svasdssvasds

เปิด 6 ขั้นตอนสุดปัง! จัดการขยะพลาสติก จาก Food Delivery ก่อนรีไซเคิล

เปิด 6 ขั้นตอนสุดปัง! จัดการขยะพลาสติก จาก Food Delivery ก่อนรีไซเคิล

foodpanda ร่วมกับ WWF ทำให้ทุกวันเป็น Earth Day แนะ 6 ขั้นตอน จัดการขยะพลาสติกจาก Food Delivery ก่อนนำไปรีไซเคิล

SHORT CUT

  • ประเทศไทยมีขยะพลาสติกประมาณร้อยละ 12 ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด หรือประมาณปีละ 2 ล้านตัน
  • ตัน มีการนำกลับไปใช้ประโยชน์ประมาณปีละ 0.5 ล้านตัน (ร้อยละ 25) ส่วนที่เหลือ 1.5 ล้านตัน ซึ่งพลาสติกส่วนใหญ่เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว
  • foodpanda ร่วมกับ WWF ทำให้ทุกวันเป็น Earth Day แนะ 6 ขั้นตอน จัดการขยะพลาสติกจาก Food Delivery ก่อนรีไซเคิล

foodpanda ร่วมกับ WWF ทำให้ทุกวันเป็น Earth Day แนะ 6 ขั้นตอน จัดการขยะพลาสติกจาก Food Delivery ก่อนนำไปรีไซเคิล

ประเทศไทยมีขยะพลาสติกประมาณร้อยละ 12 ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด หรือประมาณปีละ 2 ล้านตัน มีการนำกลับไปใช้ประโยชน์ประมาณปีละ 0.5 ล้านตัน (ร้อยละ 25) ส่วนที่เหลือ 1.5 ล้านตัน (ร้อยละ 75) ซึ่งพลาสติกส่วนใหญ่เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single-use plastics) โดยก่อนหน้านี้ นางสาวพรพรรณ ปัญญายงค์ เจ้าหน้าปฏิบัติงานด้านวิชาการ (การจัดทำวารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม เผยแพร่บทความ ระบุว่า การบริหารจัดการขยะพลาสติก ได้มีการขับเคลื่อน Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 ซึ่งประกอบด้วย 2 เป้าหมาย

 

ได้แก่ เป้าหมายที่ 1 คือ การลดและเลิกใช้พลาสติก ด้วยการใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเลิกใช้พลาสติก 3 ชนิด ภายใน พ.ศ. 2562 ได้แก่ (1) พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม (Cap Seal) (2) ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผสมสารอ๊อกโซ่ (Oxo) และ (3) ไมโครบีดส์ (Microbead) และกำหนดเลิกใช้พลาสติก 4 ชนิด ภายใน พ.ศ. 2565 ได้แก่ (1) ถุงพลาสติกหูหิ้วขนาดความหนา น้อยกว่า 36 ไมครอน (2) กล่องโฟมบรรจุอาหาร (3) แก้วพลาสติก (แบบบางใช้ครั้งเดียว) และ (4) หลอดพลาสติก และเป้าหมายที่ 2 มีการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ ร้อยละ 100 ภายใน พ.ศ. 2570

นอกจากนี้ยังมีความพยายามจากภาคเอกชนอย่าง foodpanda ร่วมมือกับ WWF (World Wide Fund for Nature) รณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเนื่องในวันคุ้มครองโลก (Earth Day) ที่ตรงกับวันที่ 22 เมษายนของทุกปี เพื่อให้คนไทยทุกคนได้มีส่วนร่วมในการ “บริหารจัดการขยะพลาสติก

โดยเฉพาะพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์อาหารที่เกิดขึ้นจากการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ที่เพิ่มสูงขึ้นในยุคปัจจุบัน  ผ่าน 6 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการจัดการขยะพลาสติกก่อนนำไปรีไซเคิล เพื่อลดปริมาณขยะที่หลุดออกไปปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณพลาสติกที่ต้องนำไปกำจัดหรือฝังกลบ และยังช่วยลดงบประมาณที่ต้องสูญเสียไปกับการกำจัดขยะมูลฝอยที่มีปริมาณมหาศาลในปัจจุบัน

ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้และร่วมแก้ไขปัญหาพลาสติก การมีส่วนร่วมกันของทุกคน ทุกภาคส่วนจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทุก ๆ คนสามารถร่วมกันรักษาโลกใบนี้ให้สมบูรณ์ที่สุดเพื่อคนรุ่นต่อไป foodpanda จึงได้เชิญชวนทุกคนมาเริ่มต้นทำทุกวันให้เป็นวัน Earth Day ด้วย 6 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการจัดการขยะพลาสติก ก่อนที่จะถูกนำไปเข้ากระบวนการรีไซเคิล ดังนี้

เปิด 6 ขั้นตอนสุดปัง! จัดการขยะพลาสติก จาก Food Delivery ก่อนรีไซเคิล

1. ล้างกล่อง

หลาย ๆ คนอยากยังไม่ทราบว่ากล่องพลาสติกที่ยังมีคราบอาหาร จะกลายเป็น “ขยะกำพร้า” ที่ไม่สามารถเอาไปรีไซเคิลได้ ดังนั้นเราต้องทำความสะอาดกล่องหรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกให้ปราศจากเศษอาหาร เพื่อให้ขั้นตอนต่อไปของกระบวนการรีไซเคิลง่ายขึ้น

2. ลอกสติกเกอร์ออกจากกล่อง

กล่องอาหารส่วนมาก มักมากับฉลากบรรจุภัณฑ์ที่รีไซเคิลไม่ได้ เช่น สติ๊กเกอร์ติดกล่องหรือเทปกาว ดังนั้นนอกจากล้างแล้วก็ควรแกะสิ่งเหล่านี้ ก่อนแยกขยะด้วย

3. แยกประเภทพลาสติก

ขยะพลาสติกมีหลายประเภท เช่น ถุงหูหิ้ว บรรจุภัณฑ์อาหารแช่แข็ง ฟิล์มห่ออาหาร  แก้วแข็ง หลอด กล่องบรรจุอาหาร ฝาขวดน้ำ เป็นต้น เราควรคัดแยกเพื่อลดภาระของเจ้าหน้าที่เก็บขยะ และทำให้การจัดการในกระบวนการรีไซเคิลมีประสิทธิภาพมากขึ้น

4. บีบหรือพับให้แบน

บรรจุภัณฑ์พลาสติกอย่างกล่องอาหารหรือขวดน้ำพลาสติก สามารถบีบหรือพับให้เล็กลงได้เพื่อประหยัดพื้นที่ในการทิ้งถังขยะ รวมถึงช่วยประหยัดพื้นที่ให้รถขยะ ให้สามารถขนขยะได้มากขึ้น

5. ทิ้งขยะให้ถูกถัง

ปัจจุบันถังขยะจะมีการจำแนกประเภทของขยะมากขึ้น ดังนั้นผู้บริโภคมีหน้าที่ในการทิ้งขยะที่ถูกประเภท และให้แน่ใจว่าขยะที่ทิ้งนั้นไม่ปะปนรวมกัน

6. ส่งต่อเทคนิคนี้ให้เพื่อนและครอบครัว

เปิด 6 ขั้นตอนสุดปัง! จัดการขยะพลาสติก จาก Food Delivery ก่อนรีไซเคิล

 บอกต่อวิธีการจัดการขยะแบบนี้ให้กับเพื่อนฝูงญาติมิตรให้ได้มากที่สุด เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ถึงปัญหาขยะในบ้านเรา และทำให้ทุกคนตระหนักถึงประโยชน์ของการจัดการขยะพลาสติกก่อนรีไซเคิล นอกจากนี้ก็สามารถช่วยแก้ไขความเชื่อผิด ๆ บางอย่างได้ เช่น ข่าวลือที่ว่าเทศบาลเก็บขยะเราไปแล้วไปเทรวมกันอยู่ดี ดังนั้นก็ไม่จำเป็นต้องแยกขยะให้เสียเวลา ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เพราะปัจจุบันมีการคัดแยกขยะเป็นหมวดหมู่เพื่อนำไปรีไซเคิล ไม่มีการเทรวมอย่างที่เข้าใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

 

 

related