ประชากรสูงวัยที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรม Nursing Home หรือ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ จะเป็นที่ต้องการอีกมาก โดยเฉพาะในประเทศที่มีประชากรสูงวัยนับร้อยล้านคน แตที่น่าสนใจกว่านั้นคือ มีงานวิจัยระบุว่า ผู้สูงวัยชาวจีนส่วนใหญ่กลับไม่อยากอยู่ Nursing Home
นอกจากจะเรียก Nursing Home ว่า ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ อีกคำที่ได้ยินบ่อยๆ คือ บ้านพักคนชรา ซึ่งในมายด์เซ็ตของคนจีนนั้น การอยู่บ้านพักคนชรา จะถูกมองว่าชีวิตประสบปัญหาอีกแบบหนึ่ง
และนี่คืองานวิจัย Future Development of Chinese Silver Economy: Comparison with US and China’s Senior Industries ที่ตีพิมพ์ใน Atlantis Press ที่คุณอ่านแล้วอาจจะกระทบความรู้สึกหรือชวนให้คิดถึงตัวเองในอนาคต
1) สังคมจีนแบบดั้งเดิมเชื่อว่า ผู้คนมีความสุขที่สุดเมื่ออยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว
ดังนั้น การไปอยู่บ้านพักคนชรา จึงตีความหมายไปว่า ถูกลูกหลานทอดทิ้ง
2) ผู้สูงอายุไม่ต้องการให้คนมองว่า ถูกลูกหลานยึดทรัพย์
และไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร ผู้สูงวัยชาวจีนก็ยังอยากอยู่คนเดียวที่บ้าน มากกว่าจะไปอยู่ในบ้านพักคนชรากับเพื่อนในวัยเดียวกัน
.............................................................................................
อ่านเพิ่มเติม
.............................................................................................
3) มีรายงานข่าวเกี่ยวกับการทารุณกรรมผู้สูงอายุในสถานดูแลจำนวนมาก
ประเด็นนี้ทำให้เกิดความหวาดกลัวที่จะใช้ชีวิตในบ้านพักคนชรา สถานพยาบาล ซึ่งส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของอุตสาหกรรมการดูแลผู้สูงอายุทั้งระบบ
4) รูปแบบการตกแต่งบ้านพักคนชราในจีนที่ส่วนใหญ่คล้ายโรงพยาบาลมากๆ
ภาพลักษณ์ การตกแต่ง ทำให้ผู้สูงวัยรู้สึกว่า ถ้าเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในนั้นก็จะถูกจำกัดการใช้ชีวิต และยังต้องทำตามตารางชีวิตอย่างเคร่งครัดอีกด้วย
5) ตลาด Nursing Home ขาดแคลนคนทำงานในฐานะ "ผู้ดูแล" ชาวสูงวัยอย่างมาก
หากดูจากรายงาน "การขยายตัวของผู้สูงอายุชาวจีน" จำนวนประชากรสูงวัยและสัดส่วนของเจ้าหน้าที่พยาบาลมี 3:1 กล่าวคือ หากมีประชากรสูงอายุ 28.3 ล้านคน ต้องการเจ้าหน้าที่พยาบาลหรือผู้ดูแลเป็นการเฉพาะ 10 ล้านคน ขณะที่ปัจจุบัน สถาบันบำเหน็จบำนาญแห่งชาติจีนมีพนักงานทำงานด้านนี้เพียง 220,000 คน และในจำนวนนี้มีประมาณ 20,000 คนเท่านั้นที่ได้รับวุฒิการศึกษาด้านการดูแลผู้สูงวัยในระดับมืออาชีพ
ประเด็นการขาดแคลนแรงงานด้านผู้ดูแลส่งผลให้เกิดความไม่ลงตัวอย่างรุนแรงระหว่างอุปสงค์กับอุปทาน แต่อย่างไรก็ตาม สังคมสูงวัยเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อาจต้องอาศัย การใส่ใจผู้สูงวัยมากขึ้น ร่วมกับ การเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เพิ่มทางเลือก ร่วมกับ การปรับมายด์เซ็ต จึงน่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย
ดังที่ Zhu Ling นักเศรษฐศาสตร์วัย 70 ปี จาก Chinese Academy of Social Sciences ไปเยี่ยมพ่อวัย 91 ปีที่ Nursing Home อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
“ไม่ใช่ว่าพ่อแม่ของฉันไม่สามารถอยู่บ้านได้ พวกเขาอยู่ได้แต่ไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง” Zhu Ling อธิบายเพิ่ม
และยังบอกด้วยว่า เธอพร้อมที่จะไปอยู่ Nursing Home ในอนาคต แต่สำหรับตอนนี้ ตอนที่ยังคงดูแลตัวเองได้ ก็ขอใช้ชีวิตแบบมีทางเลือกไปก่อน
.............................................................................................
ที่มา
.............................................................................................