svasdssvasds

กรุงลอนดอนชู 2 นโยบายเข้มงวด ทำแล้วเห็นผล มลพิษในเมืองลดลง 99%

กรุงลอนดอนชู 2 นโยบายเข้มงวด ทำแล้วเห็นผล มลพิษในเมืองลดลง 99%

ลอนดอนแก้ปัญหามลพิษด้วยเขตปล่อยมลพิษต่ำ (ULEZ) และเก็บค่าธรรมเนียมรถยนต์ ส่งผลให้ไนโตรเจนไดออกไซด์ลดลง 27% ภายใน 6 ปี

SHORT CUT

  • ลอนดอนลดมลพิษสำเร็จ ด้วยมาตรการเขตปล่อยมลพิษต่ำ (ULEZ) และเก็บค่าธรรมเนียมรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษสูง ส่งผลให้ปริมาณไนโตรเจนไดออกไซด์ลดลง 27% ภายใน 6 ปี 
  • แผนแก้ฝุ่นของกรุงเทพฯ ปี 2568 ประกอบด้วยมาตรการเขตมลพิษต่ำ (LEZ) ควบคุมรถยนต์เข้าเมือง, ปรับปรุงโรงเรียนปลอดฝุ่น, ส่งเสริม Work from Home, จัดการการเผาในที่โล่ง, ใช้ฝนหลวง
  • เพิ่มพื้นที่สีเขียว ผ่านโครงการปลูกต้นไม้จากเป้า 1 ล้านต้นเป็น 2 ล้านต้น, การพัฒนาสวน 15 นาทีให้ครบ 500 แห่ง, การปรับปรุงทางเท้าและสนับสนุน Bike Sharing เพื่อลดการใช้รถยนต์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการลดมลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน

ลอนดอนแก้ปัญหามลพิษด้วยเขตปล่อยมลพิษต่ำ (ULEZ) และเก็บค่าธรรมเนียมรถยนต์ ส่งผลให้ไนโตรเจนไดออกไซด์ลดลง 27% ภายใน 6 ปี

ในอดีต กรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักรเคยประสบปัญหามลพิษทางอากาศเช่นเดียวกับกรุงเทพมหานคร ในปี 2019 ลอนดอนกลายเป็นเมืองหลวงที่มีคุณภาพอากาศแย่เป็นอันดับที่ 17 ของโลก ขณะที่ กทม. หรือเชียงใหม่ วนเวียนอยู่ใน 5 อันดับแรกเป็นประจำ

 

กรุงลอนดอนลดมลพิษทางอากาศยังไง

ปี 2019 ซาดิก ข่าน นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน ผลักดันให้มีการกำหนดเขตปล่อยมลพิษต่ำ หรือ Ultra Low Emission Zone (ULEZ) โดยกำหนดให้ยานพาหนะที่ไม่ปฏิบัติตามกฎเพื่อควบคุมมลพิษจ่ายเงิน 12.50 ปอนด์หรือประมาณ 520 บาทต่อการเข้าพื้นที่โซนในแต่ละวัน

ซาดิก ข่าน นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน

และในเขตที่มีการจราจรหนาแน่น ใช่ว่าจะเข้าได้ฟรี ๆ เพราะกรุงลอนดอนเสนอว่าให้มีการเรียกเก็บเงินอีก 11.50 ปอนด์ หรือประมาณ 480 บาท รวม ๆ แล้วชาวลอนดอนต้องควักเงินราว 1,000 บาท เพียงเพื่อจะเข้าเมืองในวันจันทร์ถึงศุกร์

เครดิตภาพ AFP

ในช่วงแรก มีกระแสต่อต้าน และคัดค้านอย่างรุนแรง เพราะหลายคนกังวลว่านี่จะทำให้ค่าครองชีพในกรุงลอนดอน (ซึ่งสูงลิ่วอยู่แล้ว) เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ สภาธุรกิจขนาดเล็ก (FSB) เผยว่า บริษัทขนาดเล็กหลายแห่งกังวลมากเกี่ยวกับอนาคตทางธุรกิจ

คำถามคือ มาตรการเด็ดขาดเบอร์นี้ ผลลัพธ์ล่ะ...เวิร์กไหม ? ไปดูกัน

Credit ภาพ AFP

ล่าสุด สำนักงานนายกเทศมนตรีลอนดอน ระบุว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซพิษในลอนดอนลดลง 27% หลังจากมีการกำหนดเขตปล่อยมลพิษต่ำ และขยายพื้นที่ออกไปอีกในปี 2023 สำนักข่าวรอยสเตอร์ เปิดเผยว่า แค่ขยายพื้นที่ออกไปก็ทำให้มีผู้ที่ต้องเสียจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น 5 ล้านคน

ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม ปี 2024 ระบุว่า ผลพวงจากนโยบานลดมลพิษทางอากาศทั้งหมดดังที่กล่าวไปข้างต้น ทำให้ระดับไนโตรเจนไดออกไซด์ลดลง 27% (NO2 หรือ ไนโตรเจนไดออกไซ เกิดจากกระบวนการสันดาปของเครื่องยนต์) ซึ่งนี่คือสารตั้งต้นให้เกิดฝุ่นละออง หมอกควัน และมลพิษที่เข้าสู่ร่างกายมนุษย์

ข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่า หากร่างกายได้รับไนโตรเจนไดออกไซด์สูงเกินไป อาจก่อให้เกิดโรคร้ายแรงได้ ไม่ใช่เฉพาะแค่กับเด็กเล็ก แต่เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย อาทิ โรคหอบหืด ปอดพัฒนาช้า และร้ายแรงที่สุดคือ มะเร็งปอด

“การตัดสินใจขยายเขต ULEZ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่รายงานฉบับนี้แสดงให้เห็นว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องสำหรับสุขภาพของชาวลอนดอนทุกคน” ซาดิก ข่าน นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน กล่าว

 

ส่อง 11 แผนแก้ฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพมหานคร ปี 2568

  • Low Emission Zone (LEZ) หรือ มาตรการเขตมลพิษต่ำ ควบคุมรถเข้าพื้นที่ โดยใช้ พ.ร.บ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ห้ามรถ 6 ล้อขึ้นไปที่ไม่ลงทะเบียนบัญชีสีเขียว (Green List) เข้าพื้นที่วงแหวนรัชดาภิเษก
  • โครงการรถคันนี้ลดฝุ่น
  • ห้องเรียนปลอดฝุ่น โดยโรงเรียนสังกัด กทม. ระดับชั้นอนุบาล 429 แห่ง ปรับปรุงเสร็จแล้ว 744 ห้อง จากห้องเรียนอนุบาลทั้งหมด 1,966 ห้อง และจะปรับปรุงให้เสร็จทั้งหมดภายในปี 2568
  • WORK FROM HOME เพื่อลดการจราจรในท้องถนน และประชาชนจะได้ไม่ต้องออกไปเจอสภาพอากาศที่ไม่ดีข้างนอก
  • รถอัดฟางให้ยืมฟรี กทม. ตั้งงบประมาณซื้อรถอัดฟางสนับสนุนให้เกษตรกรยืมใช้ฟรี ช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกร และสามารถนำฟางไปขายได้
  • สนับสนุนทีมฝนหลวงช่วยลดฝุ่น กทม. ซึ่งหัวใจของฝนหลวงไม่ใช่การทำให้ฝนตกลงมาเพื่อล้างฝุ่น แต่เป็นไปตามแนวคิดการเจาะช่องฝาชีที่ครอบอยู่เพื่อให้ฝุ่นระบายขึ้นไปได้
  • เปิดช่องทางแจ้งเบาะแสฝุ่น โดยใช้ Traffy Fondue ซึ่งมีเมนูแจ้งการเผา แจ้งควันดำโดยเฉพาะ   
  • การพยากรณ์และแจ้งเตือนฝุ่น
  • การตรวจฝุ่นที่ต้นตออย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ 1 ต.ค. 65 – 29 ม.ค. 68 อาทิ โรงงาน 236 แห่ง ตรวจแล้ว 14,638 ครั้ง แพลนท์ปูน 105 แห่ง ตรวจแล้ว 2,451 ครั้ง สั่งปิด 17 แห่ง ตรวจรถโดยสารแล้ว 57,057 คัน ห้ามใช้ 85 คัน ตรวจรถบรรทุก 142,880 คัน ห้ามใช้ 743 คัน
  • การปรับปรุงการจราจร ปรับปรุงทางเท้า เป้าหมายระยะทาง 1,000 กม. และการใช้จักรยาน Bike Sharing เพื่อให้คนลดการใช้รถยนต์ลง
  • 11. เพิ่มพื้นที่สีเขียว โครงการปลูกต้นไม้ล้านต้น ซึ่งตอนนี้ปลูกไปแล้วกว่า 1,286,000 ต้น พร้อมขยายเป้าเป็น 2 ล้านต้น และจัดทำสวน 15 นาที ซึ่งทำไปแล้วกว่า 170 แห่ง จากเป้าหมาย 500 แห่ง

 

ที่มา: Reuters

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related