svasdssvasds

กล้าใช้ไหมล่ะเนี่ย! ฝรั่งเศสวางแผนรีไซเคิล “กัมมันตรังสี” เป็น “ช้อนส้อม”

กล้าใช้ไหมล่ะเนี่ย! ฝรั่งเศสวางแผนรีไซเคิล “กัมมันตรังสี” เป็น “ช้อนส้อม”

คุณหั่นเนื้อสเต็กจานหรูด้วยมีด และจิ้มด้วยซ่อมที่รีไซเคิลมาจากวัสดุกัมมันตรังสี เมื่อรู้ดังนี้ คุณจะกินโดยไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจได้หรือไม่?

SHORT CUT

  • ปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่ Fessenheim โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เก่าแก่ที่สุดของแผ่นดินฝรั่งเศสปิดตัวลง ท่ามกลางเสียงประท้วงของสมาคมโลกที่บอกว่าโลกไม่ต้องการนิวเคลียร์อีกต่อไป
  • ฝรั่งเศสผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์คิดเป็นสัดส่วน 70% แต่เนื่องจากถูกกดดันจากหลายฝ่าย ทางการฝรั่งเศสจึงให้คำมั่นสัญญาว่าจะสั่งยกเลิกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 12 แห่ง (จากทั้งหมด 56 แห่ง ที่ยังเปิดใช้งานอยู่) ให้ได้ภายในปี 2070
  • Laurent Jarry อดีตผู้อำนวยการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fessenheim เปิดเผยว่า “วิธีนี้จะสามารถแปรรูปขยะนิวเคลียร์ได้ 500,000 ตันในช่วงเวลา 40 ปี”

คุณหั่นเนื้อสเต็กจานหรูด้วยมีด และจิ้มด้วยซ่อมที่รีไซเคิลมาจากวัสดุกัมมันตรังสี เมื่อรู้ดังนี้ คุณจะกินโดยไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจได้หรือไม่?

เมื่อตอนจัดงานโอลิมปิก ฝรั่งเศสนำเศษชิ้นส่วนหอไอเฟลมารีไซเคิลเป็นเหรียญรางวัล แต่หนนี้ฝรั่งเศสเตรียมรีไซเคิลขยะกัมมันตรังสี จริง ๆ แล้วนี่เป็นไอเดียของ Électricité de Franc หรือ EDF บริษัทสาธารณูปโภคไฟฟ้าข้ามชาติของฝรั่งเศส

Credit AFP

จะเข้าใจเรื่องนี้ ต้องย้อนกลับไปในปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่ Fessenheim โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เก่าแก่ที่สุดของแผ่นดินฝรั่งเศสปิดตัวลง ท่ามกลางเสียงประท้วงของสมาคมโลกที่บอกว่าโลกไม่ต้องการนิวเคลียร์อีกต่อไป

Credit AFP

แต่อย่างไรก็ดี ฝรั่งเศสผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์คิดเป็นสัดส่วน 70% แต่เนื่องจากถูกกดดันจากหลายฝ่าย ทางการฝรั่งเศสจึงให้คำมั่นสัญญาว่าจะสั่งยกเลิกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 12 แห่ง (จากทั้งหมด 56 แห่ง ที่ยังเปิดใช้งานอยู่) ให้ได้ภายในปี 2070

เมื่อโรงงานปิดตัวลง บรรดาเตาปฏิกรณ์ โลหะ หรือวัสดุอื่น ๆ ก็ต้องกลายเป็นขยะ ซึ่งจุดนี้นี่เองที่ทาง EDF มองว่าสามารถนำไปต่อยอดรีไซเคิลได้ โดยจะคัดเลือกเฉพาะวัสดุที่มีกัมมันตรังสีต่ำเท่านั้น จากนั้นจะนำไปแปรรูปเป็นวัสดุต่าง ๆ โดยสำนักข่าว Euro News เปิดเผยว่า วัสดุจะถูกรีไซเคิลเป็นช้อนส้อม หม้อ หรือกลอนประตู

อย่างไรก็ดี โครงการนี้อยู่ในขั้นตอนรออนุมัติจากรัฐบาล ซึ่งต้องใช้เวลาตรวจสอบความปลอดภัยด้านสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมอีกพอสมควร Laurent Jarry อดีตผู้อำนวยการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fessenheim เปิดเผยว่า “วิธีนี้จะสามารถแปรรูปขยะนิวเคลียร์ได้ 500,000 ตันในช่วงเวลา 40 ปี”

Credit AFP

รวมถึงยังมีภาคประชาชนที่ลุกฮือออกมาต่อต้านกันยกใหญ่ โดยเปิดเผยว่า วัสดุกัมมันตรังสี ไม่ว่าจะมากหรือน้อยเพียงใด ก็ล้วนมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ และร้ายแรงถึงขั้นก่อให้เกิดมะเร็งได้

เนื่องจากเป็นประเทศแห่งประชาธิปไตย โครงการดังกล่าวประชาชนชาวฝรั่งเศสสามารถโหวต เห็นด้วย / ไม่เห็นด้วย ได้ตั้งแต่ตอนนี้จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2025

ทิ้งไว้เป็นเกร็ดความรู้ สวีเดน เยอรมนี รวมถึงสหรัฐฯ เคยทำอะไรทำนองนี้เหมือนกัน โดยทำความสะอาดโลหะที่ปนเปื้อนกันมันตรังสี และนำไปหลอมเป็นโลหะเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่

 

ที่มา: BBC, Euro News

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related