เนื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลการปลูกกาแฟ ผลผลิต รวมไปถึงรสชาติของกาแฟ ปัจจุบันจึงมีการเกษตรกรรมแนวใหม่ในการปลูกกาแฟคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อให้ได้กาแฟที่มีคุณภาพดี และสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมกาแฟไทย
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change ซึ่งส่งผลให้การปัญหาการขาดแคลนอาหาร รวมคอกาแฟอาจเดือดร้อนเนื่องจากอาจมีกาแฟให้ดื่มได้น้อยลง หากเราไม่สามารถลดอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นได้ ซึ่งภาวะโลกร้อน จะส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรที่เป็นต้นทางการผลิตอาหารของโลก และเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการขาดแคลนอาหารเพิ่มขึ้นอีกด้วย
เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนอาหาร การเกษตรเชิงฟื้นฟู หรือ Regenerative Agriculture เป็นเกษตรกรรมแนวใหม่ถึงถูกนำมาใช้การปลูกกาแฟยุคโลกร้อน ซึ่งแนวทางการเกษตรเชิงฟื้นฟูในสวนกาแฟ มุ่งเน้นการปลุกกาแฟควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม มี 3 หลักการ ดังนี้
รักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ เช่น การส่งเสริมให้ปลูกพืชคลุมดิน เพื่อรักษาธาตุอาหารในดิน เพิ่มความสมบูรณ์ของดิน และป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์
การปลูกกาแฟแบบการเกษตรเชิงฟื้นฟู จะไม่ใช่ปุ๋ยที่เป็นสารเคมีแต่จะใช้ปุ๋ยที่มาจากเศษวัสดุเหลือทิ้งในฟาร์ม
ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศในการเพาะปลูกกาแฟ ผ่านการปลูกพืชหลากหลายชนิดในสวนกาแฟ หรือปลูกกาแฟร่วมกับป่า ซึ่งยังช่วยดูดซับคาร์บอนได้อีกด้วย
ปัจจุบันประเทศไทยได้ปลูกกาแฟแบบเกษตรเชิงฟื้นฟู ทำให้ได้เมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพได้มาตรฐานการปลูกยั่งยืนระดับโลก ซึ่งถือเป็นโมเดลที่ประสบความสำเร็จ โดยมีการให้ความรู้และฝึกอบรมเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟต่อเนื่องตั้งแต่การปลูก ดูแล จนถึงเก็บเกี่ยว รวมถึงอบรมด้านการเป็นผู้ประกอบการสวนกาแฟ ตลอดจนช่วยเหลือเกษตรกรผ่านการรับรองมาตรฐานการเพาะปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน 4C (Common Code for the Coffee Community) ในระดับสากล กว่า 2,900 คน และสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟ 4 แห่ง
อีกทั้งยังมีการกระจายต้นกล้ากาแฟพันธุ์ดีกว่า 4 ล้านต้นให้แก่เกษตรกรไทย ซึ่งเป็นต้นกาแฟโรบัสต้าพันธุ์ดีที่มีความทนทานต่อโรคและความเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ และสามารถเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น
เนื้อหาที่น่าสนใจ :