ภาครัฐ และเอกชน ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศสู่ Net Zero ภายในปี 2050 เพื่อจัดการกับภาวะโลกร้อน ให้ได้ เร่งแก้ไขปัญหา Climate Change หากมีการร่วมมือกันให้มากกว่านี้ปัญหาจะกลายเป็นโอกาสโอกาส พัฒนา Climate Technology แห่งอนาคต เพราะพลังงานสะอาดทางรอด ไม่ใช่..ทางเลือก
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หรือ Climate Change ปัจจุบันทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น และบางพื้นที่ก็ทำให้เกิดภัยแล้งรุนแรง การขาดแคลนน้ำ ไฟไหม้รุนแรง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น น้ำท่วม น้ำแข็งขั้วโลกละลาย วาตภัยขนาดใหญ่ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และอื่นๆ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ว่าจะได้รับผลกระทบจาก Climate Change อย่างไรบ้าง แน่นอนว่าปี2566 ประเทศไทยเสี่ยงอย่างมากที่จะเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ
สิ่งหนึ่งที่จะรับมือ Climate Change ได้นั่นก็คือ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน ต้องร่วมมือกันลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากที่สุด หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือที่เรียกว่า Net Zero ภายในปี 2050 เพื่อจัดการกับภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาจัดการรับมือมือ Climate Change ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจในเรื่องของ Climate Technology ที่กำลังมาแรง หลายองค์ทั่วโลกกำลังเร่งพัฒนา Climate Technology เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หากมองในแง่บวกการที่เกิดปัญหา Climate Change มากเท่าไหร่ก็จะทำให้การพัฒนา Climate Technology มากขึ้นเท่านั้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สนพ. เตรียมนำร่อง ! เล็งตั้ง “ไฮโดรเจน วัลเลย์” ที่ EEC หนุนพลังงานสะอาด
ไทยเดินหน้าสู่พลังงานสะอาด ธุรกิจ ครัวเรือน ต้องตื่นตัว รับเทรนด์โลก
จากความพยายามของหลายหน่วยงานที่จะสู้กับ Climate Change ล่าสุด“กรุงเทพธุรกิจ” ได้ร่วมกับ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด (BIG) ผู้นำนวัตกรรมก๊าซอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อสภาพภูมิอากาศ (Climate Technology Company) จัดเวทีสัมมนา Climate Tech Forum : Infinite Innovation...Connecting Business to Net Zero โดย นายปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด กล่าวว่า ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หรือ Climate Change นับว่าความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นภาคธุรกิจ ประชาชน และหน่วยงานต่างๆต้องหาทางรับมืออย่างเร่งด่วน
ทั้งนี้มองว่าสาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีปริมาณก๊าซมากมายถูกปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งมาจากการผลิตสินค้า และบริการให้ประชาชน ทั้งภาคพลังงาน ขนส่ง อุตสาหกรรม และการเกษตร นอกจากนี้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งมองว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องลุกขึ้นมาลงมือทำเพื่อสร้างความแตกต่างที่หลากหลายจากความมุ่งมั่นที่ไม่ได้แค่ผลิต แต่จะนำความเชี่ยวชาญที่มีมาแก้ปัญหาด้วยนวัตกรรม อาทิ การผลิตให้คุ้มค่ามีประสิทธิภาพ และมีความยั่งยืนมากขึ้น
“เป้าหมาย BIG เชื่อว่าสอดคล้องกับทุกภาคส่วนคือ บรรลุเป้าหมาย Net Zero ที่บางบริษัทวางเป้าไว้สอดคล้องกันปี 2050 ไวกว่าเป้าหมายประเทศ และวันนี้เราลงมือทำไปแล้ว สามารถลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิได้ 20% และในปี 2030 จะได้ลด 30% และปี 2040 และปี 2050 จะสามารถเป็นศูนย์ จากการใช้ Climate Technology”
ชู 5 เรื่องสำคัญ สู่พลังงานสะอาดที่ยั่งยืน
นายปิยบุตร กล่าวว่า สิ่งที่อยากเน้นย้ำใน 5 เรื่อง มีดังนี้
1.เทคโนโลยีการดักจับการใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) กำลังได้รับแรงขับเคลื่อน และสามารถประยุกต์ใช้ได้ในกระบวนการอุตสาหกรรมหลากหลายที่กำลังปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นเทคโนโลยีนี้จึงถือเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการลดการปล่อยคาร์บอน และการมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในอนาคต
2.ไฮโดรเจน โดย BIG เชี่ยวชาญ และเป็นรายใหญ่สุดของโลก บริษัทแม่ลงทุน 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยเน้นบลูไฮโดรเจน และกรีน ไฮโดรเจน ซึ่งคืบหน้า 20-30% และพร้อมใช้งานเต็มรูปแบบปี 2026-2027
3. โซลูชันลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างการเติบโตให้กับเศรษฐกิจประเทศ
4. แพลตฟอร์มเพื่อตอบโจทย์ภาคธุรกิจที่ตรวจจับว่าภาคอุตสาหกรรมปล่อยคาร์บอนปริมาณเท่าไร รวมถึงการตรวจจับการใช้พลังงาน วิธีการลดคาร์บอนในรูปแบบตามความเหมาะสมของธุรกิจ และซื้อขายคาร์บอนเครดิตผ่านแพลตฟอร์มของบีไอจีได้
5.การนำไบโอเซอร์คูลาร์ กรีน มาใช้เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ทั้งนี้เพื่อตอบรับกับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ที่ปัจจุบันใช้ลดการปลดปล่อยกำมะถัน บีไอจี ร่วมกับกลุ่ม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดสถานีนำร่องทดลองใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle: FCEV) แห่งแรกของไทยที่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
' เร่งสร้าง 'อีโคซิสเต็ม' หนุนใช้ไฮโดรเจนในไทย
ด้านนายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การที่ประเทศจะก้าวผ่านปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น พลังงานสะอาดจะช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้น กระทรวงพลังงาน ดูเรื่องของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เกิดขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งปรากฏการณ์เอลนีโญ น้ำท่วม ภัยแล้ง ถือเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเกิดเป็นข้อตกลงที่จะลดผลกระทบโลกร้อน
ทั้งนี้มองว่าพลังงานเป็นหัวใจสำคัญของการผลิต ซึ่งมาตรการ CBAM ถือเป็นส่วนสำคัญที่กระทรวงพลังงานต้องมีมาตรการหรือเครื่องมือสนับสนุนภาคเอกชน และประเทศไทย เพราะภาคพลังงานมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้เป็นไปตามเป้าหมายได้ ไทยถือเป็นหนึ่งใน 66 ประเทศ ที่ให้คำมั่นสัญญาไว้ว่าจะช่วยลดโลกร้อน โดยการลดคาร์บอนจะเป็นตัวหลักสำคัญ ภาคพลังงานมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 70% มาจากภาคไฟฟ้า ขนส่ง และอุตสาหกรรม จึงต้องมีมาตรการจากภาครัฐ ณ วันนี้ ที่เราพิจารณาสิ่งที่เราเป็นอยู่ เราอยากเร็วขึ้น จึงตั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนปี 2050 และ Net Zero ปี 2065 ดังนั้น ปี 2030 จะต้องลดคาร์บอนให้เข้มข้นขึ้น
อย่างไรก็ตามตามกรอบแผนพลังงานแหงชาติ คาดว่าจะได้เห็นในปีนี้ เพื่อหนุนประเทศจะสู่เป้าหมาย ภาคไฟฟ้าต้องมาจากพลังงานสีเขียว ผนวกกับกรีนเอ็นเนอจี้ แบตเตอรี่ วันนี้มีเรื่องของไฮโดรเจน รถอีวีโดยรัฐบาลผลักดันนโยบาย 30&30 รวมถึงลดการใช้พลังงานผ่านอุปกรณ์ประหยันพลังงาน ดังนั้นไฮโดรเจน ถือเป็นอีกตัวสำคัญ รวมถึงนิวเคลียร์ที่ช่วยให้พลังงานหมุนเวียนเสถียรขึ้น
ทั้งนี้อีกส่วนสำคัญคือซัพพลายเรื่องความมั่นคง วันนี้ใช้ฟอสซิลเยอะ คือแก๊ซธรารมชาติ เป็นพลังงานช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งสะอาดสุด เรากำลังจะนำเทคโนโลยีไฮโดรเจนเข้าไปร่วม รวมถึงสัดส่วนจากพลังงานหมุนเวียน อาทิ ชีวมวล ชีวภาพ พลังงานลม แสงอาทิตจะมากขึ้น 50% รวมถึงการลดโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ สิ่งสำคัญที่จะทำให้ก๊าซธรรมชาติเป็น 100% คงยาก กระทรวงพลังงานได้ตั้งเป้าการใช้ไฮโดรเจนในภาคอุตสาหกรรม ภาคขนส่ง 20% ในปี 203
“นโยบายจะไม่สามารถดำเนินการได้หากขาดความร่วมมือระหว่างรัฐเอกชน หากอยากให้ธุรกิจต่อเนื่อง จะเกิดการลงทุนมากขึ้น เกิดการพัฒนา สิ่งสำคัญสุดคือการส่งสัญญาณภาครัฐ วันนี้จะเน้นไฮโดรเจนมองว่า ปี 2040 จะเริ่มใช้งานจริง ซึ่งตอนนี้ติดเรื่องราคาจึงจะใช้วิธีผสมผสาน เชื่อว่าอีก 7 ปี จะดำเนินการได้จากเป้าหมายที่วางไว้ ไฮโดรเจนจะเกิดอุตสาหกรรมผลิต เกิดอุตสาหกรรมจัดเก็บขนส่งจะเกิดขึ้นอีกมาก สุดท้ายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในเซ็คเตอร์พลังงาน การออกใบรับรองพลังงานสีเขียวในอนาคต ถ้าซื้อไฟจากภาครัฐจะได้ใบรับรองที่ได้รับการสนับสนุนมีกฏกติกา เราพยายามส่งสัญญาณเชิงนโยบาย ซึ่งวันนี้ประเทศไทยมุ่งสู่พลังงานสะอาด การจะเกิดกรีนเทคโนโลยี จะต้องศึกษาและนำมาใช้แพร่หลาย ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่ว่าจะรัฐและเอกชน ต้องร่วมมือกันสร้างอีโคซิสเต็มเพื่อให้ถึงเป้าหมาย Net Zero”
เดินหน้าใช้นวัตกรรมเปลี่ยน กทม. สู่ Net Zero
ขณะที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร บรรยายพิเศษ“นวัตกรรมเปลี่ยนกรุง”ในงานเสวนา Climate Tech Forum : Infinite Innovation... Connecting Business to Net Zero ว่าการนำเอาเทคโนโลยีนำทางคงยากเพราะคนกรุงเทพฯ มีกว่า10 ล้านคน แต่หานำนวัตกรรมมาใช้ก็ทำได้ เพราะนวัตกรรมเป็นไอเดีย แต่ต้องปรับความคิดให้มีมูลค่าหรือเปลี่ยนให้เป็น Value ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีมาก เพียงแค่ขอให้ปรับชีวิตคน และเพิ่มคุณค่าให้กับคนในเมืองได้ อย่าไปยึดติดกับอินโนเวชัน ที่เป็นเทคโนโลยี
โดยที่ผ่านมาพบว่ามีเทคโนโลยีหลายอย่างที่ไม่ได้มาจากอินโนเวชัน และหากพูดถึงความยั่งยืนคือ การไม่เบียดเบียนทรัพยากรของคนรุ่นใหม่ในอนาคตเพื่อตอบโจทย์ปัจจุบัน อย่าไปตอบสนองความต้องการในปัจจุบันโดยใช้ทรัพยากรในอนาคตของคนรุ่นใหม่ ซึ่งปัจจุบันปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาแล้ว เห็นได้ชัดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ สำหรับสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกรุงเทพฯ มาจาก 3 ส่วน คือ 1.การใช้พลังงาน คิดเป็น 58.9% 2.การขนส่งคิดเป็น 28.9% และ 3.น้ำเสียและมูลฝอย คิดเป็น 12.3% โดยเป้าหมายของกทม.ที่วางไว้คือ ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งเป้าให้การปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ (net zero)ให้ได้ราว 19% ภายในปี 2573 ภายในปี พ.ศ.2573
สำหรับทั้งนี้การทำ net zero”กทม.ได้กำหนดแผนการทำ 3 เรื่อง CRO คือ Calculate Reduce Offset โดย 1. Calculate คำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในหน่วยงานของ กทม. 2. Reduce ลด ก๊าซเรือนกระจก และ 3.Offset ส่งเสริมโครงการที่เก็บกักหรือดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่เหลืออยู่