svasdssvasds

หรือแท้จริงแล้ว ‘แฟน’ ของเรา คือ ‘เพื่อนสนิท’ ในอีกรูปแบบหนึ่ง ?

หรือแท้จริงแล้ว ‘แฟน’ ของเรา คือ ‘เพื่อนสนิท’ ในอีกรูปแบบหนึ่ง ?

ควรคบแฟนให้เหมือนเพื่อนสนิทดีไหม หรือไม่ควรเอามาซ้อนทับกัน แฟนไม่ควรเหมือนเพื่อน เพื่อนไม่ควรเหมือนแฟน นักจิตวิทยาความรักว่าอย่างไร ?

SHORT CUT

  • มีไลฟ์โค้ชและคำคมมากมายในโลกโซเชียล ที่บอกให้ ‘คบแฟนเหมือนคบเพื่อนสนิท’ พร้อมยกข้อดีมากมาย เช่น ไม่ต้องฝืนพูดจาหวานๆ ตลอดเวลา พูดคำหยาบได้ ได้เป็นตัวของตัวเองเต็มที่
  • คู่รักยังจำเป็นต้องมี "จุดเชื่อมโยง" บางอย่างเพื่อยึดความสัมพันธ์ไว้ด้วยกัน เช่น ความมุ่งมั่น ความฝันร่วมกัน เรื่องเพศ และการวางแผนทางการเงิน ซึ่งเป็นสิ่งที่เพื่อนอาจทำได้น้อยกว่า 
  • จะคบแฟนแบบแฟน หรือจะคบแฟนให้เหมือนเพื่อน การมีคนที่ไม่ทิ้งเราไปไหนก็ถือเป็นเรื่องดีของชีวิตทั้งสิ้น

ควรคบแฟนให้เหมือนเพื่อนสนิทดีไหม หรือไม่ควรเอามาซ้อนทับกัน แฟนไม่ควรเหมือนเพื่อน เพื่อนไม่ควรเหมือนแฟน นักจิตวิทยาความรักว่าอย่างไร ?

ความสัมพันธ์ชีวิตคู่ที่ดีควรมีพื้นฐานจากมิตรภาพหรือเปล่า? หลายคนเชื่อว่าแฟนที่ดีที่สุดคือคนที่สามารถเป็นเพื่อนได้ด้วย เพราะเมื่อความหลงใหลจางลง สิ่งที่เหลืออยู่คือความเข้าใจและมิตรภาพที่มั่นคง

ทุกวันนี้มีไลฟ์โค้ชและคำคมมากมายในโลกโซเชียล ที่บอกให้ ‘คบแฟนเหมือนคบเพื่อนสนิท’ พร้อมยกข้อดีมากมาย เช่น ไม่ต้องฝืนพูดจาหวานๆ ตลอดเวลา พูดคำหยาบได้ ได้เป็นตัวของตัวเองเต็มที่ อยากทำอะไรก็ทำเต็มที่ ไม่ต้องเกรงใจกันมาก 

ทว่าบางคนกลับมองว่าความรักและมิตรภาพควรถูกแยกออกจากกัน เพราะความคาดหวังในบทบาทของ “แฟน” และ “เพื่อน” นั้นควรที่แตกต่างกันตั้งแต่แรก

หรือแท้จริงแล้ว ‘แฟน’ ของเรา คือ ‘เพื่อนสนิท’ ในอีกรูปแบบหนึ่ง ?

คู่รักต้องมีจุดร่วมกันตลอดขีวิต 

ประเด็นนี้ ‘อเล็กซานดรา โซโลมอน (Alexandra Solomon)’ นักจิตวิทยาชื่อดังจากสหรัฐอเมริกา เจ้าของรายการรพอดแคสต์ Reimagining Love ที่พูดคุยเบื้องลึกเรื่องความรัก ได้เผยแพร่มุมมองนี้ในรายการของเธอว่า ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะเราต้องการใครสักคนที่มองเห็นและเข้าใจเราซึ่งเป็นสิ่งเดียวกับที่เราต้องการในมิตรภาพ 

ยิ่งไปกว่านั้น คู่รักยังจำเป็นต้องมี "จุดเชื่อมโยง" บางอย่างเพื่อยึดความสัมพันธ์ไว้ด้วยกัน เช่น ความมุ่งมั่น ความฝันร่วมกัน เรื่องเพศ และการวางแผนทางการเงิน ซึ่งเป็นสิ่งที่ความสัมพันธ์แบบเพื่อนอาจทำร่วมกันไม่ได้

ยิ่งคาดหวัง ยิ่งผิดหวัง 

อีกมุมที่น่าคิดมาจาก ‘เอลี เจ. ฟิงเกิล (Eli J. Finkel)' ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยามหาวิทยาลัย Northwestern University ผู้เขียนหนังสือขายดี ‘The All-Or-Nothing Marriage’ เคยกล่าวว่า ในช่วงแรกการแต่งงานถูกขับเคลื่อนด้วยความรัก แต่หลังจากนั้นคือช่วงเวลาแห่งการแสดงออกทางตัวตน ทำให้การแต่งงานไม่ใช่เรื่องของความรักเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการเติบโตภายในด้วย

เป็นเรื่องปกติที่หลายคนหวังให้ความสัมพันธ์แบบคู่รักเติมเต็มทุกส่วนในชีวิต แต่ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาเตือนว่า ทุกคนตระหนักว่าทุกความคาดหวังที่เพิ่มเข้ามา ทำให้คู่รักใกล้ชิดกันมากขึ้น แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงที่ความสัมพันธ์จะรับภาระไม่ไหวและพังลงได้เช่นกัน

หรือแท้จริงแล้ว ‘แฟน’ ของเรา คือ ‘เพื่อนสนิท’ ในอีกรูปแบบหนึ่ง ?

เขาแนะนำว่า ให้ลองลดความคาดหวังบางอย่างดู บางอย่างคุณอาจร้องขอจากเพื่อน บางอย่างคุณอาจร้องขอจากคนรัก เพื่อให้ทุกความสัมพันธ์เป็นไปอย่างที่มันควรจะเป็น 

สุดท้ายแล้ว ขึ้นอยู่กับ "คุณต้องการอะไรจากความสัมพันธ์?" และ "คู่ของคุณต้องการแบบเดียวกันหรือไม่?" การพูดคุยเปิดใจกันถึงความคาดหวังจะช่วยให้ความสัมพันธ์ดำเนินไปอย่างราบรื่น

จะคบแฟนแบบแฟน หรือจะคบแฟนให้เหมือนเพื่อน การมีคนที่ไม่ทิ้งเราไปไหนก็ถือเป็นเรื่องดีของชีวิตทั้งสิ้น

ที่มา : nytimes

related