svasdssvasds

รู้จัก Mono Foods ร้านค้าในสิงคโปร์ ขายสินค้าใกล้หมดอายุ เพื่อลดขยะอาหาร

รู้จัก Mono Foods ร้านค้าในสิงคโปร์ ขายสินค้าใกล้หมดอายุ เพื่อลดขยะอาหาร

SPRiNG ชวนทำความรู้จัก “Mono Foods” ร้านค้าในสิงคโปร์ ที่มาพร้อมกับไอเดียสุดเจ๋ง นั่นคืออการขายสินค้า “ใกล้หมดอายุ” ในราคาถูก (มาก) แถมภายในร้านยังมีของฟรีให้หยิบไปได้ มาดูกันว่าร้านค้านี้สามารถช่วยลด “ขยะอาหาร” ในแดนสิงโตพ่นน้ำได้อย่างไร?

สปริงนิวส์ชวนทำความเข้าใจวิกฤตขยะอาหาร (Food Waste) ในสิงคโปร์กันก่อนเพื่อให้เห็นภาพกว้างว่าประเทศไทยที่มีขนาดเล็กกว่ากรุงเทพฯ นั้นปวดหัวกับขยะอาหารมากแค่ไหน และรัฐบาลแก้ไขปัญหานี้อย่างไร

ปัญหา “ขยะอาหาร” ในสิงคโปร์หนักหน่วงแค่ไหน?

Mono Foods ให้ข้อมูลว่าสิงคโปร์ทิ้งอาหารราว 2,000 ตันต่อวัน และสร้างขยะอาหารราว 6.6 แสนตันในปี 2022 แต่เศษอาหารเหล่านี้มีเพียง 18% เท่านั้นที่ถูกนำไปรีไซเคิล ขณะที่ไทยสร้างขยะอาหาร 9.7 ล้านตัน

ปัญหาขยะอาหารในสิงคโปร์เข้าขั้นวิกฤต ทางรัฐบาลจึงผุดสารพัดวิธีในการแก้ไขปัญหา Food Waste อาทิ เปลี่ยนขยะอาหารเป็นปุ๋ย ออกกฎหมายบำบัดขยะอาหารในอาคาร หรือแม้แต่มีโครงการให้ร้านค้าต่าง ๆ บริจาคอาหารเหลือไปยังโรงทาน และองค์กรการกุศลทั่วประเทศ

แนวคิดของ Mono Foods คืออะไร?

Mono Foods ก่อตั้งขึ้นในปี 2021 ตั้งอยู่ที่ห้างสรรพสินค้า Yue Hwa ย่านไชน่าทาวน์ โดยมี “ลีโอนาร์ด ชี” เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ทั้งยังเป็นผู้นำเสนอไอเดียเรื่องความยั่งยืนที่ทำอยู่ให้กับทีมข่าว SPRiNG ฟังในการทัวร์ครั้งนั้นด้วย

รู้จัก Mono Foods ร้านค้าในสิงคโปร์ ขายสินค้าใกล้หมดอายุ เพื่อลดขยะอาหาร

สินค้าทุกชิ้นในร้าน Mono Foods มีอยู่ 2 ประเภทคือสินค้าใกล้หมดอายุ และสินค้าที่จะหมดอายุในอีก 3-9 เดือนข้างหน้า แต่ความพิเศษคือสินค้าทุกชิ้นจะขายในราคาถูก (มาก) ชนิดที่ว่าลูกค้าเลือกที่จะมาซื้อสินค้าในร้านนี้มากกว่าเดินเข้าห้าง หรือซูเปอร์มาร์เก็ตเสียอีก

รู้จัก Mono Foods ร้านค้าในสิงคโปร์ ขายสินค้าใกล้หมดอายุ เพื่อลดขยะอาหาร

รู้จัก Mono Foods ร้านค้าในสิงคโปร์ ขายสินค้าใกล้หมดอายุ เพื่อลดขยะอาหาร

รู้จัก Mono Foods ร้านค้าในสิงคโปร์ ขายสินค้าใกล้หมดอายุ เพื่อลดขยะอาหาร

โดยสินค้าที่วางขายในร้านนี้มีหลากหลายประเภทด้วยกัน อุปโภค บริโภค ครบครัน อาทิ อาหาร น้ำ นม ขนม ครีม ผลิตภัณฑ์บำรุงร่างกาย ยารักษาโรค แต่ที่พิเศษไปกว่านั้นคือในแต่ละวันจะมี “สินค้าฟรี” วางไว้ ลูกค้าสามารถหยิบไปได้เลย ไม่มีค่าใช้จ่าย

อย่างไรก็ตาม สินค้าใน Mono Foods ไม่ได้ขายแยกชิ้น แต่มีจะมีกล่องหลายขนาดไว้ให้ ซึ่งแต่ละขนาดราคาจะไม่เท่ากัน อาทิ 12-15 สิงคโปร์ดอลลาร์, 15-20 สิงคโปร์ดอลลาร์, 25-30 สิงคโปร์ดอลลาร์ โดยลีโอนาร์ด ชี เปิดเผยว่าลูกค้าสามารถใส่สินค้าลงกล่องเท่าไรก็ได้ ตราบใดที่มันไม่ล้นออกมา

รู้จัก Mono Foods ร้านค้าในสิงคโปร์ ขายสินค้าใกล้หมดอายุ เพื่อลดขยะอาหาร

ทีมข่าว SPRiNG มีโอกาสเดินสำรวจสินค้า และผลิตภัณฑ์ที่วางขายใน Mono Foods พบว่าส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันแทบทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อเทียบราคาแล้ว อุดหนุนสินค้าจากร้านแห่งนี้คุ้มกว่าไปเสียเงินให้ห้างร้านกว่ากันเยอะ

Mono Foods ช่วยแก้ปัญหาขยะอาหารยังไง?

อย่างที่เกริ่นไปตอนต้น ผู้คนมักมีอคติกับอาหารที่มีป้ายติดว่า “Best Before” หรือ “ควรบริโภคก่อน” ซึ่งจริง ๆ แล้วยังบริโภคได้ เพียงแต่รสชาติอาจไม่เลิศรสเหมือนเดิม แต่ยังสามารถรับประทานได้

รู้จัก Mono Foods ร้านค้าในสิงคโปร์ ขายสินค้าใกล้หมดอายุ เพื่อลดขยะอาหาร

เมื่อเกิดอคติขึ้น ผลที่ตามมาคือผู้บริโภคจะไม่ซื้ออาหารที่มีป้าย “Best Before” ติดอยู่ จนอาหารเหล่านี้ท้ายที่สุดต้องนำไปทิ้ง อันที่จริงห้างร้านก็เล็งเห็นปัญหานี้ และมีความพยายามท่จะถ่ายสินค้าไปยังสถานที่ต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดเป็น Food Waste

Mono Foods จับมือกับพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ รับสินค้ามาขายต่อ เพียงเท่านี้อาหารเหล่านั้นก็จะไม่กลายเป็นขยะอาหารแล้ว แถมยังขายได้ เพราะถูกนำมาขายต่อในราคาถูก และได้รับการโปรโมทอย่างจริงจัง

รู้จัก Mono Foods ร้านค้าในสิงคโปร์ ขายสินค้าใกล้หมดอายุ เพื่อลดขยะอาหาร

หลังจากนั้น พฤติกรรมผู้บริโภคก็ค่อย ๆ เปลี่ยน หันมาซื้อสินค้าจากร้าน Mono Foods กันมากขึ้น อาหารที่ผลิตออกมาไม่สูญเปล่า แม้เป็นการกระทำเล็ก ๆ แต่เพียงเท่านี้วงจรการบริโภคอาหารที่ยั่งยืนก็เกิดขึ้นแล้ว

ขยะอาหารเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมยังไง?

อันที่จริงกระบวนการผลิตอาหาร ตั้งแต่การผลิต แปรรูป จัดเก็บ ขนส่ง ล้วนปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่โลกทั้งนั้น ข้อมูลจากมูลนิธิสืบนาคะเสถียรเปิดเผยว่าก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมอาหารคิดเป็น 8% ของภาคคมนาคม

อีกหนึ่งเหตุผลคือเมื่อความต้องการอาหารสูงขึ้น ผลกระทบที่ตามมาคือการถางป่าเพื่อนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมอาหาร สัตว์ป่าสูญเสียที่อยู่ อีกหนึ่งเหตุผลคือเมื่ออาหารถูกทิ้ง ขยะอาหารเหล่านั้นจะถูกนำไปฝังกลบ เน่าเสีย และในกระบวนการนั้นจะปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกออกสู่โลก

 

*หมายเหตุ ทีมข่าวสปริงนิวส์ได้ร่วมเดินทางไปสิงคโปร์ภายใต้การดูแลของ Singapore International Foundation (SIF)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related