ส.อ.ท. เผย อุตสาหกรรมไทย ปี 2566 ท้าทายสูง จาก 7 ปัจจัยเสี่ยงของโลก ต้นทุนแพง-ดอกเบี้ยพุ่ง แนะ 7 ทางออก ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมนำอุตสาหกรรม และอยากให้ เอกชนมุ่งสู่ BCG MODEL และ ต้องเตรีนมการรับมือกับปัญหา Climate change ไว้ด้วย
เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ระบุ ถึงทิศทางภาคอุตสาหกรรมไทย ปี 2566 ในวงเสวนา : 'ฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ 2023 รอดหรือร่วง' งาน Thailand Economic Outlook 2023 ซึ่งจัดโดย กรุงเทพธุรกิจ ว่า อยากให้ภาคเอกชน ปรับตัว รับมือ 6 ด้าน ได้แก่
1. มุ่งสู่ BCG MODEL หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) , เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) , เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)
2. เทคโนโลยีและนวัตกรรมนำอุตสาหกรรม
3. การให้ความสำคัญกับ Supply chain security
4. การใช้พลังงานทดแทนเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรม
5.การพัฒนาทักษะด้านแรงงานที่จำเป็น
6. การรับมือกับปัญหา Climate change
เพราะ 6 ด้านนี้ ถือเป็นการปรับตัวให้เข้ากับโลก และเทรนด์ของโลก ที่ตอนนี้ เศรษฐกิจและระบบต่างๆมุ่งสู่การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นด้านไหนก็ตาม รวมถึงด้านอุตสาหกรรมในประเทศ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ยอมรับว่า เศรษฐกิจไทย กำลังอยู่บนความเสี่ยง จากสถานการณ์โลกที่ไม่แน่นอนและผันผวนสูง หลายปัจจัยภาพใหญ่ มีความคลุมเครือและซับซ้อน ขณะภาคอุตสาหกรรมไทย ยังถูกไล่ล่า จากการเปลี่ยนทางด้านดิจิทัลเทคโนโลยี หรือ ดิจิทัลดิสรัปชั่น อย่างรวดเร็วรุนแรง
เช่นเดียวกับ ภาพกำลังซื้อที่ถดถอย เพราะ ไทยมีปัญหาเชิงโครงสร้างประชากร หลังจากวัยทำงานน้อยลง เด็กแรกเกิดเกิดใหม่ลดลงราว 3 แสนคน แต่กลับมีคนสูงวัยในระบบมากขึ้น นั่นกลายเป็นกับดักสำคัญ ที่อาจทำให้ประเทศไทยไม่สามารถหลุดพ้นจากคำว่า 'ประเทศกำลังพัฒนา' ได้
ทั้งนี้ จากปัจจัยดังกล่าว ส่งผลกระทบมายังแนวโน้มการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สะท้อนภาพการเติบโตต่ำที่ไม่ถึง 3% หลายปีติดต่อกัน
อย่างไรก็ตาม เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า สิ่งที่ท้าทายสูงสุดในขณะนี้ และ ระยะข้างหน้า คือ ภาคอุตสาหกรรม กำลังเผชิญกับ PERFECT STROM อย่างเต็มตัว จากผลพ่วงของสงครามความขัดแย้งรัสเซียลยูเครน ได้แก่
1.เงินเฟ้อไทย เดือน สิงหาคม อยู่ที่ 7.86% สูงสุดในรอบ 14ปี
2. การขาดแคลนวัตถุดิบ เช่น Chip อาหารสัตว์ ปุ๋ย และ สารเคมี
3. ต้นทุนค่าพลังงาน หลังจากค่าไฟฟ้า เพิ่มขึ้น 17% ,ราคาน้ำมันทำสถิติสูงสุดในรอบ 8 ปี ราคาก๊าซหุงต้น LPG ขึ้นเป็น 408 บาทต่อถัง เพิ่มขึ้น 28%
4. ค่าแรงขั้นต่ำปรับขึ้น 5-8%
5. อัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 16 ปี ทะลุ 38-39 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
6. อัตราดอกเบี้ย ปรับขึ้นเป็น 1% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก
7. ต้นทุนค่าขนส่ง เช่น ค่าระวางเรือ เดือน สิงหาคม อยู่ที่ 5,800 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ TEU เพิ่มขึ้น 45%
ทั้งหมด ถือเป็นความท้าทาย และกำลังฉุดรั้งขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสหกรรมไทย เมื่อเทียบกับ ต้นทุนที่ถูกกว่าของประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง เวียดนาม ซึ่งอาจทำให้ ต่างชาติเหลียวมองเวียดนามมากกว่าบ้านเรา
.
เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ประเมินว่า เศรษฐกิจโลกปี 2565 นั้น จะชะลอตัวลง จาก 6.1% เหลือ 3.2% ทั้งนี้ มาจากการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ และ หลายประเทศทั่วโลก จากผลกระทบอัตราเงินเฟ้อที่ยังสูง จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ขณะแนวโน้มเศรษฐกิจไทย อ้างอิงคาดการณ์จากธนาคารโลก ประเมินว่า จีดีพีไทย ปี 2565 อยู่ที่ระดับ 3.1% ซึ่งถูกปรับเพิ่มขึ้นมา จากการบริโภค และ การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีขึ้น
"วันนี้โลกกำลังอยู่บนความไม่แน่นอน และ ผันผวนสูง ขณะภาคอุตสาหรรม เจอ PERFECT STROM ค่าแรง ,เงินเฟ้อ ,อัตราแลกเปลี่ยน ,ขาดแคลนวัตถุดิบ ,อัตราดอกเบี้ย และ ต้นทุนแพง ความสามารถการแข่งขันตกจากอันดับที่ 28 มาอยู่ที่ 33 จะรอดหรือจะร่วง ? อยู่ที่เอกชนกับรัฐจะจับมือกันอย่างไร "