svasdssvasds

รู้จัก! เทคโนโลยี CCS คืออะไร? มีประโยชน์ 'ดักจับ-เก็บคาร์บอน' ยังไง

รู้จัก! เทคโนโลยี CCS คืออะไร? มีประโยชน์ 'ดักจับ-เก็บคาร์บอน' ยังไง

พามาทำความรู้จัก! เทคโนโลยี CCS คืออะไร? มีประโยชน์ 'ดักจับ-เก็บคาร์บอน' รูปแบบกระบวนการทำงานเป็นอย่างไรบ้าง?

ไทยยังคงเปิดแผนเดินหน้าผลักดันประเทศสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี ค.ศ. 2065 ด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นความท้าทายนี้ มีผลทำให้เกิดความร่วมมือกันในหลายภาคส่วน ซึ่งหากไม่เร่งเริ่มเดินหน้าก็อาจถูกกีดกันทางการค้าจากต่างประเทศในอนาคต กลุ่ม ปตท. คือ อีกหนึ่งฟันเฟือง เพื่อนำไทยไปสู่เป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ให้ได้

หนึ่งในโครงการที่น่าสนใจ นั่นก็คือ โครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Carbon Capture and Storage (CCS) คือหนึ่งในแผนการดำเนินงานสำคัญของ กลุ่ม ปตท.เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) สู่การเป็นองค์กรคาร์บอนต่ำตามเป้าหมายของบริษัทในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

 สำหรับใครที่สงสัยว่าโครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Carbon Capture and Storage (CCS) คืออะไร แล้วมีประโยชน์อย่างไรบ้าง วันนี้จะพาไปดู โดย CCS เป็นกระบวนการในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากแหล่งกำเนิดในภาคอุตสาหกรรม และนำมากักเก็บไว้ในชั้นหินใต้ดินอย่างถาวร โดยไม่ปล่อยกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ มีการบริหารจัดการ การติดตาม และตรวจสอบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกกักเก็บอย่างเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยในทุกขั้นตอน

รู้จัก! เทคโนโลยี CCS คืออะไร? มีประโยชน์ \'ดักจับ-เก็บคาร์บอน\' ยังไง

ทั้งนี้เทคโนโลยี CCS มีศักยภาพในการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีนัยสำคัญ หลายประเทศจึงวางแผนให้เป็นเทคโนโลยีหลักในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้ในปริมาณมากกว่าเทคโนโลยีรูปแบบอื่น โดยเทคโนโลยี CCS จะมีกระบวนการทำงานดังนี้

• CO2 Capture: กระบวนการดักจับก๊าซ CO2 จากแหล่งอุตสาหกรรม หรือโรงไฟฟ้า

• Transportation: CO2 ที่ถูกดักจับได้ จะถูกปรับความดันให้เหมาะสม เพื่อขนส่งไปแหล่งกักเก็บ

• Storage: CO2 จะถูกกักเก็บบนฝั่ง (Onshore) หรือนอกชายฝั่ง (Offshore) ในชั้นหินทางธรณีวิทยาไว้อย่างปลอดภัย ถาวร ไม่เกิดการปล่อยออกสู่บรรยากาศอีก

 แน่นอนว่าการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CCS เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ได้รับการยืนยันจากหลายประเทศแล้วว่า มีประสิทธิภาพสูง โดยประเทศต่างๆทั่วโลกได้นำไปใช้ และต่างยอมรับว่าเป็นหนึ่งในทางออกสำคัญที่จะ ช่วยให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) และสามารถนำไปใช้ บริหารจัดการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมากได้อีกทั้งยัง เหมาะสมกับอุตสาหกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ยาก

ปัจจุบันมีโครงการ CCS ที่ดำเนินการอยู่ 41 แห่งทั่วโลก โดยเฉพาะในอเมริกา วันนี้จะพามาดูโครงการสำคัญๆของโลก มีดังนี้

• Northern Lights (Longship) Project ประเทศนอร์เวย์

o โครงการ CC5 ขนาดใหญ่ครบวงจร และมีโมเดลธุรกิจแบบ Cross-Border ในสหภาพยุโรปแห่งแรกของโลก

o โรงงานอุตสาหกรรมต้นแบบ 2 แห่งแรก ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐมากกว่า 60% ในการติดตั้งหน่วยดักจับ CO2 และได้ประโยชน์จากการลด CO2 และ ETS (EU Emissions Trading System) รวมทั้งไม่เสียค่าบริการ (Service fee)ในการขนส่งและกับเก็บ CO2

o ใช้เงินลงกุนสูงถึง EUR 2.3 bn โดยโครงการสามารถเกิดขึ้นได้จากการสนับสนุนงงบ 80% จากรัฐบาล และมีรูปแบบธุรกิจแบบ Cross-Border ที่ชัดเจน

สำหรับในประเทศไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาและพัฒนาโครงการ CCS โดยที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565 ได้เห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการดักจับ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอนของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับประชาคมโลก โดยนำเทคโนโลยีด้านการดักจับ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน มาประยุกต์ใช้ในภาคพลังงาน และภาคอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย

 หากใครที่สงสัยว่า แล้วประโยชน์ของโครงการ CCS   มีอะไรบ้าง? คำตอบคือ

• ลดการปล่อย CO2 ถึง 60 ล้านต้น/ปี  โดยโครงการ Eastern CCS Hub ของกลุ่ม ปตท. สามารถลดสูงถึง 10 ล้านตัน/ปี

• ช่วย GDP ให้สูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้แค่ภาษีคาร์บอน

• ลดผลกระทบ CBAM มากกว่า 600 ล้านบาท/ปี ลดความเสี่ยงจากมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน ในการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป

• ส่งเสริมการลงทุนคาร์บอนต่ำ เช่น ไฮโดรเจนสีฟ้า , น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชิวภาพ

• โครงการ CCS สร้างงานเพิ่มขึ้นกว่า 10,000 ตำแหน่ง

related