SHORT CUT
Ruhani Verma นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ออกแบบห้องน้ำหลายสีสันที่เห็นนี้ตั้งอยู่ที่ “อมฤตสระ” เมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของรัฐปัญจาบ โดยมีความพิเศษคือเป็นห้องน้ำสาธารณะ ที่ก่อสร้างด้วยวัสดุรีไซเคิล
ห้องน้ำสีขนมหวาน และถูกเรียกขานว่าเป็นห้องน้ำที่ยั่งยืน มีรูปทรงโค้งเว้า และอย่างที่กล่าวไปว่าวัสดุที่ใช้ก็ผ่านการรีไซเคิลมาทั้งหมด อาทิ พลาสติกซิลิกา หรือพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
สำหรับสีสันที่เห็นนั้น มีคำอธิบายว่าต้องการให้ห้องน้ำแห่งนี้กลายเป็นสีสันของชุมชน ใครเดินผ่านไปผ่านมา ได้เห็นก็จรรโลงใจ อยากใช้ห้องน้ำสาธารณะ (ที่สะอาด)
หากใครมีโอกาสได้ไปเยือนอินเดีย ไม่ว่าในเมืองใดก็ตาม อาจเห็นภาพห้องน้ำสาธารณะที่ไม่ค่อยสะอาดนัก แต่ล่าสุด มีเด็กมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต้องการลบภาพจำนั้น เธอจึงเลือกออกแบบห้องน้ำที่มีสีสันสวยงาม แถมทำมาจากวัสดุรีไซเคิล 100%
ห้องน้ำหลายสีสันที่เห็นนี้ตั้งอยู่ที่ “อมฤตสระ” เมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของรัฐปัญจาบ โดยมีความพิเศษคือเป็นห้องน้ำสาธารณะ ที่ก่อสร้างด้วยวัสดุรีไซเคิล ผ่านฝีมือการออกแบบของ Ruhani Verma นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
มิเพียงเรื่องการใช้วัสดุรักษ์โลกเท่านั้นที่น่ายกย่อง ห้องน้ำรีไซเคิลแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อทุเลาปัญหาเรื่องห้องน้ำในอินเดีย หากเสิร์จคำว่า Indian Toilet ภาพที่พบเจออาจไม่พึงประสงค์นัก ไหนจะไม่สะอาด คับแคบ และหลายแห่งมีลักษณะเปิดโล่ง
ด้วยเหตุผลนี้ จึงเกิดเป็นห้องน้ำสีขนมหวาน และถูกเรียกขานว่าเป็นห้องน้ำที่ยั่งยืน มีรูปทรงโค้งเว้า และอย่างที่กล่าวไปว่าวัสดุที่ใช้ก็ผ่านการรีไซเคิลมาทั้งหมด อาทิ พลาสติกซิลิกา หรือพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
นั่นหมายความว่าหากวันใดวันหนึ่งที่ห้องน้ำนี้ต้องปิดลง หรือสิ้นสภาพการใช้งาน วัสดุทุกชิ้นจะถูกส่งไปยังหน่วยทำลาย จากนั้น จะมีการอัดขึ้นรูปใหม่ และสามารถนำวัสดุนั้นไปใช้ใหม่ได้ไม่รู้จบ
สำหรับสีสันที่เห็นนั้น มีคำอธิบายว่าต้องการให้ห้องน้ำแห่งนี้กลายเป็นสีสันของชุมชน ใครเดินผ่านไปผ่านมา ได้เห็นก็จรรโลงใจ อยากใช้ห้องน้ำสาธารณะ (ที่สะอาด) นำไปสู่ขั้นถัดมาคือทุกคนก็อยากเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ห้องน้ำนี้ไว้ ไม่ปล่อยให้เขรอะกรังแบบที่เป็นมา
ที่มา: designboom
ข่าวที่เกี่ยวข้อง