สตาร์ทอัพยูกันดาคิดค้นวิธีกำจัดขยะอาหารที่มีอยู่มากมายในประเทศ อย่าง กล้วย อัพไซเคิลมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยใช้เส้นใยกล้วย นอกจากจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้ชุมชนแล้ว ยังเป็นการจัดการขยะอาหารอย่างมีคุณภาพด้วย
ในประเทศยูกันดากล้วยดูเหมือนจะเป็นอาหารหลักและฝังอยู่ในประเพณีวัฒนธรรมของประเทศ สำหรับหลายๆ มื้อ อาหารในยูกันดาจะมีกล้วยอยู่ด้วย อย่างอาหารที่เรียกว่า matooke เป็นคำท้องถิ่นที่แปลว่าข้าวต้มที่เป็นแป้งทำจากกล้วยและปรุงแบบดิบ
ในการเก็บเกี่ยวพืชผลของกล้วย ลำต้นจะต้องถูกตัดหัว และเน่าเปื่อยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้นกล้วยที่ถูกตัดหัวแทบจะไร้ประโยชน์ สร้างความลำบากให้กับชาวนาที่ต้องถอนรากถอนโคนและวางส่วนที่แยกเป็นวัสดุคลุมดิน ทำให้บริษัทสตาร์ทอัพในท้องถิ่น TEXFAD หาวิธีนำสิ่งเหล่านี้มาทำประโยชน์หรืออัพไซเคิล
โดยแนวคิดนี้เป็นนวัตกรรมและยั่งยืนในประเทศแอฟริกาตะวันออก ซึ่งยูกันดามีอัตราการบริโภคกล้วยสูงที่สุดในโลกและเป็นผู้ผลิตพืชผลรายใหญ่ที่สุดของแอฟริกาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท กล้วยมีส่วนช่วยได้ถึง 25% ของปริมาณแคลอรี่ต่อวัน ตามตัวเลขขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ
John Baptist Okello ผู้จัดการธุรกิจของ TEXFAD เผยว่าขยะอาหารที่เกี่ยวข้องกับกล้วยมีจำนวนหลายล้านตัน บริษัทได้ร่วมมือกับกลุ่มเกษตรกร 7 กลุ่มในยูกันดาตะวันตก จ่ายเงิน 2.70 ดอลลาร์สำหรับเส้นใยแห้ง 1 กิโลกรัม และสำหรับการอัพไซเคิลผลิตภัณฑ์จากล้วย ได้มีการสกัดเส้นใยกล้วย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ตอนนี้นักวิจัย TEXFAD กำลังทดลองผ้าที่ทำจากเส้นใยกล้วย แม้ว่าปัจจุบันจะสามารถผลิตกระดาษเช็ดมือและผ้าอนามัยจากใยกล้วยได้แล้วก็ตาม แต่ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีอื่นๆ ต่อไปเพื่อให้ขยะอาหาร อย่างกล้วยมีประโยชน์ เช่นการผลิตเสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของ TEXFAD สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
นอกจากนี้ทางบริษัทกำลังออกแบบผลิตภัณฑ์ต่อผมที่เชื่อว่าจะช่วยกำจัดตลาดผลิตภัณฑ์สังเคราะห์ที่มองว่าเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมได้ Aggrey Muganga หัวหน้าทีมของ Tupande Holdings Ltd. กล่าวว่า “ปัญหาเกี่ยวกับเส้นใยสังเคราะห์ จะสร้างภาระให้กับสิ่งแวดล้อม แม้ว่าคุณจะไปขุดดินในสวนตอนนี้ก็ยังจะพบเส้นใยสังเคราะห์อยู่รอบๆ ดังนั้นการหลีกเลี่ยงและใช้วัตถุดิบธรรมชาติเป็นทางออกที่ดีที่สุด”
ที่มา : AP News
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
The 1975 วงดนตรีชื่อดังเตรียมจัดคอนเสิร์ตรักษ์โลกแบบใหม่ ช่วยกำจัดคาร์บอน
ปูหิมะอลาสก้าหายเป็นปีที่สอง ทางการสั่งงดจับ เหตุทะเลอุ่นขึ้นจนปูตาย
ชนพื้นเมืองคือหัวใจในการรักษาป่าไม้ให้สมบูรณ์ เป็นปอดฟอกคาร์บอนให้โลก