svasdssvasds

ซิ่นตีนจกเมืองลอง จากดอกฝ้ายในท้องถิ่น หัตถกรรมโบราณ เสริมรายได้สู่ชุมชน

ซิ่นตีนจกเมืองลอง จากดอกฝ้ายในท้องถิ่น หัตถกรรมโบราณ เสริมรายได้สู่ชุมชน

KEEP THE WORLD พาแอ่วเมืองแพร่ เปิดบ้านแม่ประนอม ทาแปง ศิลปินแห่งชาติ ผู้สืบสานการทอซิ่นตีนจกเมืองลอง หัตถกรรมโบราณ โดยใช้ 'ดอกฝ้าย' ในท้องถิ่น สร้างงาน สร้างรายได้สู่ชุมชน

ประเทศไทยเพิ่งผ่านช่วงฤดูหนาวมาหยก ๆ ซึ่งเป็นช่วงที่ “ดอกฝ้าย” กำลังผลิบานสะพรั่ง หนึ่งในภูมิภาคที่มีดอกฝ้ายผุดขึ้นอยู่ทั่วไปได้แก่ อ.ลอง จ.แพร่

สำหรับชาวเมืองลองแล้ว พวกเขาสามารถสร้างความยั่งยืนในชุมชนได้ ด้วยการนำดอกฝ้ายมาสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยทำเป็น “ผ้าซิ่นตีนจก” ของเก่าของแก่ ที่อยู่คู่บ้านเมืองมาเป็นร้อย ๆ ปี

“ผ้าซิ่นตีนจกเมืองลอง” ภูมิปัญญาชาวบ้านอายุ 200 ปี

“เมืองลอง” หรือ อ.ลอง จ.แพร่ ในอดีตผู้ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้คือ ‘ชาวไทยวน’ หรือ ‘ชาวไทยโยนก’ เป็นอีกหนึ่งชัยภูมิสำคัญที่มีการทอผ้าซิ่นไว้สวมใส่ในชีวิตประจำวัน และส่งต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

“ผ้าซิ่น” หรือ ผ้าถุง ถือเป็นเครื่องแต่งกายที่มีบทบาทในชีวิตของสตรี (เมืองลอง) เป็นอย่างมาก โดยจะสวมใส่ผ้าซิ่นกันในชีวิตประจำวัน ด้วยวัสดุจากฝ้าย ทำให้พอถูกแปรมาเป็นผ้าซิ่นแล้ว ทำให้สวมใส่สบาย เดินเหินไปไหนก็สะดวก

แต่สำหรับ “ผ้าซิ่นตีนจก” ถือเป็นเทคนิคการที่นิยมกันในบางท้อนถิ่นเท่านั้น เทคนิคการ “จก” จะทำให้ลายผ้าเกิดความ แต่ต้องอาศัยความประณีต แถมยังมีวิธีการทำที่สลับซับซ้อน โดยภูมิภาคที่ยังมีการอนุรักษ์การทอผ้าซิ่นตีนจกไว้ได้แก่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ บ้านหาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย และบ้านนามน อ.ลอง จ.แพร่

ด้วยเหตุผลทางเทคนิคดังที่กล่าวไป “ผ้าซิ่นตีนจก” จึงมักถูกสงวนไว้ใช้สำหรับโอกาสพิเศษ เช่น งานบุญ หรือวันสำคัญต่าง ๆ เท่านั้น

วันนี้ Keep The World ได้มีโอกาสแอ่วเมืองลอง ที่ “บ้านแม่ประนอม ทาแปง” จ.แพร่ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นฮับทอผ้าซิ่นแห่งสำคัญของประเทศไทย มาดูกันว่าจากดอกฝ้าย (พืชในท้องถิ่น) สู่ผ้าซิ่นลวดลายสวยวิจิตร นั้นมีการเดินทางอย่างไร

บ้านแม่ประนอม ทาแปง อ.ลอง จ.แพร่

รู้จัก “แม่ประนอม ทาแปง” ศิลปินแห่งชาติคนแรกของ จ.แพร่

“นางประนอม ทาแปง” หรือที่ชาวบ้านเมืองลองรู้จักกันในชื่อ “แม่ประนอม” คือ ศิลปินแห่งชาติคนแรกของจังหวัดแพร่ โดยได้รับเกียรติแต่งตั้งเมื่อปี 2553 ในสาขาทัศนศิลป์ (ประณีตศิลป์-ศิลปะผ้าทอ) เพื่อเป็นเกียรติในฐานะบุคคลที่อุ้มชูศิลปะการทอผ้าซิ่นมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ

ประนอม ทาแปง ศิลปินแห่งชาติคนแรกของจังหวัดแพร่

ต้องบอกว่าแม่ประนอมเป็นเด็กท้องถิ่นขนานแท้ เกิดและเติบโตที่ อ.ลอง จ.แพร่ ชีวิตคลุกคลีอยู่กับการทอผ้ามาตั้งแต่วัยเยาว์ จุดเปลี่ยนคือ ขณะเรียนอยู่ชั้นประถม 4 แม่ประนอมมีเหตุให้ต้องลาออกจากโรงเรียนด้วยปัญหาสุขภาพ และความอัตคัดขัดสนของฐานะทางบ้าน

หลังจากนั้น แม่ประนอมก็ได้รับการถ่ายทอดวิชาจากแม่และป้า จนมีทักษะการทอผ้าติดตัวมาตั้งแต่อายุ 12 ขวบ

กระทั่งในปี 2522 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จมาพระราชทานธงประจำรุ่นให้แก่ลูกเสื้อชาวบ้าน จ.แพร่ แม่ประนอมได้ทูลเกล้าฯ ผ้าซิ่นตีนจกเมืองลอง จนในที่สุด ในปี 2532 คณะผู้แทนพระองค์ได้กรุณามอบทุนดำเนินการให้ จนเกิดเป็น กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านนามนขึ้น

ซิ่นตีนจกเมืองลอง จากดอกฝ้ายในท้องถิ่น หัตถกรรมโบราณ เสริมรายได้สู่ชุมชน

จากดอกฝ้าย เป็นเส้นดาย

เมื่อกวาดตามองไปรอบ ๆ คลังแสงบ้านแม่ประนอมแล้ว สังเกตได้ว่ามีแต่บุคลากรสูงวัยแทบทั้งสิ้น ซึ่งคาดว่า แม่ ๆ ในห้องโถงนี้น่าจะเป็นสมาชิกกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านนามนกันถ้วนหน้า โดยแต่ละคนจะนั่งตามขั้นตอนการเปลี่ยนฝ้ายให้เป็นด้าย

ซิ่นตีนจกเมืองลอง จากดอกฝ้ายในท้องถิ่น หัตถกรรมโบราณ เสริมรายได้สู่ชุมชน

คุณแม่ท่านแรกประจำตำแหน่งในขั้นตอนการ “อิ้วฝ้าย” เป็นสายธารแรกที่สำคัญเพราะคุณแม่จะนำดอกฝ้ายที่ตากแดดจนแห้ง มาแยกเมล็ดออกด้วยเครื่องอิ้วฝ้าย โดยการป้อนปุยฝ้ายเข้าไปในเครื่องอิ้ว จากนั้นอิ้วก็จะดีดเมล็ดฝ้ายแยกอกมาจากปุยฝ้าย

ซิ่นตีนจกเมืองลอง จากดอกฝ้ายในท้องถิ่น หัตถกรรมโบราณ เสริมรายได้สู่ชุมชน

ซิ่นตีนจกเมืองลอง จากดอกฝ้ายในท้องถิ่น หัตถกรรมโบราณ เสริมรายได้สู่ชุมชน

หลังจากนั้น คุณแม่คนที่สองก็จะนำฝ้ายที่ได้มาดีดให้พอง และคุณแม่คนที่สามก็จะรับฝ้ายที่พองแล้ว มาม้วนเป็นหางสำลีและมาปั่นเป็นเส้นด้ายเล็ก ๆ

ซิ่นตีนจกเมืองลอง จากดอกฝ้ายในท้องถิ่น หัตถกรรมโบราณ เสริมรายได้สู่ชุมชน

ซิ่นตีนจกเมืองลอง จากดอกฝ้ายในท้องถิ่น หัตถกรรมโบราณ เสริมรายได้สู่ชุมชน

จากนั้นก็จะเข้าสู่กระบวนการย้อมสีเคม (สีจากธรรมชาติ) ขั้นตอนนี้น่าสนใจมาก เพราะต้นกำเนิดสีสันของเส้นด้ายที่เราเห็นนั้นมาจากวัตถุดิบในธรรมชาติทั้งหมด

ต้นกำเนิดความงามจากธรรมชาตินั้นหลากหลาย อาทิ คราม มะเกลือ แก่นฝาง สารส้ม ปูน ขี้เถ้า ครั่ง หลังจากย้อมเคมด้วยวัตถุดิบธรรมชาติแล้ว จะบอกว่าสีที่ได้นั้นสวยสดไม่แพ้สีที่ได้จากสารเคมีเลยทีเดียว ต้องขอปรบมือให้รัว ๆ การกับนำเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบเหล่านี้

ซิ่นตีนจกเมืองลอง จากดอกฝ้ายในท้องถิ่น หัตถกรรมโบราณ เสริมรายได้สู่ชุมชน

ซิ่นตีนจกเมืองลอง จากดอกฝ้ายในท้องถิ่น หัตถกรรมโบราณ เสริมรายได้สู่ชุมชน

อนุรักษ์ผ้าโบราณ สืบสานการทอซิ่น

หลังจากนั้น ก็มีโอกาสได้ไปยืนแม่ ๆ ทอซิ่นตีนจกให้ดูเป็นขวัญตา เป็นขั้นตอนที่ละเอียดซับซ้อน และต้องอาศัยความแม่นยำสูง ด้ายแต่ละเส้นจะถูกร้อยเรียงเข้าไปในผ้าซิ่นด้วยมือ นั่นจึงเป็นเหตุผลให้ทำไมกว่าจะได้ผ้าซิ่นแต่ละผืนถึงใช้เวลาค่อนข้างนาน

ซิ่นตีนจกเมืองลอง จากดอกฝ้ายในท้องถิ่น หัตถกรรมโบราณ เสริมรายได้สู่ชุมชน

ซิ่นตีนจกเมืองลอง จากดอกฝ้ายในท้องถิ่น หัตถกรรมโบราณ เสริมรายได้สู่ชุมชน

ซิ่นตีนจกเมืองลอง จากดอกฝ้ายในท้องถิ่น หัตถกรรมโบราณ เสริมรายได้สู่ชุมชน

แม่ประนอมเล่าว่า “ลวดลายผ้าตีนจกเมืองลองมีเป็นร้อยลาย เช่น ลายขามดแดง ลายพุ่มดอก ลายผักแว่น ลายดอกมะลิ แต่ลายใหม่ ๆ ก็มีเหมือนกัน เช่น ลายหัวใจ ดูลายเหมือนอะไรเราก็เรียกไปตามนั้น”

ซิ่นตีนจกเมืองลอง จากดอกฝ้ายในท้องถิ่น หัตถกรรมโบราณ เสริมรายได้สู่ชุมชน

ซิ่นตีนจกเมืองลอง จากดอกฝ้ายในท้องถิ่น หัตถกรรมโบราณ เสริมรายได้สู่ชุมชน

ซิ่นตีนจกเมืองลอง จากดอกฝ้ายในท้องถิ่น หัตถกรรมโบราณ เสริมรายได้สู่ชุมชน

เอาแค่เฉพาะส่วนของลวดลายก็กินเวลาเป็นเดือน ซึ่งลวดลายส่วนใหญ่ที่บ้านแม่ประนอมทำนั้น เป็นการอนุรักษ์ลายโบราณที่ถูกส่งทอดมาในอดีต ปรับนิด เปลี่ยนหน่อย ให้ล้อกับสมัยปัจจุบัน แต่เมื่อได้ลายมาแล้ว ยังต้องนำไปรวมกับซิ่นท่อนอื่น ๆ อีก เพื่อให้ได้เป็นซิ่นสมบูรณ์พร้อมสวมใส่

ซิ่นตีนจกเมืองลอง จากดอกฝ้ายในท้องถิ่น หัตถกรรมโบราณ เสริมรายได้สู่ชุมชน

ซิ่นตีนจกเมืองลอง จากดอกฝ้ายในท้องถิ่น หัตถกรรมโบราณ เสริมรายได้สู่ชุมชน

จากการเดินทางของดอกฝ้ายบนดิน สู่ผ้าซิ่นที่สามารถสร้างเม็ดเงินให้แก่คนในชุมชน โดยอาศัยเพียงแค่วัตถุดิบธรรมชาติ ที่หาได้มากมายอยู่แล้วในท้องถิ่น ซิ่นแต่ละผืนมีราคาไม่เท่ากัน ลายไหนทำยากหน่อย ก็ราคาสูง ลายไหนมีแม่ ๆ ทำชำนาญการอยู่แล้ว และใช้เวลาไม่นาน ก็ราคาถูกหน่อย มีตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น

จากพืชเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้วเต็มบ้านเต็มเมือง สู่สินค้าผ้าซิ่น ถือเป็นกรณีศึกษาที่ดีเยี่ยมสำหรับการเล็งเห็นของดีใกล้ตัว และเปลี่ยนให้เป็นเงินได้

เห็นดังนี้ก็น่าคิดว่าของดีในชุมชนเราคืออะไร เราสามารถนำมันมาต่อยอดได้หรือเปล่า และสิ่งนั้นสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนได้อย่างไรบ้าง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related