svasdssvasds

เมื่อ “ธุรกิจขนส่ง” ปล่อยคาร์บอนสูง ไปรษณีย์ไทย จึงต้องมุ่ง Green Logistics

เมื่อ “ธุรกิจขนส่ง” ปล่อยคาร์บอนสูง ไปรษณีย์ไทย จึงต้องมุ่ง Green Logistics

ไทยยังคงเดินหน้าสู่ Net Zero ต่อเนื่องเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภาคธุรกิจมีส่วนสำคัญมากที่จะช่วยลดปล่อยคาร์บอน ซึ่งธุรกิจขนส่ง ถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญ ดังนั้นเมื่อ.. “ธุรกิจขนส่ง” ปล่อยคาร์บอนสูงไปรษณีย์ไทย จึงต้องสังคายนาองค์กรสู่ Green Logistics

SHORT CUT

  • การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ คือตัวการที่สำคัญในการทำให้โลกของเราร้อนขึ้นทุกวัน ส่วนหนึ่งมาจากภาคธุรกิจ
  • สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) รายงานว่า การขนส่งทางถนนปล่อย CO2 สูงที่สุด เฉลี่ยถึงร้อยละ 87
  • ในเมื่อ.. “ธุรกิจขนส่ง” ปล่อยคาร์บอนสูงไปรษณีย์ไทย จึงต้องสังคายนาองค์กรสู่ Green Logistics

ไทยยังคงเดินหน้าสู่ Net Zero ต่อเนื่องเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภาคธุรกิจมีส่วนสำคัญมากที่จะช่วยลดปล่อยคาร์บอน ซึ่งธุรกิจขนส่ง ถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญ ดังนั้นเมื่อ.. “ธุรกิจขนส่ง” ปล่อยคาร์บอนสูงไปรษณีย์ไทย จึงต้องสังคายนาองค์กรสู่ Green Logistics

ต้องยอมรับว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ คือตัวการสำคัญในการทำให้โลกของเราร้อนขึ้นทุกวัน ส่วนหนึ่งมาจากภาคธุรกิจที่มีการปล่อยคาร์บอนมากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะธุรกิจขนส่ง โลจิสติกส์ มีข้อมูลที่น่าสนใจจาก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) รายงานว่า การขนส่งทางถนนปล่อย CO2 สูงที่สุด เฉลี่ยถึงร้อยละ 87 ซึ่งสัดส่วนการปล่อยของรถที่ใช้ขนส่งคนและขนส่งสินค้าคิดเป็นร้อยละ 47:43

 

รองลงมาคือ การขนส่งทางอากาศทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศประมาณร้อยละ 12 (ดังรูปที่ 2) จึงทำให้เป้าหมายของแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี 2021-2030 กำหนดความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องลดการปล่อย CO2 อย่างน้อยร้อยละ 40 หรือประมาณ 48 MtCO2e ในปี 2030 โดยมุ่งไปสู่การลดปริมาณการปล่อย CO2

สำหรับการขนส่งทางถนนเป็นหลัก ในขณะที่ขณะที่เป้าหมายที่มุ่งไปสู่ Net Zero ในปี 2065 รัฐยังไม่มีแผนที่เป็นระบบอย่างชัดเจน ซึ่งหากภาครัฐไม่ได้มีการดำเนินการอย่างชัดเจน ปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในปี 2030 จะอยู่ที่ 110 MtCO2e และอาจเพิ่มขึ้นไปถึง 202 MtCO2e ในปี 2050 หรือคิดเป็น 1.5 เท่าจากปริมาณการปล่อยในปัจจุบัน

จากข้อมูลเบื้องต้นเป็นที่ทราบกันดีว่าภาคขนส่งเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงทำให้รัฐตั้งเป้าหมายผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือ รถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี 2030 หรือ 30@30 ทั้งนี้ในด้านของเป้าหมายการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้านั้น ประกอบด้วย รถยนต์นั่งและรถกระบะ 440,000 คัน รถจักรยานยนต์ 650,000 คัน รถบัสและรถบรรทุก 33,000 คัน

รวมถึงการกำหนดเป้าหมายการส่งเสริมสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าสาธารณะแบบ Fast charge จำนวน 12,000 หัวจ่าย และสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่สำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าจำนวน 1,450 สถานี อย่างไรก็ตาม จากสถิติการจดทะเบียนสะสมของรถ EV ในปัจจุบัน พบว่า จำนวนรถยนต์นั่งและรถกระบะสะสม คิดเป็นร้อยละ 13 ของทั้งหมด ในขณะที่รถจักรยานยนต์ รถบรรทุกและรถโดยสารมีเพียงร้อยละ 5 และ 8 เท่านั้น (ดังรูปที่ 4) ซึ่งทำให้การบรรลุเป้าหมายสำหรับรถจักรยานยนต์ รถบรรทุกและรถโดยสารนั้นเป็นไปได้ยาก

ส่วนธุรกิจขนส่ง โลจิสติกส์ ก็ปรับตัวอย่างหนักในการทำองค์กรธุรกิจให้เป็น Green Logistics วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพามาดูไปรษณีย์ไทย อีกหนึ่งแบรนด์ขนส่งไทยที่อยู่คู่กับคนไทยมานานกว่า 141 ปี วันนี้ไปรษณีย์ไทย   ประกาศก้าวสู่การเป็น Information Logistics ลุยใช้ดิจิทัล โซลูชันขนส่งครบวงจร โดยบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เปิดแผนการดำเนินธุรกิจในช่วงครึ่งหลังปี 2567 พร้อมลุยขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน ผ่านการพัฒนาระบบงานต่างๆ ด้วยหลัก ESG+E ตามวิสัยทัศน์ Delivering Sustainable Growth through Postal Network - ส่งมอบการเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านเครือข่ายไปรษณีย์ พร้อมแผนเดินหน้าธุรกิจดิจิทัลที่ต่อยอดมาจากธุรกิจดั้งเดิม สู่การเป็น Information Logistics

เมื่อ “ธุรกิจขนส่ง” ปล่อยคาร์บอนสูง ไปรษณีย์ไทย จึงต้องมุ่ง Green Logistics

โดย ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เปิดเผยว่า ในปีนี้ ไปรษณีย์ไทย ครบรอบ 141 ปี พร้อมมุ่งสู่แผนงานสร้างการเติบโตด้านความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม ได้ปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์สู่การเป็นองค์กรที่พร้อมส่งมอบการเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านเครือข่ายไปรษณีย์ - Delivering Sustainable Growth through Postal Network โดยได้วางกรอบการดำเนินงานที่จะเป็นผู้ให้บริการขนส่งและสื่อสารที่ขับเคลื่อนระบบงานต่างๆ ด้วยหลัก ESG+E

คือ Environment, Social, Governance และ Economy ผ่านแผนงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2573 และลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจนเป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2593 และในไตรมาส 4 ของปีนี้จะมีการนำยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในระบบงานไปรษณีย์เพื่อลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง โดยมีเป้าหมายปรับเปลี่ยนเป็นยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 85% ภายใน

และในปี 2573 ครบทั้งหมด 100% ภายในปี 2583 และยังอยู่ระหว่างยังศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการนำพลังงานไฮโดรเจนมาใช้กับระบบขนส่งเพิ่มเติม ด้านสังคม สร้างชุมชนที่ยั่งยืนด้วยโครงการ “ไปรษณีย์เชื่อมสุข” ที่มุ่งสร้างงาน สร้างอาชีพ และเชื่อมโยงเครือข่ายไปยังชุมชนที่สำคัญเพื่อเพิ่มโอกาสการสร้างรายได้ รวมถึงขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้า ให้กลุ่มเกษตร กลุ่ม SMEs และกลุ่มเปราะบางทางสังคมผ่านแพลตฟอร์ม ThailandPostMart โดยที่ผ่านมาช่วยสร้างรายได้จากการขายสินค้าผ่านช่องทางไปรษณีย์ไทยทั้งรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์มากกว่า 600 ล้านบาท/ปี

ทั้งนี้ตลอดระยะเวลา 3 ปี ได้สนับสนุนเกษตรกรไทย ในการขนส่งผลไม้และพืชผลทางการเกษตร เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง รวมกว่า 100,000 ตัน ครึ่งปีแรกของปี 2567 นี้มีปริมาณการฝากส่งผลไม้ไทยยอดนิยมผ่านบริการ EMS ส่งด่วนทั่วไทย กว่า 18 ล้านกิโลกรัม ด้านการกำกับดูแลกิจการ ให้ความสำคัญกับการรักษา ปกป้อง และใช้ข้อมูลอย่างมีธรรมาภิบาล เปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานอย่างโปร่งใสทุกขั้นตอน พร้อมมุ่งเน้นการสร้างรายได้จากนวัตกรรมและธุรกิจใหม่ สนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนให้แก่องค์กร และพัฒนาธุรกิจเพื่อสนับสนุนการดำรงชีวิตในสังคมยุคดิจิทัล

เมื่อ “ธุรกิจขนส่ง” ปล่อยคาร์บอนสูง ไปรษณีย์ไทย จึงต้องมุ่ง Green Logistics

ดร.ดนันท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ไปรษณีย์ไทยมุ่งที่จะก้าวสู่การเป็น Information Logistics มีบริการ Prompt Post บริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ครบวงจร ตอบโจทย์ความต้องการยุคดิจิทัล โดยมี 4 บริการหลัก คือ Trust Service การรับรองและลงลายมือชื่อบนเอกสารดิจิทัลด้วยใบรับรองดิจิทัลและกุญแจส่วนบุคคล Digital Postbox การจัดเก็บเอกสารสำคัญได้อย่างรวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือ One-stop service การสนับสนุนการให้บริการของภาครัฐและภาคเอกชนผ่านช่องทางดิจิทัล ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว Prompt pass บริการจัดเก็บเอกสารสำคัญส่วนบุคคล

ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งข้อมูลระหว่างประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน บริการ Postman Cloud ที่ใช้ความเชี่ยวชาญของบุรุษไปรษณีย์ที่มีกว่า 25,000 คนทั่วประเทศ ให้บริการในรูปแบบ Postman as a Service เช่น Survey บริการเก็บข้อมูลและสำรวจทรัพย์ Express บริการ รับ-ส่ง สิ่งของ แบบ Point to Point ตามความต้องการของลูกค้า/พันธมิตร Matching บริการเชื่อโยง Demand และ Supply

อีกหนึ่งบริการสำคัญ คือ D/ID (ดีไอดี) ซึ่งเป็น Digital Post ID ส่วนบุคคล ในรูปแบบการจ่าหน้าแบบใช้รหัส ช่วยปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างการจัดส่งสิ่งของ บอกพิกัดแนวดิ่งได้ทำให้สามารถระบุที่อยู่สำหรับผู้ที่อยู่ในอาคารสูง และเมื่อผู้ใช้งานมีการแก้ไขข้อมูลที่อยู่ในระบบ D/ID ข้อมูลที่อยู่ซึ่งเดิมไว้ใช้ติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ไปยังหน่วยงานปลายทางโดยอัตโนมัติ

นอกจากธุรกิจใหม่ที่ไปรษณีย์พร้อมเดินหน้าแล้ว กลุ่มธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ซึ่งเป็นธุรกิจที่ทำรายได้หลัก ยังเน้นการรักษากลุ่มลูกค้าเดิมและมองหาลูกค้าใหม่ รวมทั้งการเข้าไปเป็นผู้ขนส่งให้กับแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น แพลตฟอร์ม Tiktok Shopee และ Lazada โดยบริการที่มีการเติบโตโดดเด่นสุดคือ บริการส่งด่วน EMS ในประเทศ ที่มีปริมาณสิ่งของฝากส่งเพิ่มขึ้นจากปี 2566 ถึง 12.92% จากแรงบวกของการค้าออนไลน์ ค้าปลีก และความน่าเชื่อถือของบริการที่รวดเร็ว ปลอดภัย ตอบสนองรูปแบบการส่งได้หลากหลายประเภท  และยังเติบโตในด้านเครือข่ายจุดให้บริการที่มีถึง  50,000 แห่งทั่วประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญของภาคเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

เมื่อ “ธุรกิจขนส่ง” ปล่อยคาร์บอนสูง ไปรษณีย์ไทย จึงต้องมุ่ง Green Logistics

จากความพยายามผลักดันองค์กรให้ก้าวสู่ Green Logistics จะพามาดูว่าที่ผ่านมาไปรษณีย์ไทย ทำอะไร และลดอะไรได้เท่าไหร่แล้ว แล้ววางเป้าหมายในอนาคตไว้อย่างไร

  • ลดค่าน้ำมันด้านจ่าย จากมาตรการด้านจ่าย 18 % ในปี2567 หากเทียบกับปีก่อน
  • ลดค่าใช้จ่ายขนส่งถุง จากการยุบเลิก HUB ในนครหลวง 15% ในปี2567 หากเทียบกับปีก่อน
  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการปรับระบบภายในจาก Physical เป็น Digital มากกว่า 400 ตันคาร์บอนเทียบเท่า
  • รายได้ขายสินค้าสนับสนุนสังคม 600 ล้านบาท/ปี
  • ส่งเสริมรายได้พี่ไปรฯ เพิ่มขึ้นจากธุรกิจ 2.2 ล้านบาท
  • ส่งเสริมการจ้างงานผ่านไปรษณีย์อนุญาตในชุมชน 741 ล้านบาท/ปี
  • ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • รวบรวมกล่อง/ซอง เข้าสู่การรีไซเคิล มากกว่า 600 ตัน ตั้งแต่ปี2563 ถึงปัจจุบัน
  • ลดก๊าซเรือนกระจก 3,500 ตันคาร์บอนเทียบเท่า หรือ 2% หากเทียบกับปีก่อน
  • รถยนต์ไฟฟ้า 250 คันแรก เริ่มในใช้งานในปี 2567
  • จักรยานยนต์ EV พี่ไปรฯ 200 คัน นำร่องปี2567
  • มุ่งเป้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี2573
  • ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2593
  • ปรับยานยนต์ EV ในระบบงาน 85 % และ 100%  ในปี2583
  • ติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ 60% ในปี2573
  • ศึกษาพลังงานทางเลือก เชื้อเพลิงไฮโดรเจน
  • ปรับเส้นทางการขนส่งให้มีประสิทธิภาพ
  • เข้าร่วมกำหนดเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก เมื่อ “ธุรกิจขนส่ง” ปล่อยคาร์บอนสูง ไปรษณีย์ไทย จึงต้องมุ่ง Green Logistics

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related