svasdssvasds

BCG เทรนด์ที่โลกให้ความสำคัญ ลดใช้ทรัพยากร สร้างมูลค่า สร้างเศรษฐกิจใหม่

BCG เทรนด์ที่โลกให้ความสำคัญ ลดใช้ทรัพยากร สร้างมูลค่า สร้างเศรษฐกิจใหม่

BCG Economy Drive For Thailand Sustainability เศรษฐกิจ BCG ขับเคลื่อนประเทศไทย สู่ความยั่งยืน ถือว่ามีประเด็นที่น่าสนใจ และถือได้ว่าเป็นสิ่งที่กำลังจะเป็นเทรนด์แห่งอนาคต โมเดลเศรษฐกิจ BCG ทำหน้าที่บูรณาการการพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

งานสัมมนา BCG Economy Drive For Thailand Sustainability เศรษฐกิจ BCG ขับเคลื่อนประเทศไทย สู่ความยั่งยืน ถือว่ามีประเด็นที่น่าสนใจ และถือได้ว่าเป็นสิ่งที่กำลังจะเป็นเทรนด์แห่งอนาคต เพราะ โมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า "BCG"  หรือ Bio-Circular-Green Economy เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว เป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจที่พัฒนาต่อยอดจากจุดแข็งของประเทศไทยคือ ความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นการเชื่อมโยงหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และเป็นการสานพลังของจตุภาคีทั้งภาคประชาชน เอกชน หน่วยงานภาครัฐ และเครือข่ายต่างประเทศ โดยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ทำหน้าที่บูรณาการการพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Creation) จากฐานความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพและวัฒนธรรม

ภายในงานสัมมนา ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผอ.สำนักงานพัฒาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เลขานุการ คณะกรรมการบริหารการพัฒนา BCG Model สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเป้าหมายสำคัญ ของเศรษฐกิจ BCG คือการสร้างมูลค่าเพิ่มจากฐานของความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพ และ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมด้วยการใช้กลไก พหุภาคี เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนา เพิ่มมูลค่า GDP ให้ได้  1 ล้านล้านบาท ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน และลดการใช้ทรัพยากรลง 1 ใน 4 

ขณะที่ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิริวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กล่าวว่าโมเดลเศรษฐกิจ BCG  ความจริงแล้ว เป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ส่วนของไทยได้นำ BCG มาเสริมกันเนื่องจากความหลากหลายด้านเกษตร อาหาร เป็นจุดแข็งของไทยเราส่งออกอาหารเป็นลำดับที่ 12 ของโลก ในปี 2565 และมีเป้าหมายมุ่งสู่เป็น 1 ใน 10 ของผู้ผลิตอาหารมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ปลัดกระทรวงอว. ชี้แนวทางด้วยว่า การดำเนินตามนโยบาย BCG ต้องหา Core หรือแก่นของระบบเศรษฐกิจ BCG ให้ได้และควรให้น้ำหนักทั้ง B C และ G เท่าๆ กันอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจ BCG อย่างแท้จริง 

น.สพ.ยุคล ลิ้มแหลมทอง ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาการเกษตร ตั้งเป้าหมาย ของภาคเกษตรไว้ 3 สูง คือ
- ประสิทธิภาพสูง
-มาตรฐานสูง 
- และ รายได้สูง โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการเข้าไปแก้ไขปัญหา 
เสนอให้ตั้งคณะกรรมการจัดการแบบ Area Base เริ่มต้นจากพื้นที่  นำร่อง 5 จังหวัด ราชบุรี ลำปาง ขอนแก่น จันทบุรี และพัทลุง ให้คณะกรรมการวางแผน

น.สพ.ยุคล ลิ้มแหลมทอง ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาเกษตร
 

ขณะที่ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน  กล่าวว่า BCG ลดการใช้ทรัพยากร ลดปัญหามลพิษ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสร้างมูลค่ากลับมาให้เกิดเศรษฐกิจใหม่ 
โดย มีเป้าหมายชัดเจนเรื่องการลดใช้ทรัพยากรลง 1ใน 4 ส่วน ลดการก๊าซเรือนกระจก 1 ล้านตันและเพิ่มจีดีพี 1% 

"BCG มองตั้งแต่ออกแบบให้รีไซเคิลได้ ระบบให้เช่าได้ไหม จะสร้างแพลตฟอร์มได้ยังไง มีงานวิจัยที่สนับสนุนการรับรองผลิตภัณฑ์ต่างๆ เริ่มตั้งแต่การออกแบบ  "เศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องมาขับเคลื่อน เรามามองเศรษฐกิจเดิมของเราซึ่งคือเส้นตรง เราใช้เสร็จ ก็มีของเสีย เรามีขยะ 28 ล้านตันต่อปี ฝังกลบก็ไม่พอ ที่เผาก็ไม่พอ แต่เราต้องมามองใหม่ เราจะทำให้มันหมุนเวียนในระบบได้อย่างไร  เราต้องดึงทรัพยากรมาน้อย ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน" 

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน



ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาพัฒนาคน /บุคลากร ให้ความเห็นว่า สิ่งที่เราขาด คือ คนที่มีความรู้ใหม่ๆ ต้องการคนที่มีความรู้ในการนำกลับมาใหม่ และ หมุนเวียน

"ผมคิดว่า BCG เป็นเรื่องทุกคนในไทยควรร่วมมือกัน อย่าปล่อยให้เป็นเรื่องของรัฐบาล คณะกรรมการ ฝ่ายวิชาการ หรือมหาวิทยาลัย ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันให้มันไปข้างหน้า เราเดินมาถูกทาง เราต้องพูดเรื่องนี้ให้มันสั้นหน่อย  จริงๆแล้ว คนไทยคลุกคลีเรื่องนี้มาโดยตลอด เพราะถ้าเราพยายามผลักดัน พยายามดูแล พยายามช่วยเหลือซึ่งกันและกัน BCG ไทยจะไปได้ไกล และช่วยให้ประเทศไทยก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว" 

ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาพัฒนาคน /บุคลากร

ขณะที่ กลินท์ สารสิน ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้ความเห็นว่า  ทำยังไงให้การท่องเที่ยวมีคุณภาพ และ ดูแลท้องถิ่นด้วย เป็น Happy model 

." เมื่อก่อนเราเน้นเรื่องปริมาณนักท่องเที่ยว เมื่อก่อนเราเน้นว่าเมืองแต่ละเมืองเป็นเมืองน่าเที่ยว แต่ตอนนี้ mindset ต้องเปลี่ยนแล้ว ต้องเปลี่ยนให้เป็น เมืองน่าอยู่ จากนั้น คนก็อยากอยู่ ผู้ประกอบการก็อยากอยู่ นักท่องเที่ยวก็อยากอยู่  เมื่อก่อนเมืองท่องเที่ยวหารายได้อย่างเดียว แต่ตอนนี้ ยังคิดว่า ทำยังไงให้พวกเขาแฮปปี้"

กลินท์ สารสิน ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาเครื่องมือแพทย์

เทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ

ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขายาและวัคซีน

ศาสตราจารย์ ดร. สนิท อักษรแก้ว ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาความหลากหลายทางชีวภาพ
 

related