"อิฐรักษ์โลก" นวัตกรรมใหม่ที่เด็ก ๆ โรงเรียนเกาะพะงันศึกษาต้องแยกขยะให้ถูกและมีวินัยในการแยกขยะจึงจะได้สนามตระกร้อตามที่ฝันไว้ และแก้ปัญหาขยะบนเกาะอย่างมีคุณภาพ
“พวกเขาต้องง้อคนรับซื้อขยะ ให้มารับขยะบนเกาะไปจัดการ ซึ่งไม่มีใครอยากมารับ เพราะไม่คุ้มทุน ทำให้ชาวบ้านเลือกที่จะเผาและฝังกลบขยะแทน และมันก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม”
นี่คือหน้าตาของ “ก้อนอิฐรักษ์โลก” ที่หน้าตาเหมือนอิฐทั่วไป แต่เป็นอิฐที่แข็งแรงกว่าและผลิตจากขยะพลาสติก เป็นผลงานของชุมชนและเด็ก ๆ โรงเรียนเกาะพะงันศึกษา อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี
โรงเรียนเกาะพะงันศึกษา ได้รับการสนับสนุนจากซีพี ออลล์และเซเว่น อีเลฟเว่นในการรณรงค์ให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนแยกขยะอย่างถูกวิธี ตั้งแต่ขยะชิ้นใหญ่ไปจนถึงขยะชิ้นเล็ก รวมถึงมีการจัดอบรมสอนให้เด็ก ๆ เรียนรู้ถึงคุณประโยชน์ของการคัดแยกขยะและปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ภายใต้นโยบาย 7 Go Green
ซึ่งที่นี่ไม่สอนให้เด็กเรียกของที่ใช้แล้วว่า “ขยะ” แต่ให้เรียกว่ “วัสดุเหลือใช้” แทน เพราะมันสามารถนำไปต่อยอดได้ทุกชิ้น ซึ่งแยกออกมาเป็น วัสดุที่ย่อยสลายได้กับย่อยสลายไม่ได้
วัสดุที่ย่อยสลายได้จะนำไปทำเป็นปุ๋ยหมักเพื่อใช้เป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ในโรงเรียน ส่วนวัสดุที่ย่อยสลายไม่ได้จะถูกนำไป Upcycle เป็นก้อนอิฐรักษ์โลกแบบนี้
อิฐรักษ์โลก ก้อนต่าง ๆ เหล่านี้เป็นผลงานที่ได้รับการทดสอบมาแล้วว่าใช้งานได้จริงและทนทาน แข็งแรงกว่าอิฐก้อนทั่วไป มีส่วนผสมหลักคือ พลาสติกที่ตัดเป็นเส้น ๆ มาแล้ว ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป กาวลาเท็กซ์ น้ำมันพืชใช้แล้ว และน้ำยาประสานซีเมนต์ เพื่อป้องกันอิฐแตกหักและป้องกันขยะพลาสติกหลุดลอดออกไปเป็นไมโครพลาสติก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นักวิจัยเผยพบขยะยารักษาโรคปนเปื้อนในน้ำทะเลมากขึ้น ส่งผลกับคนและสัตว์
กระแสดีต่อเนื่อง บางจากรับซื้อน้ำมันพืชใช้แล้ว ขายได้ที่ไหน เช็กได้ที่นี่
ขยะกระดาษ กล่อง ซองใช้แล้ว มีค่า! ส่งไปสร้างมูลค่า แลกรางวัลที่ไปรษณีย์ไทย
ในอดีต การจัดการกับขยะบนเกาะพะงัน ชาวบ้านใช้วิธีการเผาและการฝังกลบ ทำให้บนเกาะมีหลุมฝังกลบอยู่เต็มไปหมด ซึ่งไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้ง ชาวบ้านต้องง้อคนรับซื้อขยะให้มารับซื้อขยะออกจากเกาะไป แต่ผู้ประกอบการรับซื้อขยะมองว่า การนำขยะจากเกาะไปขายนั้นไม่คุ้มทุน จึงไม่ค่อยมีใครอยากที่รับกำจัดขยะจากเกาะสักเท่าไหร่
ไหนจะนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาไม่ขาดสาย ทำให้บนเกาะมีขยะมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ งั้นทำยังไงดีให้ขยะบนเกาะถูกจัดการได้อย่างถูกวิธีและไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซีพี ออลล์ และเซเว่น อีเลฟเว่นจึงเล็งเห็นปัญหานี้และได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ผ่านโครงการ “Green Living รักษ์เกาะ 24 ชั่วโมง”
โครงการ Green Living รักษ์เกาะ 24 ชั่วโมงต่อยอดมาจาก โครงการต้นกล้าไร้ถัง ภายใต้ CONNEXT ED ที่กระจายโรงเรียนต้นแบบในการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพถึง 524 แห่งทั่วประเทศแล้ว ซึ่งเริ่มโมเดลที่โรงเรียนอนุบาลทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในการสร้างความร่วมมือทั้งโรงเรียน ชุมชน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดการขยะ และร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะในเขตพื้นที่ของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผลิตภัณฑ์สีเขียวมาแรง! “ทานตะวันอุตสาหกรรม” มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์รักษ์โลก
23 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันเต่าโลก เต่าตายเพราะพลาสติกอย่างต่ำปีละ 1,000 ตัว
ตั้งแต่โรงเรียนอนุบาลทับสะแก ได้เริ่มดำเนินโครงการนี้ โรงเรียนสามารถแก้ไขปัญหาขยะ และสามารถลดจำนวนขยะจาก 15 ตัน/เดือน เหลือเพียง 2 กิโลกรัม/เดือน คิดเป็น 98% ของปริมาณขยะทั้งหมด โดยมีซีพี ออลล์ และเซเว่น อีเลฟเว่น เป็นผู้ให้การสนับสนุนทั้งเงินทุนและการหาบุคลากรมาให้ความรู้ รวมไปถึงการใช้เครือข่ายผ่านร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการจัดการขยะได้ง่ายมากขึ้น
แต่สำหรับโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา ต้องบอกว่า ไม่ใช่ว่าโรงเรียนไหนหรือองค์กรไหนก็ทำได้แบบนี้ โรงเรียนเกาะพะงันศึกษา เริ่มจากการสมัครเข้าร่วมโครงการต้นกล้าไร้ถังกับซีพีออลล์ก่อน และพยายามในการปรับตัวให้โรงเรียนมีขยะให้น้อยที่สุด
เมื่อการแยกมีประสิทธิภาพมากขึ้น เห็นถึงความพยายามตั้งใจ ซีพี ออลล์ และเซเว่น อีเลฟเว่น จึงได้เข้ามาช่วยสนับสนุนเพิ่มเติมแบบเต็มรูปแบบ เพราะเห็นว่าโรงเรียนสามารถทำได้ตามเป้าหมาย โรงเรียนเกาะพะงันศึกษาจึงสามารถบรรลุไปถึงโครงการ Green Living รักษ์เกาะ 24 ชั่วโมงได้ และได้ทำ MOU ร่วมกันแล้ว เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566
และหากโครงการนี้สำเร็จมากขึ้น ซีพี ออลล์ ก็จะสามารถขยายโครงการต่อไปยังเกาะอื่น ๆ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยใช้โมเดลนี้ช่วยจัดการและแก้ไขปัญหาขยะในพื้นที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยใช้ร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่นเป็นจุดศูนย์กลางเครือข่าย ทั้งเป็นพาร์ทเนอร์ในการรับจัดส่งขยะไปกำจัดนอกเกาะฟรี พนักงานสามารถให้ความรู้เรื่องการแยกขยะแก่คนบนเกาะได้และเป็นตัวอย่างให้ชุมชนบนเกาะแยกขยะอย่างถูกวิธี ด้วยการแยกขยะในร้านสะดวกซื้อของเซเว่น อีเลฟเว่นเอง
และที่เจ๋งที่สุด คือ แม้เราจะสามารถนำขยะมารีไซเคิลแปลงมาเป็นอิฐรักษ์โลกได้ ซึ่งจะสร้างรายได้ให้กับชุมชนและเด็ก ๆ เองแล้ว สิ่งที่โรงเรียนและซีพี ออลล์ให้ความสำคัญมากกว่า คือการสอนให้เด็ก ๆ ไม่สร้างขยะเลย ซึ่งน่ารัก ๆ มากที่ Springnews ได้เดินทางไปและเห็นว่าเด็ก ๆ ถือแก้วน้ำส่วนตัวมาโรงเรียนเต็มไปหมด
ซึ่งเด็ก ๆ บอกว่า โรงเรียนไม่ได้บังคับ แค่ชวนให้พกแก้วน้ำมา และมองว่า มันไม่ได้สร้างความลำบากอะไรมาก และก็สะดวกสบายดีด้วยในการดื่มน้ำที่โรงเรียน ซึ่งนี่ก็เป็นอีกตัวอย่างที่ดีมาก ๆ เพราะการช่วยโลกที่ดีที่สุด คือการลดการใช้ขยะให้มากที่สุด ไม่สร้างขยะเพิ่ม รวมถึงมีโครงการและหน่วยงานกำจัดขยะที่มีประสิทธิภาพรองรับแบบนี้ สิ่งแวดล้อมก็จะดีขึ้นได้ด้วยมือเราจริง ๆ