svasdssvasds

เปิดรายชื่อโครงการรับบริจาค “ขยะพลาสติก” นำไปรีไซเคิลต่อ

เปิดรายชื่อโครงการรับบริจาค “ขยะพลาสติก” นำไปรีไซเคิลต่อ

ขยะพลาสติกในประเทศไทยนั้นมีปริมาณสูงขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคโดยเฉพาะช่วงหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่คนนิยมสั่งอาหารและเครื่องดื่มแบบเดลิเวอรี่ พาเปิดรายชื่อโครงการรับบริจาค “ขยะพลาสติก” นำไปรีไซเคิลต่อ ขยะเปลี่ยนเป็นทองได้ก็มี!

SHORT CUT

  • ปัจจุบันขยะพลาสติกในประเทศไทยนั้นมีปริมาณสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคโดยเฉพาะช่วงหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19
  • โดยในแต่ละออร์เดอร์จะมีขยะพลาสติกมากขึ้นจำนวน 5-10 ชิ้น ส่งผลให้ขยะพลาสติกโดยรวมเพิ่มขึ้นในเกือบทุกเมือง
  • พาเปิดรายชื่อโครงการรับบริจาค “ขยะพลาสติก” นำไปรีไซเคิลต่อ

ขยะพลาสติกในประเทศไทยนั้นมีปริมาณสูงขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคโดยเฉพาะช่วงหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่คนนิยมสั่งอาหารและเครื่องดื่มแบบเดลิเวอรี่ พาเปิดรายชื่อโครงการรับบริจาค “ขยะพลาสติก” นำไปรีไซเคิลต่อ ขยะเปลี่ยนเป็นทองได้ก็มี!

ปัจจุบันขยะพลาสติกในประเทศไทยนั้นมีปริมาณสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคโดยเฉพาะช่วงหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่คนนิยมสั่งอาหารและเครื่องดื่มแบบเดลิเวอรี่กันเพิ่มมากขึ้น ทำให้พลาสติกจากบรรจุภัณฑ์มีจำนวนมากตามไปด้วย โดยในแต่ละออร์เดอร์จะมีขยะพลาสติกมากขึ้นจำนวน 5-10 ชิ้น ส่งผลให้ขยะพลาสติกโดยรวมเพิ่มขึ้นในเกือบทุกเมือง

 foodpanda ตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างเรื้อรังมาโดยตลอด และไม่เคยเพิกเฉยต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมี foodpanda มีบทบาทในการร่วมผลักดันเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องในขอบเขตที่สามารถทำได้ เช่น ร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก นำร่องมอบกล่องอาหารรักษ์โลกให้กับร้านค้าพันธมิตรของ foodpanda เพื่อรณรงค์การใช้งานบรรจุภัณฑ์อาหารที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ foodpanda ยังเป็นแอปพลิเคชันแรกในประเทศไทย ที่มีฟังก์ชั่นให้ลูกค้าเลือกไม่รับช้อนส้อมพลาสติก และนอกจากเรื่องพลาสติกแล้ว foodpanda ยังได้ร่วมมือกับ WWF ประกาศจุดยืนไม่จำหน่ายเมนู “หูฉลาม” บนแอปฯ foodpanda อีกด้วย

นอกจาก 6 ขั้นตอนง่าย ๆ นี้ ก่อนที่เราจะใช้พลาสติก ขอให้ทุกคนหยุดคิดก่อนว่ามีความจำเป็นมากแค่ไหน หากไม่จำเป็นเราก็สามารถ “ปฏิเสธเมื่อไม่ต้องการ” ได้ เช่น กดเลือกฟังค์ชั่นไม่รับช้อนส้อมพลาสติก หรือแจ้งร้านหากไม่ต้องการรับหลอด หรือเครื่องปรุงซอง ในช่วงแรกร้านอาจยังคุ้นชิน

เปิดรายชื่อโครงการรับบริจาค “ขยะพลาสติก” นำไปรีไซเคิลต่อ

และให้ทุกอย่างมาในออเดอร์เพื่อคงความพึงพอใจของลูกค้า แต่หากลูกค้าเน้นย้ำและส่งเสียงไปยังร้านเป็นประจำ ร้านจะปรับตัวตามความต้องการของผู้บริโภคที่ไม่ต้องการรับพลาสติกเหล่านี้ วิธีการนี้นอกจากลดพลาสติกแล้ว ยังช่วยลดขยะอาหารได้อีกด้วย แม้เราจะไม่สามารถเลิกใช้พลาสติกได้ 100% แต่เราสามารถลดปริมาณขยะที่จะไปสู่หลุมฝังกลบได้

 เมื่อจัดการขยะและแยกอย่างถูกต้องแล้ว ก็ต้องรู้แหล่งรับบริจาคขยะที่เหมาะสมด้วย WWF ได้แชร์โครงการที่รับบริจาคขยะพลาสติกเพื่อนำไปรีไซเคิลต่อ เช่น

● “โครงการส่งพลาสติกกลับบ้าน”

เปิดรับพลาสติกยืด พลาสติกแข็ง เช่นถุง กล่องใส่อาหาร ฝาขวด ขวดพลาสติก รวมถึงฟิล์ม เพื่อนำไปรีไซเคิลกลับไปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่อีกครั้ง

● โครงการวน (Won)

เปิดรับบริจาคพลาสติกหลายรูปแบบ และมีจุดรับของโครงการอยู่หลายจุด อย่าง “ถังวนถุง” ที่เราอาจจะเคยเห็นกันที่ห้างสรรพสินค้าหรือปั๊มน้ำมัน โดยนอกจากจะรับพลาสติกไปรีไซเคิลแล้ว พลาสติกทุก 1 กิโลกรัม จะถูกคิดเป็นเงิน 5 บาท เพื่อนำไปบริจาคให้มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ภายใต้โครงการ “เปลี่ยนพลาสติกเป็นบุญ”

● โครงการ Trash Lucky

 อีกโครงการอันน่าสนใจที่ “ขยะสามารถเปลี่ยนเป็นทอง” ได้ มีเป้าหมายเพื่อลดการทิ้งขยะลงสู่หลุมฝังกลบและทะเล ซึ่งเราสามารถมีส่วนร่วมได้ง่ายๆเพียงแค่ “แยก แลก ลุ้น” แยกขยะประเภท ขวดพลาสติก กระป๋อง กล่องกระดาษ ฯลฯ ส่งไปที่โครงการ Trash Lucky เก็บสะสมแต้มที่แลกได้จากขยะประเภทต่าง ๆ รับสิทธิลุ้นรับรางวัลใหญ่มูลค่ารวม 10,000 บาททุกๆเดือน โดยรางวัลใหญ่เป็นทองคำหนัก 1 สลึง รวมไปถึง บัตรกำนัลเงินสด เรียกว่านอกจากช่วยสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังได้ลุ้นโชคไปด้วยทุกเดือนอีก

● WASTE BUY Delivery

รถสะดวกซื้อขยะถึงบ้าน ที่ช่วยให้เราส่งขยะที่เราแยกแล้วเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น โดยสามารถเรียกรถได้ง่ายๆผ่าน Application ที่มีทั้งบนระบบปฏิบัติการ Android และ iOS นอกจากจะมีราคารับซื้อที่โปร่งใสแล้ว เรายังได้รู้ด้วยว่าการแยกขยะทิ้งแต่ละครั้งของเราลดคาร์บอนไปเท่าไหร่ คิดแล้วเท่ากับการปลูกต้นไม้กี่ต้น นอกจากนี้ยังได้สะสมแต้มแลกรางวัลได้อีกมากมายด้วยหากต้องการให้ขยะพลาสติกถูกรีไซเคิลไปเป็นสินค้าที่น่าสนใจรูปแบบต่าง ๆ ก็มีหลายโครงการ อาทิ

● โครงการ GREEN ROAD

นำพลาสติกที่รับบริจาคนำไปรีไซเคิลเป็นบล็อกปูถนน โดย 1 ตารางเมตรต้องใช้ถุงจำนวนมากถึง 4,000 ถุง

● ศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะชุมชนบ้านไผ่

รับบริจาคหลอดใช้แล้วนำไปใช้ผลิตเป็นไส้ของ “หมอนหลอด” ที่จะใช้สำหรับผู้ป่วยแผลกดทับ

● Wishulada รับบริจาคฝาขวดน้ำพลาสติก

ฝาขวดน้ำอัดลม ห่วงกระป๋องอะลูมิเนียม กระป๋องน้ำอัดลม เพื่อนำไปสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ รวมถึงเปลี่ยนเป็นถังขยะชุมชนได้อีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related