svasdssvasds

“ปตท.” ลุยใช้เทคโนโลยี CCS-ไฮโดรเจน ดันธุรกิจโตยั่งยืน

“ปตท.” ลุยใช้เทคโนโลยี CCS-ไฮโดรเจน ดันธุรกิจโตยั่งยืน

ปตท. เดินหน้าลุยใช้เทคโนโลยี CCS-ไฮโดรเจน ดันธุรกิจโตยั่งยืน ชี้ตลาดอาเซียนโต หนุน ESG ย้ำ การดำเนินธุรกิจต้องสร้างความสมดุล เพื่อการเติบโตระดับโลกอย่างยั่งยืน

SHORT CUT

  • ปตท. เดินหน้าลุยใช้เทคโนโลยี CCS-ไฮโดรเจน ดันธุรกิจโตยั่งยืน
  • พร้อมชี้ตลาดอาเซียนโต  หนุน ESG ย้ำ การดำเนินธุรกิจต้องสร้างความสมดุล เพื่อการเติบโตระดับโลกอย่างยั่งยืน
  • เร่งสร้างความมั่นคงพลังงาน สร้างการเติบโต ควบคู่กับการลดก๊าซเรือนกระจก โดยตั้งเป้าหมาย Net Zero ปี 2050 ผ่าน กลยุทธ์ C3

ปตท. เดินหน้าลุยใช้เทคโนโลยี CCS-ไฮโดรเจน ดันธุรกิจโตยั่งยืน ชี้ตลาดอาเซียนโต หนุน ESG ย้ำ การดำเนินธุรกิจต้องสร้างความสมดุล เพื่อการเติบโตระดับโลกอย่างยั่งยืน

ธุรกิจทั่วโลกกำลังเดินหน้าสู่สีเขียว ภาคธุรกิจไทยก็ต่างเดินหน้าเช่นกัน อย่างเช่น ปตท. เดินหน้าลุยใช้เทคโนโลยี CCS-ไฮโดรเจน เพื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผ่านวิสัยทัศน์ของหัวเรือใหญ่อย่าง นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ล่าสุดได้กล่าวในหัวข้อ ASEAN Energy ransition Towards Sustainability ในงาน “ASEAN Economic Outlook 2025: The Rise of ASEAN, A Renewing Opportunity” จัดโดยกรุงเทพธุรกิจ ว่า การเปลี่ยนผ่านพลังงานให้ไปสู่พลังงานที่สะอาดมากขึ้น จะเชื่อมโยงกับความยั่งยืนอย่างไรให้บาลานซ์สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

ผู้บริหารยังได้ฉายภาพอีกว่าอาเซียนมีจำนวนประชากรมากเกือบ 700 ล้านคน ถือเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ มีวัยทำงานมากขึ้น GDP สูงถึง 6% ของโลก มีการดึงดูดการลงทุนที่ดี ผ่านกรรขับเคลื่อนในหลายเรื่อง โดยเฉพาะในเรื่องของพลังงานที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าโลกต้องไปสู่พลังงานสะอาดที่การเปลี่ยนแปลงต้องราบรื่นด้วย

ปัจจุบันพลังงานหมุนเวียนยังมีข้อจำกัด ทั้ง ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน หรือถ่านหิน โดยถ่านหินและน้ำมันเริ่มมีการใช้ลดลงเพราะมีการปล่อยคาร์บอนสูงกว่าก๊าซธรรมชาติ ดังนั้น ก๊าซฯ จึงยังคงเป็นพลังงานที่สำคัญและยังต้องใช้ต่อเนื่อง อีกทั้ง ในบริบทสำคัญของอาเซียน ก๊าซฯ ถือเป็นแหล่งเชื้อเพลิงที่สำคัญ ทั้งไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเมียนมา พลังงานหมุนเวียนในอนาคตที่จะมีมากขึ้น ทั้ง โซลาร์ ลม และน้ำ จะต้องใช้เวลา

“ปตท.” ลุยใช้เทคโนโลยี CCS-ไฮโดรเจน ดันธุรกิจโตยั่งยืน

 

โดยในเซาท์อิสเอเชียยังต้องพึ่งพาก๊าซฯ ซึ่งในเอเชียแปซิฟิกยังต้องมีการนำเข้าก๊าซฯ โดยประเทศไทยพึ่งพาจากในอ่าวไทย 50% และนำเข้าเฉลี่ยอีก 50%

ขณะเดียวกันได้เผยแผนงงานว่าจากการนำก๊าซฯ มาผลิตไฟฟ้าก็ต้องยอมรับว่ามีการปล่อนยก๊าซเรือนกระจกสูงอยู่ จึงต้องทำเรื่องลดการปลดปล่อยคาร์บอนด้วย โดยกลุ่มปตท. จะดำเนินควบคู่ 2 วิธี คือ การพัฒนาโครงการ CCS และการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในส่วนผสมในกลุ่มอุตสาหกรรมตามแผน PDP ประเทศที่สัดส่วน 5% รวมถึงการปลูกป่า เป็นต้น

"CCS เป็นการเอาก๊าซฯ ในอากาศมาเก็บไว้ใต้ดินหรือใต้ทะเล เพื่อลดโลกร้อน ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ ทั้ง อเมาริกา ยุโรป และเอเชียทำมานานแล้ว ดังนั้น ไทยจะมุ่งไปสู่เป้าหมาย Net Zero ก็ต้องมีการนำเทคโนโลยี CCS มาช่วย"

 

อย่างไรก็ตาม ปตท.ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติมีหน้าที่สำคัญ คือ สร้างความมั่นคงทางพลังงาน และเป็นบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ประเทศจะขับเคลื่อนได้ต้องมีความมั่นคง โดยไทยนำเข้าน้ำมันกว่า 90% และด้วยปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ฯลฯ ปตท. จึงมีวิชั่น "แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน" โดยจะต้องมีกำไรมาช่วยประเทศไทยสร้างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล

เขากล่าวต่อไปว่า จากการเติบโตของ ปตท. ต้องสร้างความมั่นคงพลังงาน สร้างการเติบโต ควบคู่กับการลดก๊าซเรือนกระจก โดยตั้งเป้าหมาย Net Zero ปี 2050 จะใช้ C3 คือ 1. Climate Resilience Business โดยปรับ Portfolio ลดการปล่อยคาร์บอน 2. Carbon-Conscious Asset เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ใช้พลังงานสะอาด อาทิ Hydrogen และ 3. Coalition, Co-Creation, and Collective Efforts for All โดยประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพิ่มการดูดซับคาร์บอนโดยการปลูกป่า เป็นต้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related