โอลิมปิกปารีส 2567 ตั้งเป้าลดการปล่อยมลพิษลง 50% จากโอลิมปิกลอนดอน ในปี 2555 และในกรุงรีโอ เดอ จาเนโร ในปี 2559 แต่ผู้เชี่ยวชาญกลับมองว่าผู้จัดงานไม่กำหนดปริมาณคาร์บอนที่ต้องการลดอย่างชัดเจน จนชวนตั้งคำถามว่าเป้าที่ตั้งไว้จะสำเร็จหรือไม่
ใกล้เข้ามาแล้วสำหรับมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ปารีส 2024 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 ก.ค. – 8 ส.ค. 67 ฝรั่งเศสในฐานะเจ้าภาพงานโอลิมปิกถูกจับตาเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นการกลับมาเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโลกในเมืองหลวงของประเทศในรอบ 100 ปี ครั้งล่าสุดคือปี 1924
ประเด็นที่น่าสนใจในมุมของสิ่งแวดล้อมคือเป้าหมายเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก่อนหน้านี้ผู้จัดงานโอลิมปิกปารีส 2567 ให้คำมั่นว่าจะดำเนินการจัดงานอย่างยั่งยืนใน และตั้งเป้าลดการปล่อยมลพิษลง 50% จากโอลิมปิกลอนดอน ในปี 2555 และในกรุงรีโอ เดอ จาเนโร ในปี 2559
ความตั้งใจเรื่องลดมลพิษสะท้อนผ่านเม็ดเงินลงทุนในโครงการต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลตัวเลขการลงทุนล่าสุดที่สื่อต่างประเทศคาดการณ์กันคือ 9.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 348 ล้านบาท
คำถามคือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 50% มันคือเท่าไหร่? หากเราเอาโอลิมปิกลอนดอนกับริโอ เดอ จาเนโร เป็นตัวตั้ง ซึ่งทั้งสองปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกัน 3.9 ล้านตัน
ดังนั้น เมื่อหักลบ 50% แล้ว โอลิมปิกปารีส 2024 สามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 1.95 ล้านตัน แต่เป้าหมายเดิมที่โอลิมปิกปารีสตั้งเป้าไว้คือ 1.58 ล้านตัน นั่นหมายความว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นจากเป้าหมายเดิมมากกว่า 20%
ด้วยความกำกวมทางตัวเลข “มาร์ติน มุลเลอร์" จากสถาบันภูมิศาสตร์และความยั่งยืน มหาวิทยาลัยโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวว่า “การไม่มีเป้าหมายเชิงปริมาณ ถือว่าไม่มีพันธกิจที่น่าเชื่อถือ”
คาร์บอนเครดิตคือหนึ่งในแนวทางด้านความยั่งยืน ที่ทางผู้จัดงานโอลิมปิกวางแผนเอาไว้ ด้วยเห็นว่าจะสร้างผลประโยชน์เชิงบวกต่อสภาพอากาศ โดยงานโอลิมปิกจะจัดสรรเงินให้กับโครงการต่าง ๆ ที่ลด หลีกเลี่ยง หรือดักจับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับที่เทียบเท่าการปล่อยมลพิษของงานแข่งขันในส่วนที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อาทิ โครงการปกป้องป่า การปลูกป่า หรือการใช้พลังงานหมุนเวียน
แต่เมื่อสืบค้นดูตัวเลขก็ยังไม่มีระบุไว้ชัดเจน ด้วยเหตุนี้ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ หรือแม้กระทั่งสาธารณะจึงวิจารณ์แนวทางการทำงานของผู้จัดงานโอลิมปิก
เบนจา แฟกส์ จากคาร์บอนมาร์เก็ตวอตช์ หน่วยงานเฝ้าระวังอุตสาหกรรมไม่แสวงผลกำไร บอกว่า การซื้อคาร์บอนเครดิตไม่ได้ทำให้สาธารณชนเชื่อว่างานโอลิมปิกไม่มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศจริง ๆ “คาร์บอนเครดิตควรใช้สนับสนุนโครงการที่คุ้มค่าแก่เงินลงทุน แต่ไม่ได้ช่วยชดเชยการปล่อยมลพิษ”
ประเด็นเพิ่มเติมคือเรื่อง “ขยะพลาสติก” นักเคลื่อนไหวมีความกังวลว่าผลิตภัณฑ์จากสปอนเซอร์รายใหญ่ของงานอย่าง “โคลา-โคลา” ท้ายที่สุดแล้ว จะกลายเป็นขยะจำนวนมาก
ฟรานซ์ เนเจอร์ เอนไวรอนเมนต์ (France Nature Environnement) เครือข่ายกลุ่มอาสา กล่าวโทษโคคา-โคลาว่าเป็นผู้ก่อมลพิษพลาสติก และได้กล่าวโจมตีแผนแจกจ่ายเครื่องดื่ม ตั้งแต่ขวดน้ำพลาสติกไปจนถึงแก้วพลาสติกใช้ซ้ำ เนื่องจากพวกเขามองว่าเป็นแค่อุบายของงาน
“อักเซล กิเบิร์ต” จากเอฟเอ็นอี กล่าวกับเอเอฟพีว่า “รีไซเคิลไม่ใช่ทางออก โคคา-โคลาต้องลดพลาสติก” อย่างไรก็ตาม มุลเลอร์ ได้เสนอวิธีแก้ไขปัญหาไว้ 3 แนวทาง ดังนี้
สำหรับเรื่องการเดินทาง ซึ่งเป็นหนึ่งในต้นตอของมลพิษ The Shifters องค์กรเอ็นจีโอแนะว่า ให้เพิ่มสัดส่วนจำหน่ายตั๋วสำหรับผู้ชมท้องถิ่นและผู้ชมจากประเทศเพื่อนบ้านให้มากที่สุด เพราะการเดินทางของผู้ชมกลุ่มนี้ปล่อยมลพิษน้อยกว่า
และให้ประเทศผู้จัดงานกระจายพื้นที่รับชมการแข่งขันสำหรับแฟนคลับ และกระจายพื้นที่รับชมไปยังทวีปต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ชมเดินทางน้อยลง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง