svasdssvasds

อ.ธรณ์ ชี้ รักษ์โลกในชีวิตประจำวันไม่พอ เศรษฐกิจต้องปรับตัวสู่ Low Carbon

อ.ธรณ์ ชี้ รักษ์โลกในชีวิตประจำวันไม่พอ เศรษฐกิจต้องปรับตัวสู่ Low Carbon

“30-40 ปี ต่อจากนี้ ต้องทำตัวให้เบาที่สุด อยู่ใกล้กู้ภัยให้มากที่สุด เพราะทุกอย่างจะแรงขึ้น เพราะโลกไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว” นี่คือคำกล่าวจาก อ.ธรณ์ บนเวทีเสวนาในงาน SX : Sustainability Expo 2024

SHORT CUT

  • ที่งาน SX : Sustainability Expo 2024 ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีการจัดเสวนา “เราจะอยู่ให้รอดภาวะโลกร้อนได้อย่างไร” โดย ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ ร่วมกับ กรุณา บัวคำศรี สื่อมวลชนอิสระ
  • โดย อ.ธรณ์ ชี้ถึง 4 ประเด็นสำคัญด้วยกัน ได้แก่ 1. สภาพอากาศเลวร้าย 2. ทำตัวให้เบา เลือกสภาพแวดล้อมให้ดี 3. มุ่งสู่ธุรกิจสีเขียว 4. ควรลงทุนเรื่องการจัดการภัยพิบัติ
  • “มนุษย์เราปรับตัวเก่ง ท่ามกลางสภาพอากาศที่เลวร้ายเราปรับตัวอยู่รอดได้แน่นอน แต่อยู่สบายหรือเปล่านั่นคืออีกเรื่อง” อ.ธรณ์ ตั้งคำถามปลายเปิดชวนให้คิด

“30-40 ปี ต่อจากนี้ ต้องทำตัวให้เบาที่สุด อยู่ใกล้กู้ภัยให้มากที่สุด เพราะทุกอย่างจะแรงขึ้น เพราะโลกไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว” นี่คือคำกล่าวจาก อ.ธรณ์ บนเวทีเสวนาในงาน SX : Sustainability Expo 2024

ที่งาน SX : Sustainability Expo 2024 มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีการจัดเสวนา “เราจะอยู่ให้รอดภาวะโลกร้อนได้อย่างไร”โดย ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ ร่วมกับ กรุณา บัวคำศรี สื่อมวลชนอิสระ

บทความชิ้นนี้ SPRiNG ชวนอ่านแนวคิดเรื่องการปรับตัวให้อยู่รอดในยุคโลกร้อน พร้อมดูว่ามีอะไรบ้างที่เราทำได้ และประเทศไทยควรไปต่ออย่างไร

  1. สภาพอากาศเลวร้าย

อ.ธรณ์ ชวนฉุกคิดว่าในปี 2024 สภาพอากาศโลกแปรปรวนไปมากแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นซอมบี้เฮอริเคนที่เกิดขึ้นในเม็กซิโก หรือใกล้ตัวเข้ามาหน่อยคือ Rain Bomb หรือ ระเบิดฝน ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ฝนกระหน่ำตกในช่วงเวลาสั้น ๆ จนก่อให้เกิดน้ำท่วมขัง

อ.ธรณ์ ชี้ รักษ์โลกในชีวิตประจำวันไม่พอ เศรษฐกิจต้องปรับตัวสู่ Low Carbon

นอกจากนี้ อ.ธรณ์ ได้หยิบยกรายงานความเสี่ยงของโลก ประจำปี 2024 (Global Risk 2024) ซึ่งระบุว่าในอีก 10 ปี ข้างหน้า โลกต้องเชิญกับภัยอันตรายในด้านใดบ้าง โดย 4 อันดับแรกคือ สภาพอากาศสุดขั้ว, การเปลี่ยนแปลงของโลกครั้งสำคัญ, สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และทรัพยากรธรรมชาติไม่เพียงพอ

อ.ธรณ์ ชี้ รักษ์โลกในชีวิตประจำวันไม่พอ เศรษฐกิจต้องปรับตัวสู่ Low Carbon

2. ทำตัวให้เบา เลือกที่อยู่อาศัย-สิ่งแวดล้อมให้ดี

เมื่อสภาพอากาศรุนแรงขึ้น สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือการถูกบีบบังคับให้ย้ายถิ่นฐาน ซึ่งธนาคารโลกคาดการณ์ว่าจะมีผู้คนกว่า 216 ล้านคนทั่วโลกต้องอพยพย้ายถิ่นฐานออกจากประเทศตัวเองภายในปี 2593 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนชายขอบของสังคม

“ทุกคนรักบ้านเกิด แต่เมื่อบ้านเกิดไม่มีข้าวกิน สภาพอากาศเลวร้ายเขาจะอยู่กันเหรอ เพื่อนบ้านเขาก็ย้ายมาทำงานในไทยกันเยอะแยะ ถ้าไม่หนีมีแต่จะโดนหนักขึ้นเรื่อย ๆ บางคนอาจจะยอมได้เพราะชินแล้ว บางคนอาจจะปรับตัวไม่ได้”

อ.ธรณ์ ชี้ รักษ์โลกในชีวิตประจำวันไม่พอ เศรษฐกิจต้องปรับตัวสู่ Low Carbon

อีกประเด็นคือการเลือกที่อยู่อาศัย ในวงเล็บว่าสำหรับคนที่กำลังมองหาที่อยู่ในอนาคต ควรมองหาทำเลที่ปลอดภัยจากน้ำท่วม และหากต้องการตัดความเสี่ยงมิควรผ่อนซื้อบ้านระยะยาวหลายสิบปี เพราะในยุคโลกร้อน ไม่มีอะไรการันตีได้ว่าบ้านเราจะถูกน้ำท่วมเล่นงานเมื่อไหร่

“มนุษย์เราปรับตัวเก่ง ท่ามกลางสภาพอากาศที่เลวร้ายเราปรับตัวอยู่รอดได้แน่นอน แต่อยู่สบายหรือเปล่านั่นคืออีกเรื่อง” อ.ธรณ์ ตั้งคำถามปลายเปิดชวนให้คิด

  1. มุ่งสู่ธุรกิจสีเขียว

“อย่าลืมว่าสิ่งที่ทำให้โลกร้อนคือเศรษฐกิจ การจะแก้ไขไม่ใช่แค่เปิดแอร์ 26 องศา แต่มันต้องทำเศรษฐกิจแบบคาร์บอนต่ำ ใครไปก่อนได้เปรียบ และหากไทยไม่ทำเราเจ๊งแน่นอน เพราะสากลโลกเขาบังคับให้ทำ”

นี่คือประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ อ.ธรณ์ ทิ้งไว้ซึ่งน่าสนใจ และท้าทายพอสมควร ในยุคโลกร้อนหากธุรกิจไม่ยอมปรับตัวให้กรีนจะถูกคว่ำบาทบนเวทีโลก กล่าวคือบริษัทใดยังปล่อยมลพิษอยู่ และไม่ปรับตัวให้เข้ากับแนวคิด ESG บริษัทนั้นตกขบวนแน่นอน

โดย อ.ธรณ์​หยิบยกกรณีของ Microsoft ที่ซื้อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Three Mile Island เพื่อใช้เป็นซัพพลายผลิตไฟฟ้าให้กับบริษัท ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 835 เมกกะวัตต์

“จงห่วงตัวเอง จงห่วงธุรกิจ ไม่ต้องช่วยโลก ไม่ต้องสงสารโลก คุณแค่ต้องทำธุรกิจสีเขียว สักวันคุณก็จะพบเจอโอกาส คุณได้เม็ดเงิน แต่สิ่งสำคัญคือคุณได้ช่วยโลกไปในตัว”

สำหรับนโยบายภาครัฐกับการปรับตัวให้กรีน อ.ธรณ์ มองว่า ประเทศไทยเป็นการเมืองระยะสั้น แต่โครงการแก้ไขโลกร้อนต้องอาศัยการทำต่อเนื่อง โดยสิ่งที่ทำได้มีอยู่ 3 ข้อด้วยกันคือ 1. ลดก๊าซเรือนกระจก 2. รับมือกับภัยพิบัติ 3. ปรับเศรษฐกิจให้กรีนเพื่อดึงดูดนักลงทุน

  1. ควรลงทุนเรื่องการจัดการภัยพิบัติ

หัวข้อนี้สอดรับกับสถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบัน นั่นคือพัฒนาเครื่องมือ หรือแนวทางการจัดการภัยพิบัติ ขณะที่หอการค้าไทยฯ ก็ว่าไว้ตรงกัน เพราะว่าภัยพิบัติจะเกิดบ่อยขึ้น และรุนแรงยิ่งขึ้น แต่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นคือเราไม่มีการแจ้งเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพมากพอ

อ.ธรณ์ ชี้ รักษ์โลกในชีวิตประจำวันไม่พอ เศรษฐกิจต้องปรับตัวสู่ Low Carbon

“กู้ภัยของเมืองไทยเราดีที่สุดในโลก แต่บางครั้งเราก็อยากให้เขาเตือนมากกว่ากู้”

โดย อ.ธรณ์ ชี้ว่าระบบราชการของไทยมีความซับซ้อน มีหลายหน่วยงานเกินไป จนทำให้ส่วนใหญ่ภาคประชาชนต้องช่วยเหลือกันเอง ซึ่งหากจะมองว่าเป็นเรื่องดีก็ย่อมดี แต่รัฐไทยควรให้ความสำคัญกับเรื่องการจัดการภัยพิบัติมากกว่านี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related