svasdssvasds

เมื่อโลกร้อนจนน้ำแข็งละลาย อิตาลี-สวิตฯ ต้องแบ่งพรมแดนประเทศกันใหม่

เมื่อโลกร้อนจนน้ำแข็งละลาย อิตาลี-สวิตฯ ต้องแบ่งพรมแดนประเทศกันใหม่

อ่านผ่าน ๆ อาจนึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่เรื่องราวนี้น่าสนใจ ขณะเดียวกันก็น่ากังวลอยู่ไม่น้อย เรื่องราวมีอยู่ว่าเร็ว ๆ นี้ ประเทศอิตาลีกับสวิตเซอร์แลนด์ ได้ตกลงขีดเส้นพรมแดนกันใหม่ เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้ธารน้ำแข็งละลาย

SHORT CUT

  • ประเทศอิตาลีกับสวิตเซอร์แลนด์ ได้ตกลงขีดเส้นพรมแดนกันใหม่ เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้ธารน้ำแข็งละลาย
  • เขตแดนบนเทือกเขาแอลป์ที่ถูกแบ่งใหม่ สวิตเซอร์แลนด์ได้พื้นที่เยอะกว่าเดิม หมายความว่าอิตาลีสูญเสียพื้นที่เพิ่มขึ้น 
  • รายงานจากสถาบันวิทยาศาสตร์สวิตเซอร์แลนด์ ระบุว่า เทือกเขาแอลป์ (ส่วนที่อยู่ฝั่งสวิตเซอร์แลนด์) สูญเสียน้ำแข็งไป 4% ในปี 2023

อ่านผ่าน ๆ อาจนึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่เรื่องราวนี้น่าสนใจ ขณะเดียวกันก็น่ากังวลอยู่ไม่น้อย เรื่องราวมีอยู่ว่าเร็ว ๆ นี้ ประเทศอิตาลีกับสวิตเซอร์แลนด์ ได้ตกลงขีดเส้นพรมแดนกันใหม่ เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้ธารน้ำแข็งละลาย

พรมแดนดังกล่าวทอดผ่านบริเวณเทือกเขาแอลป์ (Alps) ซึ่งเป็นพื้นที่ใต้ยอดเขาแมทเทอร์ฮอร์น ซึ่งครอบคลุมระหว่างเมืองเซอร์แมทต์ของสวิตเซอร์แลนด์ และหุบเขาอาออสตาของอิตาลี

เขตแดนบนเทือกเขาแอลป์ที่ถูกแบ่งใหม่ สวิตเซอร์แลนด์ได้พื้นที่เยอะกว่าเดิม หมายความว่าอิตาลีสูญเสียพื้นที่เพิ่มขึ้น อาจเป็นเพราะเหตุผลนี้หรือไม่ ที่ทำให้อิตาลียังไม่ลงนามการแบ่งพรมแดนใหม่ในยุคโลกเดือด

อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ แบ่งพรมแดนประเทศใหม่ Credit AFP

*หมายเหตุ เทือกเขาแอลป์ (Alps) คือเทือกเขาที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ทอดยอดผ่านหลายประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย อิตาลี ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และเยอรมนี เป็นต้น

ความพยายามจับจองพื้นที่บนเทือกเขาแอลป์ระหว่างสองประเทศนี้มีมายาวนาน จนกระทั่งเมื่อปี 2023 คณะกรรมาธิการร่วมอิตาลี-สวิตเซอร์แลนด์ เห็นชอบร่วมกันที่จะยุติความคลุมเครือนี้ และแบ่งกันให้ชัดเจน ซึ่งมีรายงานว่าสวิตเซอร์แลนด์ลงนามแล้ว แต่ฝั่งของอิตาลียังไม่ได้ลงนาม  

อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ แบ่งพรมแดนประเทศใหม่ Credit AFP

ภาวะโลกเดือดคือต้นเหตุ ก็อาจใช่ แต่หากจะพูดให้ถูกคือกิจกรรมของมนุษย์อันก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก คือต้นเหตุที่แท้จริง รายงานจากสถาบันวิทยาศาสตร์สวิตเซอร์แลนด์ ระบุว่า เทือกเขาแอลป์ (ส่วนที่อยู่ฝั่งสวิตเซอร์แลนด์) สูญเสียน้ำแข็งไป 4% ในปี 2023

ทั้งนี้ การสูญเสียน้ำแข็งครั้งใหญ่ที่สุดคือ 6% ในปี 2022 จนผู้เชี่ยวชาญออกมาเปิดเผยว่า เลิกวัดปริมาณธารน้ำแข็งไปนานแล้ว เพราะไม่เหลือธารน้ำแข็งให้วัดอีกต่อไป ซึ่งเป็นความจริงที่น่าเศร้า

ขยะบนเทือกเขาแอลป์ Credit AFP

เมื่อปี 2023 พบซากศพนักปีนเขาชาวเยอรมนี ซึ่งคาดการณ์ว่ากำลังปีนเขาแมทเทอร์ฮอร์นเมื่อประมาณ 40 ปีก่อน นั่นเป็นเพราะว่าร่างของเขาถูกฝังอยู่ภายใต้ธารน้ำแข็งยักษ์ แต่เพิ่งโผล่ออกมาให้เห็นเพราะธารน้ำแข็งละลายจากอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น

 

ที่มา: The Guardian

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related