ในชีวิตประจำวันของเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์พลาสติกมากมาย และมีแนวโน้มการใช้มากขึ้นจนเกิดเป็นปัญหาขยะพลาสติกล้นโลก ซึ่งเรากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้
การรีไซเคิลจึงเป็นอีกหนทางในการแก้ปัญหาขยะพลาสติกอีกทั้งการใช้พลาสติกแบบรีไซเคิลได้ 100% หรือขวดพลาสติก PET ยังเป็นที่นิยมมากขึ้นซึ่งง่ายต่อการรีไซเคิลและเพิ่มปริมาณการใช้ขวดรีไซเคิล นำขวดรีไซเคิลไปแปรเปลี่ยนเป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
ปัจจุบันจึงได้มีการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์มาเป็นขวดพลาสติก PET มากขึ้น ด้วยน้ำหนักที่เบา แข็งแรงทนทานต่อแรงกระแทก และง่ายต่อการจัดการ และช่วยเพิ่มมูลค่าของขวดพลาสติกที่ใช้แล้ว ที่สำคัญขวดพลาสติก PET ใส ยังสามารถรีไซเคิลได้ 100% ด้วยกระบวนการคัดแยกขยะและการรีไซเคิลที่เป็นระบบ ขวดพลาสติก PET สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้นับครั้งไม่ถ้วน และนำไปขายได้ราคาสูงอีกด้วย นอกจากนี้พลาสติกชนิดนี้ยังสามารถย่อยสลายได้ จึงทำให้หลายบริษัทหันมาใช้ขวดพลาสติก PET ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม รวมทั้งสกินแคร์ด้วยเช่นกัน
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
สวยได้ไม่ทำร้ายโลก! ลิสต์ Eco-Friendly Beauty Brands เครื่องสำอางรักษ์โลก
โทรศัพท์หนึ่งเครื่อง ทิ้งถูกวิธีลดคาร์บอนได้ E-Waste ทิ้งยังไงให้ดีต่อโลก
จากการสำรวจจากกลุ่มผู้บริโภคจำนวน 20,000 คน ใน 9 ประเทศ ของ Garnier แบรนด์สกินแคร์ชั้นนำระดับโลกด้านความงามที่เป็นธรรมชาติ ส่วนหนึ่งของลอรีอัล กรุ๊ป พบว่ามีคนถึง 79% ที่ต้องการใช้ชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่มีเพียงแค่ 4% เท่านั้นที่สามารถใช้ชีวิตในแต่ละวันเพื่อปกป้องโลกของเรา หลายคนกล่าวว่ามันเป็นเรื่องที่ดูยุ่งยากและราคาแพง สิ่งเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจ ที่ทำให้การ์นิเย่คิดค้นแคมเปญด้าน Green Beauty มากมาย เพื่อทำให้เรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเข้าใจได้ง่ายขึ้นและต่อยอดทุกความสวยสู่นิยามใหม่ “สวยใส่ใจโลก” ที่เราเชื่อว่าทุกคนสามารถใส่ใจตัวเองและโลกไปพร้อมกันได้
การ์นิเย่ให้คำมั่นสัญญา Green Beauty 5 ข้อ คือ การจัดซื้อวัตถุดิบที่สนับสนุนชุมชน, พัฒนาสูตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและรีไซเคิลได้, ใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิต และไม่ทดสอบผลิตภัณฑ์กับสัตว์มาตั้งแต่ปี 1989 และภายในปี 2025 การ์นิเย่มีเป้าหมายทำให้บรรจุภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลได้ 100% และย่อยสลายได้ เริ่มต้นด้วยผลิตภัณฑ์ Micellar ที่ผลิตมาจากพลาสติกรีไซเคิล และสามารถนำไปรีไซเคิลต่อได้ เพียงเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตที่ใส่ใจโลกได้มากขึ้น
คุณสุมิตา อัครโรจน์กิจ Garnier Brand General Manager กล่าวว่า การ์นิเย่ได้รณรงค์ให้เกิดการรีไซเคิลขยะพลาสติกเพื่อนำกลับมาหมุนเวียนเป็นพลาสติกตั้งต้น ลดพลาสติกเกิดใหม่ โดยปี 2023 นี้ การ์นิเย่ ตั้งเป้าหมายที่จะเก็บขยะพลาสติกให้ได้ถึง 240 ตัน และนำไปเข้าสู่ระบบการจัดการขยะรีไซเคิล ผ่านกิจกรรมที่ง่ายและสามารถทำได้ตลอดจนเกิดเป็นที่มาของ ‘การ์นิเย่กรีนกันทุกวันพุธ’ นอกจากจะเป็นการก้าวสู่อีกขั้นของแบรนด์รักษ์โลก การ์นิเย่ยังตระหนักถึงเรื่องของความยั่งยืน และต้องการกระตุ้นให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสออกมามีส่วนร่วมกับโลกใบนี้ ทุกคนสามารถใส่ใจดูแลตัวเอง ไปพร้อมกับการใส่ใจโลกให้ยั่งยืนได้
โดยได้ร่วมมือกับศูนย์การค้าโลตัส และ Cirplas Zero Waste Hero ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะพลาสติก เพียงนำขวด Micellar ที่ใช้แล้วหรือขวดน้ำพลาสติกไปส่งคืนที่จุดรีไซเคิลที่โลตัส 10 สาขา และ จุดรับขยะของ Cirplas กว่า 60 จุดทั่วประเทศ เริ่มต้นได้ง่ายๆ เพียงอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง หรือในทุกๆวันพุธ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงจุดรีไซเคิลได้อย่างสะดวกสบาย ตั้งแต่ 5 กรกฎาคม ยาวไปตลอดจนถึงสิ้นปี 2023 พร้อมตอบรับกับกระแสที่ผู้คนให้ความสนใจและได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยลูกค้าที่นำขวดพลาสติกมารีไซเคิล จะได้รับแต้มคะแนนสะสม Green Beauty Points โดย 1 ขวด Micellar จะมีคะแนนเท่ากับ 10 Points และขวดพลาสติกจะมีคะแนนเท่ากับ 1 Point ผู้ที่ร่วมกิจกรรมนอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะที่ถูกฝังกลบแล้วยังนำคะแนนมาแลกของรางวัลกับการ์นิเย่ได้ตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์จากการ์นิเย่ คูปองส่วนลดจากโลตัส และรางวัลใหญ่อีกมากมายอย่างไอแพด และ ทองคำ ผ่าน Line Official @GarnierThailand ขยะที่รวบรวมมาจะถูกนำไปจัดการโดย CirPlas ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะพลาสติก เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะต้นทาง ลดการเกิดของพลาสติกใหม่ โดยพลาสติกที่ผ่านการรีไซเคิลทั้งหมด จะถูกนำไปพัฒนาต่อในรูปแบบของผ้า และ วัสดุในการผลิตเครื่องใช้ต่างๆ ต่อไป
นอกจากขวดพลาสติก PET ที่รีไซเคิลได้แล้วยังมีขวดพลาสติกประเภทอื่นอีก โดยเราสามารถสังเกตได้จากสัญลักษณ์รีไซเคิลข้าง ซึ่งแต่ละสัญลักษณ์จะมีความหมายต่างกันไปดังนี้
ถอดรหัสสัญลักษณ์บนขวดพลาสติกรีไซเคิล แต่ละแบบต่างกันอย่างไร?
ประเภทพลาสติก : พลาสติก Polyethylene terephthalate (PETE หรือ PET)
ตัวอย่าง : ขวดน้ำดื่ม ขวดน้ำมันพืช ขวดสกินแคร์ ขวดน้ำอัดลม
นำมารีไซเคิลเป็น : เส้นใยโพลิเอสเตอร์ ทำเสื้อกันหนาว ใยสังเคราะห์ กระเป๋า ขวด
ประเภทพลาสติก : พลาสติกโพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (High density polyethylene, HDPE)
ตัวอย่าง : ขวดน้ำดื่ม ภาชนะบรรจุต่างๆ ขวดน้ำยาซักผ้า ขวดนม ถุงหิ้ว ถังน้ำ
นำมารีไซเคิลเป็น : ขวดใส่น้ำยาซักผ้า ท่อ ลังพลาสติก
ประเภทพลาสติก : พลาสติก Polyvinyl chloride (PVC)
ตัวอย่าง : ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า ประตูพีวีซี ท่อน้ำ กระเป๋าหนังเทียม
นำมารีไซเคิลเป็น : เฟอร์นิเจอร์ กรวยจราจร ม้านั่งพลาสติก ท่อน้ำ รางน้ำ
ประเภทพลาสติก : พลาสติกโพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low density polyethylene, LDPE)
ตัวอย่าง : ถังใส่อาหารแช่แข็ง ถุงหูหิ้ว ขวดพลาสติกบางชนิด
นำมารีไซเคิลเป็น : ถุงดำใส่ขยะ ถุงหูหิ้ว กระเบื้องปูพื้น เฟอร์นิเจอร์
ประเภทพลาสติก : พลาสติกโพลีโพรพิลีน (Polypropylene, PP)
ตัวอย่าง : ถุงร้อนสำหรับบรรจุอาหาร ขวดใส่เครื่องดื่ม ซองขนม บรรจุภัณฑ์ หลอดดูด ขวดนม
นำมารีไซเคิลเป็น : กล่องแบตเตอรี่ชิ้นส่วนในรถยนต์ กันชน ไฟท้าย
ประเภทพลาสติก : พลาสติกโพลีสไตรีน (Polystyrene, PS)
ตัวอย่าง : บรรจุกันกระแทก กล่องบรรจุอาหาร โฟม ถ้วย ช้อน ส้อม มีดแบบใช้แล้วทิ้ง
นำมารีไซเคิลเป็น : ฉนวนความร้อน แผงสวิตซ์ไฟ ไม้แขวนเสื้อ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
ประเภทพลาสติก : พลาสติกชนิดอื่นๆ เช่น โพลีคาร์บอนเนต (Polycarbonate, PC) ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกหลายชนิดผสมกัน
ตัวอย่าง : เหยือกน้ำ ขวดนม เคสโทรศัพท์มือถือ แล็ปท็อป เครื่องมือทางการแพทย์
นำมารีไซเคิลเป็น : อาจนำพลาสติกชนิดนี้มาผสมกับชนิดอื่น แล้วนำมารีไซเคิล เช่น เฟอร์นิเจอร์ ท่อน๊อต