svasdssvasds

ไทยเริ่มจัดระบบจัดการขยะอาหาร ตั้งแต่แยกขยะ-นำไปใช้ประโยชน์ ลดโลกร้อน

ไทยเริ่มจัดระบบจัดการขยะอาหาร ตั้งแต่แยกขยะ-นำไปใช้ประโยชน์ ลดโลกร้อน

ขยะอาหารเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เนื่องขยะอาหารเป็นอีกสาเหตุของก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อนขึ้น

จากกการสำรวจองค์ประกอบขยะมูลฝอย ณ สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยมีสัดส่วนของขยะอาหารมากถึงร้อยละ 39 (9.68 ล้านตัน หรือ 146 กิโลกรัมต่อคนต่อปี)จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งประเทศจำนวน 24.98 ล้านตัน โดยนำมาคำนวณเป็นปริมาณขยะอาหารที่เกิดขึ้นของประเทศ เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีข้อมูล ณ ครัวเรือน และจากการสำรวจ พบว่า องค์ประกอบของขยะอาหาร มีส่วนที่รับประทานได้ (Edible) ร้อยละ 39 และส่วนที่รับประทานไม่ได้ (Inedible) ร้อยละ 61

ไทยเริ่มจัดระบบจัดการขยะอาหาร ตั้งแต่แยกขยะ-นำไปใช้ประโยชน์ ลดโลกร้อน

ปัญหาขยะอาหารได้กลายเป็นวาระเร่งด่วนในปี 2564 และเพื่อให้การแก้ไขปัญหาขยะอาหารของประเทศมีประสิทธิภาพจึงได้มีการจัดทำแผนที่นำทางการจัดการขยะอาหาร (ปี 2566-2573) และแผนปฏิบัติด้านการจัดการขยะอาหาร ระยะที่ 1 (ปี 2566-2570) ขึ้น เพื่อเป็นกรอบการแก้ไขปัญหาขยะอาหารของประเทศ โดยตั้งเป้าลดสัดส่วนของขยะอาหารในขยะมูลฝอยชุมชนจากร้อยละ 39 ลงเหลือไม่เกินร้อยละ 28 ภายในปี 2570

ขยะอาหาร เครดิต : pixabay มาตรการการแก้ไขปัญหาขยะอาหารครอบคลุมตั้งแต่การลด หรือทิ้งให้น้อยลง ตั้งแต่การจำหน่าย การประกอบอาหาร การบริโภค โดยมุ่งให้เกิดการคัดแยกขยะอาหารจากต้นทาง และนำขยะอาหารไปใช้ประโยชน์ เช่น ใช้เป็นอาหารสัตว์ ผลิตพลังงานชีวภาพ ทำให้ลดการตกค้างของขยะที่เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค ลดมลพิษจากขยะ ลดการปล่อยก๊าซมีเทน และคาร์บอนได ออกไซด์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เนื่องจากขยะอาหารเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากและให้เหลือขยะนำไปกำจัดให้น้อยที่สุด ซึ่งในปี 2565 ได้มีการส่งเสริมการจัดการขยะอาหาร โดยใช้ถังขยะเปียก ลดโลกร้อน ซึ่งได้รับการรับรองว่าเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศโดยสมัครใจ ซึ่งสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซได้มากกว่า 1,870,000 กว่าต้น

การบริหารจัดการขยะอาหารอย่างเป็นรูปธรรม ดำเนินการครอบคลุมทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ต้องกำจัด และลดก๊าซเรือนกระจกจากภาคของเสียชุมชน ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการคัดแยกและเก็บขนขยะมูลฝอยแบบแยกประเภท โดยเฉพาะขยะอาหารทั้งในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท รวมถึงพัฒนากลไกในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะอาหารเพื่อลดโลกร้อน

 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ :