การออกแบบที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ที่ในอนาคตจะกลายเป็นกลุ่มประชากรใหญ่ของไทยและทั่วโลก ความปลอดภัยที่หลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ จึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ โดยเฉพาะห้องน้ำที่เป็นหนึ่งในจุดเสี่ยงในสาเหตุการเกิดเหตุการณ์ลื่นหกล้ม
การลื่นหกล้มเป็นปัญหาสำคัญในผู้สูงอายุ การลื่นหกล้มอาจนำไปสู่การบาดเจ็บรุนแรงหรือเสียชีวิตได้โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป ตามหลักการออกแบบที่เรียกว่า Universal Design ที่ใช้กันแพร่หลายในงานอาคารออกแบบ สำหรับอยู่สบายและความปลอดภัยเพื่อทุกคนในครอบครัวนั้นต้องคำนึงถึงรายละเอียดดังนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สุขภาพดีสมวัย ด้วยคอมมูนิตีที่ใช่ และได้ขยับร่างกายอย่างที่ควรจะเป็น
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ไกด์วิชาสร้างสุขก่อนสูงวัย ใช้เทคหารายได้หลังเกษียณ
Smart Home ที่แคร์มากกว่าอุปกรณ์ เป็นมิตรและถูกจริตผู้สูงอายุ
ทั้งนี้จากข้อมูลของ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ที่เผยแพร่เอกสารในห้วข้อ การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563
พบว่าผู้สูงอายุที่ทำการตอบแบบสำรวจในระหว่าง 6 เดือนก่อนทำการทดสอบ กล่าวว่าเคยหกล้ม โดยเฉลี่ย 2.4 ครั้ง ผู้ชายหกล้ม 2.2 ครั้งและผู้หญิง 2.5 ครั้ง
โดยสาเหตุของการหกล้มบ่อยที่สุดมาจาก
ทำให้เป็นสาเหตุให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลถึงร้อยละ 8.4
ส่วนสถานที่หกล้มส่วนใหญ่พบว่ามาจาก
ซึ่งชนิดของส้วมในบ้านโดยทั่วแบ่งเป็น 2 ชนิด
ดังนั้นถ้ามีความสะอาดพอกัน ส้วมนั่งห้อยขาน่าจะปลอดภัยกว่าสำหรับผู้สูงอายุ
ผลจากการสำรวจ พบว่าร้อยละของการใช้ส้วมแบบนั่งห้อยขากับนั่งยองๆ คิดเป็นร้อยละ 59.4 และ 40.6
ตามลำดับ และมีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตามอายุ เพศ และภาค ยกเว้นในกรุงเทพฯที่ใช้ส้วมนั่งห้อยขาสูงสุดถึงร้อยละ 86.2
การออกแบบห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ ที่ทางกรมอนามัยแนะนำ เพื่อความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ ลื่มหกล้มมีดังนี้
ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นกระบวนการคิดที่ไม่ต้องใช้นวัตกรรมใหม่มาช่วยในการออกแบบเพียงเข้าใจรูปแบบและจุดเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงวัยก็ช่วยลดอุบัติเหตุและทำให้บ้านปลอดภัย อยู่สบายสำหรับทุกคน
อ้างอิงข้อมูลจาก