ปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ความวิตกกังวลของเด็กในเจนเนเรชันที่ต้องเกิดมารับรู้และได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและอ้อม ผู้ปกครองจะช่วยบรรเลาและหาวิธีผ่อนความหวาดกลัวนี้ของลูกอย่างไร ให้อยู่สู้กับวิกฤติด้วยความตระหนักแต่ไม่ตระหนก
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสิ่งที่เด็กเกือบทุกคนในโลกเป็นผู้ได้รับผลกระทบแทบจะตั้งแต่วินาทีที่พวกเขาเกิด การนั่งจับเข่าพูดคุยกับลูกๆ ในเรื่องนี้อาจเป็นเรื่องลำบากใจสักหน่อย แต่อยู่ในสัญชาตญาณของคนเป็นพ่อแม่ที่ต้องปกป้องอันตรายทั้งร่างกายและจิตใจของพวกเขา
ในโลกยุคดิจิทัลเช่นนี้เมื่อถึงวัยข่าวสารจะหลั่งไหลและยากจะปิดกั้น ไม่ว่าช้าหรือเร็วลูกๆ ของคุณก็ต้องรับรู้ถึงปัญหาและวิกฤตินี้ ไม่ว่าจากโรงเรียน ออนไลน์ หรือเพื่อนๆ ของพวกเขา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
5 ไอเดีย นวัตกรรมคนเมือง สู้วิกฤตการแปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เทศกาลหนังที่ปลุกให้คนหันสนใจปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เป็นวิกฤตของมนุษย์
นักวิทย์เผย โลกหมุนเร็วขึ้น เวลาในอนาคตอาจเปลี่ยนไป เพราะโลกร้อน?
แน่ล่ะว่า เด็กๆ ของคุณอาจมีความรู้สึกท่วมท้น ทั้ง กังวล หวาดกลัว เศร้า หรือแม้แต่กระทั่งอารมณ์โกรธกับความจริงที่ปรากฏ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติต่อความไม่แน่นอน เมื่อต้องเจอกับความจริงที่ว่าโลกที่พวกเขาเกิดมากำลังสั่นคลอนและตกอยู่ภาวะเสื่อมถอยลงทุกวินาที
คนเป็นพ่อแม่เองอาจไม่สามารถการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้จบสิ้นได้ด้วยตัวเอง เพราะเป็นปัญหาระดับนานาชาติที่ต้องร่วมรับผิดชอบและหาหนทางชะลอความเสียหายได้ช้าที่สุด
เว็บไซต์ unicef.org ได้ให้คำแนะนำแก่พ่อแม่เพื่อเปิดบทสนทนาการคุยถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนี้อย่างตรงไปตรงมาและจริงจัง เพื่อตระหนักแต่ไม่ตระหนกถึงแม้ความน่ากลัวที่กำลังเกิดขึ้นกับโลกจะเกินการควบคุม ด้วย 6 วิธีเบื้องต้น ดังนี้
1.การทำการบ้าน
ไม่มีใครรู้ทุกอย่าง บางคำถามแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิทยาศาสตร์เองก็ยังหาคำตอบ ทั้งยังมีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากมายที่ให้เลือกฟังและตัดสินใจ จึงไม่เป็นไรเลย ถ้าลูกจะถามในสิ่งที่คุณไม่รู้ ถือโอกาสช่วยกันค้นหาคำตอบและเรียนรู้ร่วมกัน
2.การรับฟัง
เปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นและแบ่งปันในสิ่งที่พวกเขารู้มา ถือเป็นการเปิดบทสนทนา ที่ช่วยแบ่งเบาความรู้สึกหวาดกลัวและความหวังที่พวกเขามีต่อโลก การรับฟังโดยตั้งใจและไม่ตัดสินหรือพยายามปลอบให้เลิกกังวลใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อให้ลูกของคุณรู้ว่ามีที่ที่สามารถพูดคุยเรื่องต่างๆ ที่ค้างคาใจได้ทุกเรื่องกับพ่อแม่
3.ใช้วิทยาศาสตร์ที่เข้าใจง่าย
นั่นก็คือการเชื่อมโยงความรู้ ข้อมูล ให้เข้ากับชีวิตประจำวัน เพื่ออธิบายและสำรวจข้อเท็จจริงพื้นฐาน เช่น การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล จากถ่านหินและน้ำมัน ในรถยนต์ เครื่องบิน และบ้านที่อยู่อาศัย กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ของมนุษย์ได้ปล่อยกัาซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ที่ห่อหุ้มโลกไว้เหมือนฟองสบู่ จึงทำให้อากาศร้อนขึ้นเรื่อยๆ นั่นก็คือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ส่งผลกระทบ ที่ทำให้เราทุกคนต้องประสบอยู เช่น น้ำท่วม ฝนตกหนักขึ้น เป็นต้น นักวิทยาศาสตร์รอบโลกก็กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อหาทางแก้ไข และมีสิ่งที่ทุกคนช่วยกันเริ่มต้นทำได้ด้วยตัวเองเช่นกัน
แหล่งรูปภาพ แผนที่ และวิดีโอที่ช่วยให้เห็นผลกระทบของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ชัดขึ้นคือ
https://climatevisuals.org/collections/ ที่รวบรวมคลังภาพในปัญหาและการแก้ไขจากทั่วโลก
4.ออกไปข้างนอก
คุณและลูกจูงมือกันออกไปสัมผัสธรรมชาติให้บ่อยที่สุด เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กๆ วางจอมือถือออกไปเล่นนอกบ้านกันมากขึ้น สร้างความเพลิดเพลินและเป็นการเคารพต่อธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์
การออกเดินในแต่ละครั้งอย่าลืมสำรวจสองข้างทาง ชี้ชวนกันให้ดูต้นไม้ หยุดฟังเสียง ในธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตต่างๆ ระหว่างทาง ชื่มชมความสวยงาม ตระตุ้นการอยากรู้อยากเห็น คอยเฝ้ามองเมล็ดพันธุ์ให้บรรจงเพาะให้เติบโต
5.เน้นทางแก้ปัญหา
ปัญหาที่คุณเลือกคุยกับลูกควรชี้ให้เห็นทางออก หรือ วิธีการแก้ไข ร่วมกันถกกันในเชิงบวกและสร้างแรงบันดาลใจ ถ้าข่าวที่เกี่ยวข้องหรือคนใกล้ตัวในชุมชนที่มีส่วนในการผลักดันเพื่อช่วยลดปัญหาเหล่านี้
ทั้งนี้ยังควรร่วมกันสร้างมาตราการในครอบครัวที่จะช่วยกันลดการใช้พลังงานอย่างเป็นรูปธรรมกันในครอบครัว เช่น การแยกขยะในบ้าน ช่วยกันประหยัดน้ำ ปิดไฟเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งานปลูกต้นไม้ หรือ ใช้จักรยานสัญจรในบริเวณรอบๆ ที่อยู่อาศัยแทนการใช้รถยนต์เพื่อเป็นการทำให้เห็นสิ่งรอบตัวเล็กๆ น้อยๆ ที่สามารถเริ่มต้นได้ด้วยตัวเอง
6.เสริมแรงของการกระทำ
นักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่ทั่วโลก พยายามสร้างความเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหวเดินขบวนเพื่อบีบให้ผู้มีอำนาจและกดดันบริษัทที่มีส่วนในการสร้างปัญหาร่วมแสดงความรับผิดชอบ การที่คุณแนะนำให้ลูกๆ รู้จักกับพวกเขาจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ และให้เห็นว่ามีเพื่อนร่วมปัญหาที่กล้าส่งเสียงแสดงจุดยืนของตัวเอง
การรับฟังจะช่วยให้ลูกๆ ของคุณรู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลงและช่วยเสริมแรงให้เกิดพลังในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มต้นด้วยตัวเองได้ แต่สิ่งที่ต้องพึงระวังไว้สักนิดคืออย่าทำให้เด็กต้องรู้สึกโดนบังคับให้รับรู้เรื่องนี้โดยที่ยังไม่พร้อมหรือยังไม่สนใจ นั่นอาจกลายเป็นการสร้างความวิตกกังวล หวาดกลัว และกดดันโดยไม่ตั้งใจ การสร้างความมีส่วนร่วมและพูดคุยกันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหากับโลกในอนาคตที่พวกเขาต้องประสบ
ที่มา