ถ้าธุรกิจอยากเติบโต โมเดลของ BCG จึงตอบโจทย์ แต่จะช่วยธุรกิจได้มากน้อยแค่ไหน ทั่วโลกยอมรับหรือไม่ มาฟังประสบการณ์ตรงของนักธุรกิจตัวจริงที่ประสบความสำเร็จจากโมเดลนี้กัน
เมื่อวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา สปริงนิวส์ได้ร่วมกับ สวทช. และสื่อในเครือเนชั่น จัดเสวนา VIRTUAL FORUM: BCG Economy Drive for Thailand Sustainability เศรษฐกิจ BCG ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความยั่งยืน
นโยบายจะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจและประเทศได้อย่างไร? โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เลขานุการคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว BCG Model และ คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model , ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มาร่วมด้วยในช่วงแรก
BCG คืออะไร?
BCG Model เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ( Bioeconomy) ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน
และในช่วงสุดท้าย ได้เชิญเหล่าผู้ดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ที่กำลังทำธุรกิจในรูปแบบของ BCG มาอธิบายเป้าหมายและความสำเร็จให้ฟังว่า BCG ดีอย่างไร ทั่วโลกตอบรับกับโมเดล BCG หรือไม่ มาฟังคำตอบจากประสบการณ์ของผู้บริหารแต่ละท่านกัน
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ยุทธศาสตร์ BCG โมเดล ตรวจสอบ carbon footprint มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
APEC BCG Economy Thailand 2022: Tech to Biz อีเวนต์โชว์ของ ต่อยอดนวัตกรรมแห่งปี
ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบและก่อตั้ง บริษัท นิว อาไรวา จำกัด
คุณธีรชัย เป็นเจ้าของสินค้าผลิตภัณฑ์ของใช้ที่ผลิตจากพลาสติกนำมารีไซเคิล ภายใต้ชื่อแบรนด์ว่า Qualy ที่มีการออกแบบรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ให้น่ารักและน่าใช้มากยิ่งขึ้น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การดำเนินธุรกิจของ Qualy แน่นอนว่า เราได้นำกระบวนการของการเพิ่มมูลค่าของสิ่งของมาใช้ ธุรกิจของคุณธีรชัยนั้น สอดคล้องกับ Circular Economy ที่นำสิ่งของหรือขยะที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว โดยเฉพาะจากพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Used) พอทำผลิตภัณฑ์ออกมาแล้ว ก็ต้องไปดูอีกว่ากระบวนการขนส่งเป็นยังไง ลูกค้าเอาไปใช้งานสร้างผลกระทบออะไรไหม ใช้งานได้นานไหม แล้วทิ้งยังไง เอามาเป็นทรัพยากรให้เราใช้อีกรอบได้ไหม ถ้าทำแบบนี้ได้เราก็จะยั่งยืนในโลกธุรกิจได้
ภาวิณี แว่วเสียงสังข์ กรรมการบริหาร บริษัท ไบโอฟอร์ม (ประเทศไทย) จำกัด
คุณภาวินี ทำธุรกิจเกี่ยวกับการออกแบบภาชนะที่ทำจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้เร็วกว่าพลาสติกทั่วไป ซึ่งผลิตภัณฑ์ของคุณภาวินีได้รับการรองรับจากนานาชาติแล้ว ในด้านของการตอบรับการใช้งานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยด้วย
พลาสติกของคุณภาวินีสามารถย่อยสลายได้ เพราะเลือกวัสดุเอง นอกจากสินค้าจะเป็นมิตรต่อโลกแล้ว คุณภาวินีก็ส่งต่อการเรียนรู้เรื่องนวัตกรรมต่าง ๆ ไปยังเยาวชนด้วย และวัสดุภาชนะของคุณภาวินีจะตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาเรื่องการใช้งานพลาสติกในระยะเวลาสั้นได้
จิรชัย ตั้งกิจงามวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด
ธุรกิจของคุณจิรชัย เป็นโรงงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ และเป็นรุ่นที่ 2 แล้ว ทำต่อจากคุณพ่อ ตามโมเดล BCG ไม้ที่ทางโรงงานนำมาใช้จะเป็นไม้สัก จึงเกิดความเสียดาย เพราะเวลาทำเฟอร์นิเจอร์ ตัดไม้ มันจะเหลือเศษไม้อยู่ จึงนำเศษไม้เหล่านั้นมาหล่อหลอมเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหม่และเพิ่มการดีไซด์ที่น่าสนใจเข้าไป ดังนั้นเพื่อให้เกิดคุณค่า คุณต้องรู้ก่อนว่า ของที่เหลืออยู่คุณจะเอาไปทำอะไรให้บ้าง เพื่อเกิดประโยชน์การใช้งานสูงสุด
กรรจิต นาถไตรภพ Founder & CEO บริษัท วาสุ45 จำกัด
ธูรกิจของคุณกรรจิตจะเป็นรูปแบบของแผ่นตกแต่งผนังจากฟางข้าวและกากกาแฟ ซึ่งได้ต่อยอดมาจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การนำของเหลือจากคนอื่น มาเพิ่มมูลค่าก็สามารถทำได้ หรือถ้าซื้อไปแล้ว และมีการรื้อก็สามารถส่งเศษเดิมกลับมาได้ หรือจะเอาไปฝังดินก็ได้ มันก็จะกลายเป็นดินภายใน 6-12 เดือน
และที่สำคัญคือสินค้าต้องทนทานใช้งานได้นาน เราก็ต้องคำนึงถึงการใช้งานของลูกค้าด้วย และนอกจากแผ่นตกแต่งนี้จะไว้ใช้ตกแต่งแล้ว ยังสามารถเป็นผนังกั้นความร้อนของผนังอาคารแม้จะก่อสร้างเสร็จแล้ว ก็สามารถติดตั้งทีหลังได้ และสามารถกันเสียงสะท้อนหรือเก็บเสียงได้ประมาณหนึ่งเลย ไม่คิกเลยว่าวัสดุจากธรรมชาติจะสร้างประโยชน์ได้มากขนาดนี้ แถมยังสร้าง Zero Waste หรือไม่มีขยะเหลือจากงานนี้ด้วย
พรทิพย์ อัษฎาธร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพลาเพลิน บูติค รีสอร์ท จำกัด
คุณพรทิพย์ ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมภ์ มีโรงแรม กิจกรรมมากมาย ศูนย์ซื้อขายสินค้าชุมชนและเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเยาวชนด้วย แนวคิดริเริ่มมาจากการจับมือกับสหรัฐฯอยู่ก่อนแต่เดิมของเพลาเพลินอยู่แล้วในด้านของการศึกษา แต่พอมามองไทย เด็กๆต้องนั่งเรียนอยู่ในห้องแคบๆ เลยอยากเปิดพื้นที่ให้เด็ก ๆ ได้ออกมาเรียนรู้นอกห้องบ้าง
ดังนั้น เพลาเพลินก็มาจากคำว่า Play & Ploen ซึ่งสถานที่นี้จะดึงดูดให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งอาชีพให้กับผู้คนในชุมชนมาทำงานร่วมกัน เพราะคนเดียวคงบริหารไม่ไหว ที่นี่มีร้านค้าชุมชน ช่วงเทศกาลจะมีคนมาเที่ยวเยอะมาก เพราะได้รวบรวมของของในแต่ละท้องที่ที่ไกล ๆ มารวมไว้ที่นี่แล้ว ที่นี่จึงเป็นศูนย์ซื้อของฝากและศูนย์อาชีพด้วย
สรุปทั้งหมดแล้ว ธุรกิจของทั้ง 5 คนนั้น คือการสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงธุรกิจที่จะเดินหน้าต่อไปได้นั้นต้องคำนึงถึงความยั่งยืน และคุณค่าของสินของเราว่าทำยังไงให้มันใช้ประโยชน์ได้สูงสุด ไม่สร้างภาระในสังคมและสามารถให้ทุกคนเรียนรู้และทำตามได้แบบโดมิโน และอย่างมองว่ามันเป็นภาระ แต่มันคือความรับผิดชอบของภาคธุรกิจของเราที่ไม่คำนึกถึงแค่เม็ดเงิน แต่ต้องช่วยเหลือสังคมด้วย
หากถามว่าแล้ว BCG สอดคล้องกับทั้งโลกอย่างไร แน่นอนว่าสอดคล้องแบบตรงๆเลย เพราะทั่วโลกกำลังต้องการความยั่งยืน ไม่ว่าจะมาจากสินค้าและบริการ ถ้าธุรกิจไหนมีโมเดลที่พัฒนาให้เกิดความยั่งยืนต่อสินค้าและบริการได้ สินค้านั้นจะได้รับความสนใจจากต่างชาติทันที และภาครัฐก็กำลังสนับสนุนด้านนี้อยู่ แต่จะครบถ้วน สมบูรณ์ มีประสิทธิภาพหรือไม่ก็คงต้องติดตามดูกันต่อไป แต่หากรัฐไม่ทำ เราในฐานะธุรกิจเอกชนก็สามารถทำได้ เพราะนานาชาติให้ความสำคัญ แต่หากภาครัฐยิ่งสนับสนุนธุรกิจเหล่านี้ ธุรกิจก็จะไปได้ไกลมายิ่งขึ้นเท่านั้น