให้กับคอนเสิร์ตแห่งยุค 80-90
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คอนเสิร์ต เบิร์ด ยังโดดเด่นด้านความสนุกสนานเป็นกันเองกับแฟนๆ โดยเป็นคอนเสิร์ตแรกๆ ในไทยที่ผู้ชมมักจะได้มีส่วนร่วมหรือโต้ตอบกับศิลปินบนเวที ในยุคที่ “แท่งไฟ” ยังไม่ได้แพร่หลายในประเทศไทย อย่างในคอนเสิร์ต “DREAM” เมื่อปี 1996 ก็มีการใช้ “บัตรสะท้อนแสง” ขนาดเล็กให้แฟนๆ ถือไว้แล้วสะบัดให้เกิดแสงระยิบระยับเมื่อมองจากเวที สร้างบรรยากาศที่งดงามเหมือนอย่างการถือแท่งไฟในปัจจุบัน ทว่าคลาสสิกด้วยสไตล์ยุค 90 นอกจากนี้ยังมีการออกแบบเวทีให้ศิลปินได้ใกล้ชิดแฟนๆ มากขึ้น อย่างการใช้เวที 360 องศาเป็นเวที CENTER STAGE ท่ามกลางผู้ชมใน INDOOR STADIUM ครั้งแรกของประเทศไทย ก็เกิดขึ้นในคอนเสิร์ต ธงไชย เซอร์วิส พิเศษ ในปี 1999 นั่นเอง
2. สอดแทรกศิลปะวัฒนธรรมไทยประยุกต์
อีกหนึ่งความไม่ธรรมดาของคอนเสิร์ตเบิร์ด ธงไชย คือการผสมผสานเอาศิลปะวัฒนธรรมไทยและการแสดงพื้นบ้านมาประยุกต์บนเวทีคอนเสิร์ต และการที่พี่เบิร์ดเองมีส่วนร่วมในการแสดงเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการเชิญศิลปินแห่งชาติ ”ลำตัดแม่ประยูร” มาขึ้นเวทีถึง 2 ครั้ง รวมไปถึงโชว์ตีกลองสะบัดชัยและการแหล่ขานชื่อโดยพี่เบิร์ดเอง ทั้งหมดนี้รวมไว้ใน แบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ #1-5/1986-1991 : Highlight Collection
การแสดงละครเวทีของ เบิร์ด ธงไชย นับว่าเป็นหนึ่งในไฮไลต์ที่ประสบความสำเร็จ ได้เสียงตอบรับอย่างล้นหลาม และเป็นภาพจำของคอนเสิร์ตเบิร์ด-ธงไชยในหลายๆ ครั้ง จุดเริ่มต้นมาจากคอนเสิร์ตกึ่ง Musical ครั้งแรกที่ชื่อว่า เบิร์ด เปิ๊ด-สะ-ก๊าด ซึ่งจัดขึ้นเมื่อปี 35 ปีที่แล้ว พร้อมโชว์บทเพลงลูกกรุงหวานชื่นที่เป็นอมตะ โดยใช้ฉากหลังเป็นยุค พ.ศ. 2501 ซึ่งหลายคนอาจยังไม่เคยรู้ว่าเป็นกิมมิกการใช้ปีเกิดของเบิร์ด-ธงไชยนั่นเอง และแฟนๆ ในยุคหลังต้องเซอร์ไพรส์เมื่อได้เห็นว่า “ป๋าเต็ด-ยุทธนา บุญอ้อม” เคยปรากฏตัวบนเวทีคอนเสิร์ตครั้งนี้ในฐานะแขกรับเชิญอีกด้วย
และหลังจากนั้นไม่นาน เบิร์ด-ธงไชย ก็ได้เปิดการแสดง Musical เต็มรูปแบบครั้งแรกในคอนเสิร์ต แบบเบิร์ดเบิร์ด #7/2000 อโรคา จอมยา กับยาใจ หนึ่งในโชว์ที่สร้างปรากฏการณ์เป็น Talk of the town โดยแบ่งการแสดงออกเป็น 2 VERSIONS แบบ DOUBLE CAST สลับกันแสดงโดย 2 นางเอก คือ นิโคล เทรีโอ และ นัท มีเรีย สองศิลปินหญิงที่โดดเด่นทั้งด้านการร้องและการแสดงแห่งยุค ซึ่งชุดสุดอลังการทั้งหมดที่ใช้ในการแสดงล้วนเป็นวัสดุ RECYCLE “ทำมือ” ทั้งสิ้น
ต่อให้ไม่ได้เป็นแฟนคลับก็ทราบดีว่าคอนเสิร์ตของ เบิร์ด-ธงไชย ต้องมีจังหวะแดนซ์กระจายให้ไฟลุก พร้อมท่าเต้นที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นที่จดจำในทุกๆ การแสดง เช่น เพลง “อาบน้ำ” ที่พี่เบิร์ดจัดเต็มโชว์เต้นบนน้ำในคอนเสิร์ต Thongchai เปิดสไมล์คลับ หรือเพลง “แฟนจ๋า” ที่มีท่าเต้นสุดไอคอนิกให้แฟนๆ เต้นตามกันได้ทั้งฮอลล์ในคอนเสิร์ต ฟ.แฟน และ ฟ.แฟน Fun Fair
ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่าคอนเสิร์ตของเบิร์ด-ธงไชย คือภาพจำแห่งยุคสมัย ใครเด่นใครดังในยุคนั้นย่อมไม่พลาดเป็นส่วนหนึ่งในฐานะแขกรับเชิญให้กับคอนเสิร์ตของศิลปินระดับตำนานผู้นี้ และหนึ่งในคอนเสิร์ตที่ยังได้รับการกล่าวขานมาจนปัจจุบัน