svasdssvasds

ภาคธุรกิจขนทัพ "โซลูชันสิ่งแวดล้อม" ชูยุทธศาสตร์รับมือ Climate change

ภาคธุรกิจขนทัพ "โซลูชันสิ่งแวดล้อม" ชูยุทธศาสตร์รับมือ Climate change

พามาส่องดูความเคลื่อนไหวภาคธุรกิจที่หันมาใช้ "โซลูชันสิ่งแวดล้อม" ชูยุทธศาสตร์รับมือ Climate changeเพื่อหวังให้เปลี่ยนผ่าน พร้อมคว้าโอกาสใหม่ให้ได้ในวันที่โลกการค้าเปลี่ยนไป!

SHORT CUT

  • ภาคธุรกิจเริ่มเดินหน้าขนทัพโซลูชันสิ่งแวดล้อม มารับมือ Climate change

  • กสิกรไทยได้ใช้ Climate Solutions  โซลูชันด้านสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจรโดยอาศัยความร่วมมือจากพันธมิตร

  • “เซ็นทรัลพัฒนา” ที่ได้ขับเคลื่อนสังคมสีเขียวอย่างยั่งยืน จับมือพันธมิตร SCG นำกรีนโซลูชันพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสระดับประเทศ

พามาส่องดูความเคลื่อนไหวภาคธุรกิจที่หันมาใช้ "โซลูชันสิ่งแวดล้อม" ชูยุทธศาสตร์รับมือ Climate changeเพื่อหวังให้เปลี่ยนผ่าน พร้อมคว้าโอกาสใหม่ให้ได้ในวันที่โลกการค้าเปลี่ยนไป!

นาทีนี้ภาคธุรกิจต่างรีบร้อนอย่างมากในการดีดตัวเองให้ออกมารับมือกับ Climate หรือ ภาวะโลกเดือด ที่มีโอกาสส่อแววที่จะรุนแรง รวมถึงเกมการค้าใหม่ๆที่จะเปลี่ยนไป ตามการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ สิ่งหนึ่งที่ภาคธุรกิจต่างๆเดินหน้าทำนั้นก็คือ การหาโซลูชันสิ่งแวดล้อม หรืออื่นๆมารับมือปัญหาดังกล่าว วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพามาส่องดูว่า มีแบรนด์ไหนใช้โซลูชันอะไร ?

มาเริ่มกันที่ ธนาคารกสิกรไทย ที่ได้เปิดยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2567 ที่จะพาธุรกิจไทยก้าวสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่ พร้อมรับมือยุค Climate Game ที่มูลค่าของธุรกิจไม่ได้ขึ้นอยู่เพียงผลกำไรจากธุรกิจดังเดิมแต่มีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยธนาคารเดินหน้าการทำงานสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ทั้งปรับการดำเนินงานของธนาคาร (Green Operation) ด้วยมาตรฐานสากล การส่งมอบสินเชื่อและเงินลงทุนด้านความยั่งยืน (Sustainable Financing and Investment) ที่จะไปสู่ยอด 100,000 ล้านบาท ในปี 2567 นี้

ภาคธุรกิจขนทัพ \"โซลูชันสิ่งแวดล้อม\" ชูยุทธศาสตร์รับมือ Climate change

รวมทั้งศึกษาและจัดเตรียมโซลูชันด้านสิ่งแวดล้อมในทุกมิติที่ภาคธุรกิจต้องการ (Climate Solutions) ทั้งด้านการให้คำปรึกษา การจัดทำ Carbon Accounting การทำธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับคาร์บอนเครดิตและระบบนิเวศที่เกี่ยวข้อง (Carbon Ecosystem) เพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจในการเปลี่ยนผ่านพร้อมรับมือกับแรงกดดันด้านกฎระเบียบสิ่งแวดล้อมของโลกและไทยที่เพิ่มขึ้น และตอบรับกับโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้น มุ่งสู่เศรษฐกิจการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ไปด้วยกัน

โดยนายพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า กสิกรไทยได้ใช้หลากหลายกลยุทธ์ในการรับมือ Climate หนึ่งในนั้น คือกลยุทธ์ Climate Solutions – โซลูชันด้านสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจรโดยอาศัยความร่วมมือจากพันธมิตร ประกอบด้วย โซลูชันการส่งมอบความรู้และคำแนะนำ (Knowledge Provider) ที่บูรณาการองค์ความรู้จากสถาบันชั้นนำ การพัฒนาโซลูชันเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับลูกค้าทั้งบุคคลและผู้ประกอบการ (Reduction Solution)

โดยทดลองออกบริการนำร่องแล้ว ได้แก่ WATT’S UP เป็นแพลต์ฟอร์มรองรับการเช่ารถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร รวมถึงบริการสลับแบตเตอรี่ผ่านจุดบริการ  ปัจจุบัน มีผู้ใช้งาน 367 ราย โดยในปี 2567 คาดว่าจะมีรุ่นรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าให้บริการมากกว่า 10 รุ่น ขยายตู้สลับแบตเตอรี่เป็นกว่า 70 สาขา ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล  และ“ปันไฟ" (Punfai) เป็นแอปพลิเคชันที่เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทยและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พัฒนาแอปพลิเคชันแลกเปลี่ยนไฟฟ้าแห่งแรกของไทยที่ตอบโจทย์การใช้งานครบทุกมิติ รองรับการใช้งานทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ

นอกจากนี้ ธนาคารนำประสบการณ์กว่า 10 ปี ในการวัด Carbon Footprint ของธนาคาร มาใช้เพื่อเตรียมพัฒนาโซลูชันใหม่ที่จะช่วยผู้ประกอบการเรื่องการวัดผล รายงาน และตรวจสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon MRV)  ให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับประเทศและระดับสากล

ต่อมาคือ “เซ็นทรัลพัฒนา” ที่ได้ขับเคลื่อนสังคมสีเขียวอย่างยั่งยืน จับมือพันธมิตร SCG นำกรีนโซลูชันพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสระดับประเทศ โดยนายชาตรี โกวิทานุพงศ์ Executive Project Director Regional Development 1 บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวว่า ได้จับมือเป็นพันธมิตรกันเพื่อผลักดันสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ นำร่องโครงการต้นแบบ Framework Pathway to Net Zero Building Guideline นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีขององค์กรที่มีทิศทางด้านความยั่งยืน

โดยเราได้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก ในกลุ่มซีเมนต์ คอนกรีต และกรีนโซลูชันในการพัฒนาและก่อสร้างโครงการมิกซ์ยูสสำคัญของเราคือ โครงการเซ็นทรัล นครสวรรค์ และโครงการ เซ็นทรัล นครปฐม ที่เตรียมเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 มี.ค.67 โดยเลือกใช้ปูน Low Carbon รวมถึงมีการรีไซเคิลเสาเข็มที่ได้ริเริ่มมาตั้งแต่การพัฒนาโครงการเซ็นทรัล ศรีราชา และเซ็นทรัลจันทบุรี และการดำเนินงานภายใต้ Green Standard ต่างๆ ซึ่งถือเป็นความร่วมมือที่ช่วยให้เราเดินหน้าสู่เป้าหมาย NET Zero 2050 ได้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง”

ทั้งนี้เซ็นทรัลพัฒนา มีแผนการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่ NET Zero 2050 หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 แบ่งได้ 3 หมวดหลัก คือ หมวดที่ 1: Decarbonized operational emissions ผ่านการดำเนินงาน ได้แก่ 1) ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า 2) เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาด (solar) 3) ลดขยะฝังกลบ 4) ลดการใช้น้ำ 5) ชวนร้านค้าผู้เช่าลดการใช้พลังงานและแยกขยะ;

หมวดที่ 2: Decarbonized embodied emission ผ่านการดำเนินงาน ได้แก่ 1) การนำมาตรฐานอาคารเขียวระดับสากล Green building เช่น LEED, TREES, EDGE มาเป็นแนวทางในการก่อสร้าง 2) การวัด LCA-Life cycle assessment ของการก่อสร้าง 3) ร่วมมือกับ supplier และ contractor ในการเพิ่มปริมาณรีไซเคิลในวัสดุก่อสร้าง และ หมวดที่ 3: Carbon removal โดยการปลูกป่าทดแทน และ R&D เพื่อหานวัตกรรม Sustianovation มาช่วย capture carbon

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related