'Thanksgiving' วันรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าของชาวอเมริกัน และวัฒนธรรมการบริโภคอาหารเต็มโต๊ะ ผลสำรวจเผย ชาวอเมริกันสร้างขยะอาหาร ในวันดังกล่าวมากถึง 1.5 แสนตัน มหาวิทยาลัย Minnesota บอกต่อวิธีปฏิบัติเพื่อลด Food Waste สำหรับมื้ออาหารของเรา
หลายท่านอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับวันสำคัญวันนี้กันมาบ้าง Thanksgiving เป็นวันที่ครอบครัวชาวอเมริกันจะนัดรวมตัวกันเพื่อรำลึกขอบคุณผู้เป็นเจ้า โดยวันขอบคุณพระเจ้าจะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 4 ของเดือนพฤศจิกายน ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 23 พฤศจิกายน นั่นเอง
แน่นอนว่าโอกาสพิเศษเช่นนี้ ที่คนในครอบครัวได้มารวมตัวกัน อาหารถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ชาวอเมริกันให้สำคัญ หากเราสังเกต จะพบว่า ทุกคนจะนั่งล้อมวงรอบโต๊ะยาว ที่มีอาหารหลากหลายเมนูกระจัดกระจายอยู่เต็มโต๊ะ โชยกลิ่นหอมเรียกน้ำลายเป็นไหน ๆ
สำหรับเมนูที่เด่นตระหง่านเรียกสายตาคงหนีไม่พ้น เมนูไก่ง่วง (Turkey) ที่นอนแผ่อยู่กลางโต๊ะ นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเมนูที่ชาวอเมริกันนิยมบริโภคกันอาทิ แฮม ชีส ถั่วเขียว มันบด
ด้านของหวานจะมี พายแอปเปิ้ล เยอรมันช็อคโกแลตพาย ข้าวโพด แครนเบอรี่ และสำหรับเครื่องดื่มก็นิยมบริโภคกันแตกต่างหลากหลายอาทิ แครนเบอร์รี่พันซ์ผสมโซดา ชาใบเสจ น้ำแครอทเป็นต้น
ภายใต้มื้อที่แสนสุขของชาวอเมริกัน เหรียญอีกด้านที่น่าเป็นกังวลคือเรื่อง ‘ขยะอาหาร’ หรือ ‘Food Waste’ เมื่อวาระพิเศษเช่นนี้ ทำให้หลาย ๆ ครอบครัวต้องสั่ง หรือทำอาหารในปริมาณมากเพียงพอที่จะเสิร์ฟให้กับทุกคนในครอบครัว
อาหารเหล่านี้ ไม่ได้ถูกบริโภคจนหมดเสมอไป ตัวเลขสัดส่วนของอาหารที่ไม่ถูกบริโภคในวันขอบคุณพระเจ้า และเหลือทิ้งกลายเป็นขยะอาหารของชาวอเมริกันเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
จากผลสำรวจของ Refed พบว่า ในช่วงวันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving) ชาวอเมริกันทิ้งอาหารที่เหลือจากการบริโภคประมาณ 305 ล้านปอนด์ หรือราว 152,000 ตัน เฉลี่ยครอบครัวละ 1,160 ปอนด์ (ปี 2022)
มีหลายฝ่ายที่ออกมาแสดงทรรศนะต่อเรื่องนี้ บ้างให้ความเห็นว่า ชาวอเมริกันควรตระหนักถึงการบริโภคให้มากกว่านี้ เพราะกว่าจะออกมาเป็นอาหาร 1 มื้อ ได้ผลาญทรัพยากรไปมากมาย และเมื่ออาหารไม่ได้ถูกบริโภคเข้าสู่ร่างกาย จนกลายเป็นขยะอาหาร (Food Waste) สายพานถัดไปของเศษอาหารเหล่านี้ก็จะไปบรรจบกันที่กระบวนการฝังกลบ
เราทราบกันดีว่าเมื่อเศษอาหารที่เข้าสู่กระบวนการฝังกลบ เมื่อเกิดการเน่าเสียของอาหาร ก๊าซมีเทนจะถูกผลิตออกมา หรือก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศโลก การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกิดจากการบวนการผลิตอาหารทั้งหมด 26% ข้อมูลจาก Our World Data ระบุว่า หากเราช่วยกันลดขยะอาหาร และบริโภคอาหารอย่างคุ้มค่าที่สุด จะสามารถลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 6%
มหาวิทยาลัย Minnesota ได้แจกแจงวิธีปฏิบัติเพื่อเป็นไกด์ไลน์ให้กับใครก็ตามที่มีเป้าประสงค์ในการลด Food Waste ลง และเลือกบริโภคอาหารอย่างมีกลยุทธ์ สามารถปฏิบัติได้ตามด้านล่างนี้
ทั้งนี้ทั้งนั้น ปัญหาขยะอาหารมิได้เกิดขึ้นแค่ในวัน Thanksgiving เพียงวันเดียวเท่านั้น อันที่จริงมันหมายถึงมื้ออาหารที่เราบริโภคกันอยู่ทุกวัน
แม้ในวันนี้อาจฟังดูเป็นเรื่องขี้เล็กขี้ปะติ๋ว แต่ลองจินตนาการว่าเมื่อเกิดปัญหาขยะอาหารพร้อมกันในสเกลระดับโลก เรื่องเล็ก ๆ ก็อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ ที่อาจทำเราเหงื่อตกได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ที่มา: voathai
เนื้อหาที่น่าสนใจ